ในหลวงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะบุคคลเฝ้าฯ

ในหลวงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะบุคคลจาก บ.ไทยเบฟ – บ.เครือเจริญโภคภัณฑ์ เฝ้าฯ

1 ส.ค. 2565 – เวลา 19.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ คณะบุคคลต่าง ๆ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ตามลำดับดังนี้       นายฐาปน  สิริวัฒนภักดี  กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และคณะ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงินจากการจัดทำกล้องถ่ายภาพ “ไลกา ลิมิเต็ด อิดิชัน” (Leica Limited Edition) โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ซึ่งกล้องถ่ายภาพดังกล่าวเป็นรุ่นพิเศษที่จัดทำขึ้นโดยได้รับอนุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ไปประดับบนกล้อง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ทั้งนี้ กล้องดังกล่าวได้นำมาประมูลเพื่อนำรายได้สมทบทุนมูลนิธิ และองค์กรการกุศลต่าง ๆ ต่อไป   

นายธนินทร์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด พร้อมด้วย นายสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ นายภัคพล งามลักษณ์ ประธานคณะผู้บริหารด้านปฏิบัติการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และนายพงษ์เทพ เจียรวนนท์ รองประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเครื่องจักรในกระบวนการผลิตของโรงเนยแข็ง และโรงไอศกรีม สวนจิตรลดา เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ซึ่งประกอบด้วยเครื่องจักรผลิตโยเกิร์ตชนิดคงตัว เนยแข็ง และเนยแข็งปรุงแต่ง หรือ โพรเซสชีส (Processed Cheese) รวมถึงเครื่องจักรผลิตไอศกรีม พร้อมรถเย็นขนส่งไอศกรีม   

ปัจจุบันโรงเนยแข็งและโรงไอศกรีม สวนจิตรลดา ยังคงรักษาคุณภาพผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนมวัวของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศไทยซึ่งเป็นอาชีพพระราชทานได้เป็นอย่างดี โดยมีการนำเทคโนโลยีการผลิตและระบบประกันคุณภาพที่ทันสมัยมาใช้ ปรับปรุงมาตรฐานการผลิตของโรงงานตามมาตรฐานสากล เป็นไปตามข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนการจัดการด้านขนส่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ จัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์นม ด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยและเป็นระบบอัตโนมัติ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ ดังนี้     1. ไอศกรีมสวนจิตรลดา ปัจจุบันมีกำลังการผลิตไอศกรีมอยู่ที่ 3,600 ถ้วยต่อชั่วโมง      2. โยเกิร์ตชนิดคงตัว ปัจจุบันมีกำลังการผลิตโยเกิร์ตอยู่ที่ 1,500 ถ้วยต่อชั่วโมง      3. โพรเซสชีส ชนิดทา ปัจจุบันมีกำลังการผลิตชีสอยู่ที่ 540 ชิ้นต่อชั่วโมง และโพรเซสชีส ชนิดแผ่น ปัจจุบันมีกำลังการผลิตชีส อยู่ที่ 1,080 ชิ้นต่อชั่วโมง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลงาน 15 ศิลปินอาเซียนในเวนิส เบียนนาเล่

ศิลปินอาเซียนจะได้เข้าร่วมในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส  เบียนนาเล่ หรือ International Art Exhibition La Biennale di Venizia ครั้งที่ 60 แสดงศักยภาพผ่านนิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร และจะมีการฉายภาพยนตร์สั้นเรื่องใหม่

'ตึกพุ่มเทียนประสิทธิ์' พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ย่านวัดเกาะ

ตรุษจีนเยาวราชปีนี้คนไทยเชื้อสายจีนในย่านเยาวราชถนนสายมังกรจัดได้ยิ่งใหญ่สมปีมังกร เพื่อให้ชาวไทยและนักท่องเที่ยวทั่วโลกได้ซึมซับความเป็นเยาวราช พร้อมทั้งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ให้เข้าไปสักการะเสริมสิริมงคลรับปีมังกรทอง วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์'บ้านเขา เมืองเรา'

วันที่ 11 ธ.ค.2566 - เวลา 8.50 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ พระราชดำเนินทรงเปิดงานนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “บ้านเขา เมืองเรา : Theirs and Ours” ประจำปี 2566 ครั้งที่ 17 โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์

'บันทึก นึกอร่อย' สืบทอดตำรับอาหารวังของต้นเครื่อง ร.9

ด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี องค์นายกกิตติมศักดิ์และองค์ประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดทำตำราอาหารของท่านผู้หญิงประสานสุข ตันติเวชกุล มารดาของ ดร.สุเมธ ตันติเวช

ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจยั่งยืน สานต่อสู่คนรุ่นใหม่

“ผ้าขาวม้า” ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยที่มีมายาวนานกว่า 500 ปี มีเอกลักษณ์โดดเด่นของลายผ้าตาหมากรุกหรือลายทาง ตัดกับการเล่นสีสันสดใสฉูดฉาด  เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่คนไทยใช้ในชีวิตประจำวัน และมีหลายชุมชนทั่วประเทศที่ยึดอาชีพทอผ้าขาวม้าสร้างรายได้ ผ้าขาวม้าแต่ละท้องถิ่น

ในหลวง พระราชินี ทรงวางพุ่มดอกไม้เนื่องในวันจักรี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี  เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปในการพระราชพิธีวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ พุทธศักราช 256