เพิ่มทักษะ'ศิลปะ'ผู้สูงวัย สร้างตัวตนกลายเป็นแบรนด์บนออนไลน์

สศร.หนุนพัฒนาความคิดผู้สูงวัย ชวนหาจุดเด่น สร้างตัวตนให้เป็นที่รู้จักบนโซเชียล ใช้ทักษะศิลปะต่อยอดกลายเป็นแบรนด์

25 มิ.ย.2565 – นายโกวิท ผกามาศ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัยกำลังเป็นประเด็นที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ รวมถึงประเทศไทยที่จะต้องกำหนดนโยบายในการรองรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์  สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย(สศร.)  โดยกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ได้จัดสรรเงินสนับสนุนโครงการวัยเกษียณเขียน ‘ตัวตน’ (บนออนไลน์) เพื่อพัฒนาความคิด คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบด้านและทันท่วงที มุ่งหวังให้ผู้สูงวัยที่เข้าร่วมโครงการ อายุระหว่าง 60-75 ปี ได้เรียนรู้แนวทางการสร้างความเป็นตัวตนให้เป็นที่รู้จักบนในโลกออนไลน์ นำประสบการณ์ชีวิตและทักษะเชิงศิลปะไปสู่การสร้างเป็นสินค้าแก่ผู้บริโภคในโลกออนไลน์และเกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่คนรุ่นหลัง 

นายโกวิท กล่าวอีกว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ใช้เวลาหลังเกษียณ ฟื้นฟูศักยภาพและเสริมสร้างตัวตนใหม่ให้เกิดขึ้น โดยมีวิทยากรด้านงานเขียน อาทิ  นายอนุชิต คำน้อย จากเพจ “คิ้วต่ำ” นายวิชญา โมฬีชาติ   “ครูเบนซ์” วิทยากรจากคลินิกจิตวิทยา Mind’s corner เชียงใหม่ นักจิตวิทยา นักพูด นักกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำงานเพื่อสังคมและกุศลสาธารณะมาช่วยเพิ่มทักษะการเขียนออนไลน์ ให้ชำนาญและสร้างสรรค์ก่อเกิดงานชิ้นใหม่ๆ มีการจัดอบรมทั้งหมด จำนวน 4 ครั้ง ในหัวข้อต่างๆ ไก้แก่ 1.การฟื้นฟูตัวตน ค้นหาจุดเด่น…สร้างตัวตนใหม่ 2. กระบวนการสร้างตัวตนจากงานเขียนบนโลกออนไลน์ 3.จาก characterต่อยอดสู่การสร้าง Branding

ทั้งนี้ มี นางงามพรรณ เวชชาชีวะ นักเขียนรางวัลซีไรต์ และ ผศ.ดร.สรตี ปรีชาปัญญากุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นที่ปรึกษาโครงการ  ซึ่งโครงการดังกล่าวมุ่งสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเตรียมวางแผนการใช้ชีวิตในบั้นปลาย  ส่งเสริมการสร้างคุณค่าในตัวเอง และให้ตระหนักว่า ผู้สูงอายุนั้นยังมีตัวตนในสังคม ตลอดจนเป็นการปูทางสร้างรายได้ ในอนาคตได้  ทั้งนี้ สศร.สนับสนุนการต่อยอดด้วยการนำผลงานของผู้เข้าอบรมวัยเกษียณเขียนตัวตนบนออนไลน์’ ปี 2565 มาจัดแสดงที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ สวนโมกข์กรุงเทพฯ  จนถึงวันที่ 26 มิ.ย นี้ ด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ออมสุขภาพ” รับวัยเกษียณ เตรียมพร้อมสู่สังคมผู้สูงวัย

สังคมไทยเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ขณะนี้มีผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน จากจำนวนคนไทย 66 ล้านคน และในอนาคตคืออีก 60 ปีข้างหน้า

รัฐบาล จัดทำแผนพัฒนาทักษะทางการเงิน ปี 65-70 ครอบคลุมประชาชนไทยทุกช่วงวัย

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรที่กำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ และรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในสังคมที่มีความเป็นบริโภคนิยมมากขึ้น ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายหลักของประเทศไทย

วช.จับมือโซเชียลแล็บ ถอดบทเรียน 3 งานวิจัยพัฒนาผู้สูงวัย มีนวัตกรรมพร้อมใช้

วช.จับมือ โซเชียล แล็บ รับมือสังคมอายุยืน ถอดบทเรียน 3 สุดยอดงานวิจัย โชว์นวัตกรรมพร้อมใช้เพื่อขยายผลสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย

“วุฒิสภา-สสส.” จับ ขรก.อบรมคอร์สกู้ชีพ CPR ติวเข้มปฐมพยาบาลเบื้องต้น พร้อมเปิดสมัยประชุมสภา 1 พ.ย.65 นี้

นางสาวนภาภรณ์ ใจสัจจะ เลขาธิการวุฒิสภา เป็นประธานเปิดกิจกรรม "การฝึกอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (CPR & AED)" ประจำปี 2565 ผู้เข้าอบรม 2 รุ่น 70 คน

สสส.เตรียมความพร้อม 4 ด้าน “สุขภาพ-เศรษฐกิจ-สังคม-สิ่งแวดล้อม” รับมือประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มตัว

นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงสถานการณ์ประเทศไทยในปี 2565 ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว (Aged Society) ว่า สังคมผู้สูงวัยเป็นวัยที่ต้องการดูแลเอาใจใส่ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ซึ่งในปี 2565

ธนาคารเวลารองรับสังคมผู้สูงวัย สร้างคุณค่าที่เท่าเทียมด้วยการแบ่งปัน

ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ปีสังคมสูงวัย รัฐบาลประกาศให้สังคมสูงวัยเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีธนาคารเวลาเป็นหนึ่งในเครื่องมือรองรับสังคมสูงวัย Give & Take