นักเตะ-สตาฟฟ์ปัตตานี วิ่งไล่กรรมการถูกแบน-ปรับ /ประตูสี่แควเตะบอลอัดผู้ตัดสิน ไม่รอด

พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน ประธานในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาวินัย มารยาท
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16.30 น. พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาวินัย มารยาท ครั้งที่ 13/2566 เพื่อพิจารณากรณีเหตุการณ์ไม่ปกติของการแข่งขันกีฬาฟุตบอลลีกอาชีพ และรายการกีฬาฟุตบอลอื่นๆ ของสมาคมฯ ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 45 ประจำฤดูกาล 2565/66
 
โดยคณะกรรมการฯ พิจารณาเหตุการณ์ไม่ปกติที่เกิดขึ้น โดยมีเหตุการณ์ที่แฟนบอลและประชาชนทั่วไปให้ความสนใจในเกม ฟุตบอลรายการไทยลีก 3 คู่ระหว่างสโมสรปัตตานี เอฟซี 1-1 สโมสรภูเก็ต อันดามัน เอฟซี เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566
 
เหตุการณ์ไม่ปกติดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจบการแข่งขัน ขณะที่ผู้ตัดสินกำลังจะออกจากสนาม ได้มีผู้เล่นสำรองหมายเลข 4 นายซาฟีอี หะมะ สโมสรปัตตานี เอฟซี และเจ้าหน้าที่ทีม นายซุลกีฟลี เซาะแม และ นายมูฮำหมัดอัธฟาร์ จามิง เข้ามาหาผู้ตัดสินในลักษณะไม่พอใจจะเอาเรื่องและวิ่งไล่ผู้ตัดสิน ผู้ตัดสินได้วิ่งหลบไปทางฝั่งด้านข้างใกล้ซุ้มม้านั่งสำรองของทีมเยือน แล้วลื่นล้มลง ก่อนวิ่งเข้าใต้ถุนอัฒจันทร์ และได้มีกองเชียร์สโมสรปัตตานี  เอฟซี ด่าทอผู้ตัดสินด้วยคำหยาบและขว้างปาขวดน้ำใส่ทีมผู้ตัดสินและเจ้าหน้าที่ รปภ. และกองเชียร์สโมสรปัตตานี เอฟซี ได้เดินตามผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 2 ขณะเดินเข้าห้องพัก และชกผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 2 บริเวณท้ายทอย จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจพาออกจากสนาม ในเวลา 19.50 น. ไปสถานีตำรวจ เพื่อป้องกันความปลอดภัย และถึงสถานีตำรวจเวลาประมาณ 20.15 น. ก่อนแยกย้ายกันกลับ
 
คณะกรรมการฯ ได้ประชุมพิจารณาและมีมติเอกฉันท์ ดังนี้
 
1. ผู้เล่นสำรองหมายเลข 4 นายซาฟีอี หะมะ สโมสรปัตตานี เอฟซี วิ่งไล่ผู้ตัดสิน เป็นการแสดงกิริยาที่สังคมทั่วไปเห็นว่าไม่เหมาะสมต่อหน้าสาธารณชน อันอาจเป็นเหตุนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยในสถานที่จัดการแข่งขันได้ มีความผิดตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 3 หมวดที่ 2 ข้อ 1.8 ถูกพักการแข่งขัน 2 นัด และปรับเงิน 10,000 บาท แต่เป็นทีมในระดับไทยลีก 3 จึงปรับเงิน 3,333 บาท
 
2. นายซุลกีฟลี เซาะแม เจ้าหน้าที่ทีม สโมสรปัตตานี เอฟซี​ และ นายมูฮำหมัดอัรฟาร์  วามิง เจ้าหน้าที่ทีม สโมสรปัตตานี เอฟซี​ วิ่งไล่ผู้ตัดสิน เป็นการแสดงกิริยาที่สังคมทั่วไปเห็นว่าไม่เหมาะสมต่อหน้าสาธารณชน อันอาจเป็นเหตุนำไปสู่ความไม่สงบเรียบร้อยในสถานที่จัดการแข่งขันได้ มีความผิดตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 3 หมวดที่ 2 ข้อ 2.5 ถูกพักการทำหน้าที่คนละ 2 นัด และปรับเงินคนละ 10,000 บาท แต่เป็นทีมในระดับไทยลีก 3 จึงปรับเงินคนละ 3,333 บาท
 
3. กองเชียร์สโมสรปัตตานี เอฟซี ด่าด้วยถ้อยคำหยาบคายและขว้างปาขวดน้ำเข้าไปในสถานที่จัดการแข่งขัน  มีความผิดตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 3 หมวดที่ 2 ข้อ 4.4 ปรับเงิน 30,000 บาท แต่เป็นทีมในระดับไทยลีก 3 จึงปรับเงิน 10,000 บาท
 
4. กองเชียร์สโมสรปัตตานี เอฟซี ชกผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 2 บริเวณท้ายทอย การกระทำดังกล่าวเป็นการทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน ในสถานที่จัดการแข่งขัน มีความผิดตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 3 หมวดที่ 2 ข้อ 4.9 ปรับเงิน 50,000 บาท แต่เป็นทีมในระดับไทยลีก 3 จึงปรับเงิน 16,666 บาท​
 
ทั้งนี้ หากไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมวางเงินค่าอุทธรณ์ จำนวน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ต่อหนึ่งกรณีการอุทธรณ์ โดยส่งที่อีเมล [email protected] ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา​
 
นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ พิจารณาเหตุการณ์ไม่ปกติที่เกิดขึ้น โดยมีเหตุการณ์ที่แฟนบอลและประชาชนทั่วไปให้ความสนใจในเกม ฟุตบอลรายการไทยลีก 3 คู่ระหว่างสโมสรเชียงราย ซิตี้ 1-1 สโมสรสี่แคว ซิตี้ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566
 
เหตุการณ์ไม่ปกติดังกล่าว เกิดขึ้น หลังจากจบการแข่งขัน นายเอกพงศ์ อุทธสาร ผู้รักษาประตูหมายเลข 20 ของสโมสรสี่แคว ซิตี้ เตะลูกบอลใส่ผู้ตัดสิน โดนบริเวณท้ายทอย เนื่องจากไม่พอใจการตัดสินที่เป่าให้สโมสรเชียงราย ซิตี้ ได้จุดโทษในนาทีที่ 87 เพราะผู้เล่นสโมสรสี่แคว ซิตี้ ทำแฮนด์บอลในเขตโทษ ผู้ตัดสินจึงให้ใบแดง (Violent Conduct) แก่ ผู้รักษาประตูสโมสรสี่แคว ซิตี้
 
คณะกรรมการฯ ได้ประชุมพิจารณาและมีมติเอกฉันท์ ว่าการกระทำดังกล่าวมีการกระทำที่รุนแรง ร้ายแรง ขาดน้ำใจเป็นนักกีฬา หลังจากมีเจตนาทำร้ายผู้ตัดสินแล้ว ยังมีท่าทางข่มขู่จะเข้าทำร้ายโดยตรงกับผู้ตัดสินอีกครั้งหนึ่งจนกระทั่งถูกกันตัวออกไป
 
ดังนั้นการที่ผู้ตัดสินลงโทษไล่ออกใบแดง คณะกรรมการพิจารณาวินัย มารยาท เห็นว่ายังไม่เหมาะสมกับความผิดที่ได้กระทำลง จึงอาศัยอำนาจตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษวินัย มารยาท บทที่ 2 การลงโทษการกระทำผิดกฎ กติกา วินัย มารยาท ข้อประท้วง และอำนาจหน้าที่องค์กรคณะตุลาการ และมาตรการทางวินัย ของสมาคม  ข้อ 1. บทกำหนดโทษสำหรับนักกีฬาฟุตบอล เจ้าหน้าที่ทีม องค์กรสมาชิก (ทีม) และกองเชียร์ ข้อ 1.1 การกระทำความผิดของนักกีฬาฟุตบอล จากการเล่นหรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทั้งใน-นอกสถานที่จัดการแข่งขันในวันแข่งขันต่อนักกีฬาฟุตบอล หรือเจ้าหน้าที่ทีม หรือกองเชียร์ทีมคู่แข่งขัน หรือเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน หรือสาธารณชน ต้องถูกลงโทษ ตามบทที่ 3 หมวดที่ 2 ข้อ 1 ประกอบกับ วรรคสอง ข้อความว่า "โดยองค์กรคณะตุลาการ และมาตรการทางวินัย  มีอำนาจเพิ่มโทษ หรือลดโทษ หรือเพิกถอนโทษ ตามข้อ 1.1 ถึง 1.10 ข้างต้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับผลการแข่งขัน เว้นแต่กรณีที่มีโทษให้ปรับแพ้" จึงให้ลงโทษ ผู้รักษาประตูหมายเลข 20 นายเอกพงศ์ อุทธสาร สโมสรสี่แคว ซิตี้ มีความผิดตามระเบียบว่าด้วยการลงโทษฯ บทที่ 3 หมวดที่ 2 ข้อ 1.12 (1) ถูกพักการแข่งขันและห้ามเข้าสนาม 1 นัด และปรับเงิน 20,000 บาท เนื่องจากเป็นการกระทำต่อเจ้าหน้าที่จัดการแข่งขัน ให้เพิ่มโทษจากเดิมเป็น 2 เท่า จึงเพิ่มโทษถูกพักการแข่งขันและห้ามเข้าสนามเป็น 2 นัด  และเพิ่มโทษปรับเงินเป็น 40,000 บาท
 
เนื่องจาก ผู้รักษาประตูหมายเลข 20 นายเอกพงศ์ อุทธสาร สโมสรสี่แคว ซิตี้ ถูกผู้ตัดสินลงโทษใบแดง Violent Conduct ถูกพักการแข่งขันครั้งต่อไป 2 นัด และปรับเงิน 20,000 บาท
 
จึงรวมโทษ ถูกพักการแข่งขัน 4 นัด และปรับเงิน 60,000 บาท แต่เป็นทีมในระดับไทยลีก 3 จึงปรับเงิน 20,000 บาท
 
ทั้งนี้ หากไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ เป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมวางเงินค่าอุทธรณ์ จำนวน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ต่อหนึ่งกรณีการอุทธรณ์ โดยส่งที่อีเมล [email protected] ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แม่ทัพทัพภาคที่ 4 มอบถุงยังชีพให้ชาวปัตตานีที่ได้รับความเดือนร้อนจากอุทกภัย

เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. พลโท ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 พร้อมด้วย พลเอก มณี จันทร์ทิพย์ ที่ปรึกษา

“สส.คอซีย์“ เผย สถานการณ์น้ำท่วมปัตตานีลดลง แต่ยังมีน้ำท่วมขัง กระทบการผลิตน้ำประปาเพื่ออุปโภคบริโภค ทำ ปชช.เดือดร้อน ขาดแคลนน้ำดื่มหนัก

นายคอซีย์ มามุ สส.ปัตตานี เขต 2 พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ว่า ขณะนี้ประชาชนยังได้รับความเดือดร้อนจากภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่ม ถึงแม้จะได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการจัดส่งน้ำเข้าพื้นที่ แต่ยังไม่เพียงพอ

เทศบาลเมืองปัตตานีน้ำแห้งแล้ว ชาวบ้านเร่งทำความสะอาด หมู่บ้านรอบนอกยังท่วมหนัก

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ยังไม่คลี่คลาย ยังคงมีพื้นที่ถูกน้ำท่วม โดยเฉพาะพื้นที่ต.ปะกาฮารัง อ.เมือง มีน้ำท่วมสูง 1 เมตร ซึ่งลดลงเล็กน้อย ส่วนพื้นที่

'เปิ้ล-นาคร'ปักหลักปัตตานี 'แชมป์-แบงค์'แชมป์โลก'ลงยะลา-ตากใบ นักกีฬาเจ็ตสกีผนึกกำลัง

นักกีฬาเจ็ตสกีทั่วประเทศผนึกกำลังกันอีกครั้ง สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสถานการณ์ล่าสุด ทีมนักกีฬาเจ็ตสกีจิตอาสา ของสมาคมกีฬาเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ แบ่ง 2 ทีมปฏิบัติการ ทีมพี่เปิ้ล-นาคร น้องออก้า พี่ปู พี่อาร์ม เจ็ตสกี 6 ลำ ลงพื้นที่พร้อมท่านผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมที่ อ.หนองจิก จังหวัดปัตตานี ส่วน ทีม “แชมป์” กษิดิศ “แบงค์แชมป์โลก” และพัทธดนย์ วัฒนศิลป์ เข้าช่วยเหลือที่ยะลาและพร้อมลำเลียงข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำ ยารักษาโรค ให้พี่น้องชาวตากใบ

ปัตตานียังวิกฤต! ดับแล้ว 7 ราย ปะกาฮารังจมบาดาลทั้งหมู่บ้าน

สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดปัตตานียังคงเป็นพื้นที่สีแดง หลายพื้นที่ยังมีท่วมสูง แม้ว่าในช่วงกลางดึกน้ำลดลงไปบ้างแล้ว ประมาณ 20 %

น้ำท่วมใหญ่ปัตตานี หนักสุด 30 ปี มวลน้ำยะลา-นราธิวาสไหลบ่า จังหวัดเดียวรับน้ำเต็มๆก่อนลงทะเล

สถานการณ์ท่วมปัตตานียังไม่มีทีท่าว่าน้ำจะลดลง มวลน้ำจากยะลา และนราธิวาสยังคงไหลมาจังหวัดปัตตานีต่อเนื่อง ทำให้ปัตตานีเป็นจังหวัดเดียวที่รับน้ำเต็มๆ