ศูนย์เรียนรู้ศิลปะ VICHOKE ART- ROOM จุดรวมรำลึก'อ.วิโชค มุกดามณี'

อาคารสองชั้นขนาดกว้างขวาง  ภายในเล่นระดับทำให้มีพื้นที่ใช้สอยเหมือนเป็นอาคารสามชั้น ตั้งอยู่ริม ถนนปทุมสายใน ตำบลบางขะแยง  อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี มองจากภายนอกก็จะเห็นได้ว่ามีความโดดเด่นแปลกแยกจากชุมชนรอบๆ รูปทรงของที่บังแดดคล้ายหน้าต่างทรงยาว ตรงชั้นสอง แต่ทำมุมเปิดเอียงประมาณ 60องศา ทำด้วยโครงเหล็กทาสีฟ้าอมน้ำเงิน ตัวบานใช้เหล็กฉีก ที่มีขนาดของรูที่ไม่เท่ากัน บางบานเป็นตาถี่  บางบานเป็นตาห่างดูแปลกตากับผู้พบเห็น

 ที่นี่คือ ศูนย์เรียนรู้ศิลปะ VICHOKE ART- ROOM เป็นที่รวบรวมผลงานศิลปะของ ศ.วิโชค มุกดามมณี  ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สื่อผสม) พ.ศ.2555  ผู้วายชนม์ไปเมื่อ  3ปีก่อน  หลังการเสียชีวิตของอ.วิโชค รศ.ดร.วิชญ มุกดามณี หรือ อ.วิน คณบดีคณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร  บุตรชายคนเดียวของอ.วิโชค  และเป็นผู้สืบทอดมรดกทางด้านศิลปะได้ลุกขึ้นมาสร้างสิ่งที่ระลึกถึงผู้เป็นพ่อ โดยอาศัยอาคารแห่งนี้ ซึ่งเดิมเคยเป็นที่พำนักของครอบครัวรวมทั้งเป็นสคูดิโอของอ.วิโชค  มาปรับปรุงให้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ศิลปะ กลางเมืองปทุม โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

งานศิลปะแทบทั้งหมด ที่หลากหลายในรูปแบบสื่อผสม ทั้งผลงานจิตรกรรมบนผ้าใบ แผ่นไม้ อลูมิเนียม ผลงานศิลปะที่ผสมวัสดุธรรมชาติและอุตสาหกรรม ผลงานปะติด   หรือผลงานแนวทางจัดวาง (Installation ล้วนเกิดขึ้นที่บ้านหลังนี้ และที่นี่ยังเป็นที่เก็บสะสมหนังสือศิลปะจำนวนมหาศาล มีทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ที่อ.วิโชค ทั้งซื้อหาและได้รับมาจากแหล่งต่างๆ ถูกเก็บสะสมไว้ที่นี่ด้วยเช่นกัน  

.รศ.วิชญ มุกดามณี หรืออ.วิน บุตรชายคนเดียวของอ.วิโชค 


"ทั้งความทรงจำ ผลงาน ความรู้   ความรักความอบอุ่นในครอบครัว อัดแน่น อบอวลในบ้านหลังนี้ คุณแม่และผม จึงคิดปรับปรุงบ้านหลังนี้ให้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ศิลปะ VICHOKE ART- ROOM ขึ้น ด้วยเจตนาที่ต้องการเผยแพร่ผลงานและความรู้มากมายที่คุณพ่อเก็บสะสมไว้  ให้สาธารณชนได้เรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง งานบางชิ้นอาจจะไม่มีใครเคยเห็น ถ้าหากปล่อยไว้จะน่าเสียดายอย่างยิ่ง "อ.วินเล่าที่มาความตั้งใจเปิดศูนย์เรียนรู้ศิลปะ อ.วิโชค

การแสดงผลงานของอ.วิโชค

ภายในศูนย์เรียนรู้ศิลปะ แบ่งออกเป็น 4 ส่วนสำคัญ คือ ห้องแสดงนิทรรศการ ห้องสมุดห้องพักสำหรับศิลปิน และสตูดิโอทำงานศิลปะ   ซึ่ง อ.วิน บอกว่า นอกจากให้ผู้มาเยี่ยมเยือน ได้ชื่นชมผลงานศิลปะของอ.วิโชคแล้ว ในศูนย์ยังมีวิทยากร ศิลปิน เปิดอบรมศิลปะ  ให้เด็กนักเรียน ผู้ใหญ่ที่สนใจมาอบรมเป็นคอร์สต่างๆ    

งานเซรามิค ที่อ.วิโชค เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกจากของใช้ให้กลายเป็นงานศิลปะ

อ.วิน บอกอีกว่า ผลงานของอ.วิโชค ที่นำมาแสดงเป็นเพียงแค่ 10% ของที่เก็บไว้ ซึ่งจะมีการนำมาจัดแสดงแบบหมุนเวียน  และการจัดแสดงพยายามแทรกซึมไปทุกส่วนของบ้าน แต่ผลงานที่นำมาแสดงในวันเปิด ได้เลือกผลงานทุกช่วงชีวิตตั้งแต่ปี 2517 ,2520 จนมาถึงปี 2565 ระยะเวลาประมาณ 40ปี  มาจัดแสดง ซึ่งมีทั้งศิลปะแบบสื่อผสม ภาพสเก็ตช์  แต่ส่วนใหญ่เป็นภาพหน้าคนมีทั้งบนผ้าใบ และงานเซรามิก ถือได้ว่าอ.วิโชค เป็นคนที่บุกเบิกงานเซรามิกในวงการศิลปะ ตั้งแต่ปี 2530 ซึ่งแต่ก่อนเซรามิกไม่ได้เป็นงานอาร์ต แต่เป็นของใช้ ซึ่งอ.วิโชคเป็นศิลปินกลุ่มแรกๆ ที่นำเซรามิก มาเป็นศิลปะ  

บรรยากาศภายในศูนย์เรียนรู้ฯ

งานศิลปะของอ .วิโชค  ผู้เป็นลูกบอกว่า ในฐานะที่ตนเองทำงานศิลปะด้วย เมื่อเห็นผลงานคุณพ่อ ค่อนข้างรู้สึกประทับใจ เห็นความต่อเนื่อง ในการทำงาน คุณพ่อทำงานสื่อผสมด้วยบุคลิกของตัวเอง  ทั้งจิตรกรรม วาดระบายสี พัฒนาไปสู่เซารามิก การใช้ไม้ พลาสติก เซรามิก ศิลปะจัดวาง เป็นความหลากหลายรูแปแบบ ที่ไม่ตายตัว  ซึ่งในความหลากหลายนี้ ถ้าสังเกตุให้ดีจะเห็นบุคลิกบางอย่างในผลงานที่ชัดเจนคือเรื่องสีสัน ที่คุณพ่อเลือกใช้สีฟ้า สีแดง สีที่สดใส  ในโทนฉูดฉาด แต่มีบรรยากาศ ความอบอุ่นแฝงอยู่ในที ส่วนเนื้อหาก็มีความหลากหลายมากทั้งความเชื่อ ความศรัทธา ภาพคน ครอบครัว สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ  หรืออวกาศ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ซึ่งสะท้อนการเติบโตไปตามช่วงวัย

.ห้องสมุดภายในศูนย์ฯ  ขุมความรู้ศิลปะที่ล้ำค่า

 หนังสือในห้องสมุด ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญของศูนย์เรียนศิลปะแห่งนี้ อ.วิน เล่าว่า มีสูจิบัตรหลายเล่มหายากมากเก็บไว้ที่นี่  รวมทั้งหนังสือความรู้เกี่ยวกับศิลปินไทย ศิลปินต่างประเทศ นิทรรศการกลุ่ม นิทรรศการเดี่ยว  ทั้งเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น ส่วนที่นำมาไว้ในห้องสมุดถือว่าเป็น 80% ของทั้งหมด

ผลงานที่ใช้วัสดุโลหะ สะท้อนความหลากหลายในผลงาน

ผลงานชุดก่อนเสียชีวิต อ.วินบอกว่า  เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหลานสาว "น้องนาที"บุตรสาวของอ.วิน  ผลงานที่เป็นโลหะ เป็นเด็กวิ่ง เล่น  กับแมว สุนัช ม้าโพนี อานหนังสือ เป็นสิ่งที่อ.วิโชค เป็นบันทึกความทรงจำของหลานสาวที่ขณะนั้น อายุ 3 ชวบ  นอกจากนี้ ยังมีผลงานภาพสเก็ตนู้ด  ที่เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการที่ถือว่าเป็นนิทรรศการครั้งสุดท้ายของอ.วิโชค จัดแสดง ณ หอศิลป์แห่งชาติ ซึ่งอ.วิโชค บอกว่า เป็นนิทรรศการบูชาครู และหลังจากเปิดนิทรรศการได้ 3วัน อ.วิโชค ก็เข้าโรงพยาบาล และไม่ได้ออกมาอีกเลย

การใช้สีสันฉูดฉาดของอาคาร ตามบุคลิกศิลปะของอ.วิโชค

"ไหนๆ ผมต้องส่งต่อความรู้ทางศิลปะอยู่แล้ว มาคิดว่ายิ่งเป็นผลงานคนใกล้ตัว ทำไมเราไม่ส่งต่อ โดยส่วนตัวผมมองว่างานของคุณพ่อมีบุคลิกพิเศษ ไม่ค่อยเหมือนใคร สำหรับความเป็นลูก เราเห็นบุคลิกที่พิเศษนี้  ซึ่งถ้าเราไม่มีการเก็บรวบรวม สิ่งเหล่านี้ ก็คงจะค่อยๆหายไป มันเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดาที่คนก็ต้องลืม   แต่ก่อนที่มันจะหายไปตามธรรมชาติ เราสามารถสร้างประโยชน์บางอย่างจากผลงานคุณพ่อ  ให้คนได้เรียนรู้จากมันก่อนที่มันจะถูกลืม หรือหายไป  ได้หรือไม่" อ.วิน กล่าวปิดท้าย

ภาพเด็กเล่นกับแมว สุนัข ผลงานชุดสุดท้าย  ของอ.วิโชค เป็นบันทึกความทรงจำเกี่ยวกับหลานสาว
.
ศิลปินแห่งชาติมาร่วมงานในวันเปิดศูนย์ฯ

ผู้สนใจเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ศิลปะ VICHOKE ART- ROOM  สามารถติดต่อนัดหมายล่วงหน้าผ่านเฟซบุ๊กVichoke Art-Room : ศูนย์เรียนรู้ศิลปะ วิโชค มุกดามณี  

สูจิบัตร วันเปิดศูนย์
แผนที่ไปศูนย์เรียนรู้ศิลปะ อ.วิโชค มุกดามณี

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รดน้ำขอพรศิลปินแห่งชาติ สืบสานประเพณีสงกรานต์ไทย

10 เม.ย. 2567 - ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัดพิธีรดน้ำขอพรแสดงมุทิตาจิตแด่ศิลปินแห่งชาติ และผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)

รวมพลังศิลปินวาดภาพ'กรมสมเด็จพระเทพฯ'

ศิลปินทั่วฟ้าเมืองไทยรวมพลังสร้างสรรค์ผลงานศิลปะถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เพื่อเทิดพระเกียรติองค์’วิศิษฎศิลปิน’  ด้วยความน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา

อธิบดี สวธ. เยี่ยม2ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ที่ จ.นครราชสีมา ให้กำลังใจสร้างงานวัฒนธรรม

21 มี.ค.2567 - นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) พร้อมด้วย นางพรนิภา บัวพิมพ์ ผู้อำนวยการกลุ่มสวัสดิการศิลปินแห่งชาติฯ นางสาวศิวพร

เผยแพร่ผลงาน 8 ศิลปินแห่งชาติ

กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ประกาศผลโครงการและกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน ประจำปี 2567 โดยมีโครงการของศิลปินแห่งชาติทั้ง 3 สาขา ได้รับการสนับสนุนเผยแพร่งานมาสเตอร์พีซและมีชื่อเสียง ได้แก่ โครงการ "นิทรรศการบ้านคำปุน"

‘เบิร์ด ธงไชย’ ซึ้ง! เผยความในใจผูกพันหอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรม จัดคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ด 130 รอบ

ความรู้สึกเหมือนได้กลับมาบ้านหลังใหญ่อันอบอุ่นและสถานที่ที่คุ้นเคย เพราะชื่อของเบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ในคอนเสิร์ตแบบเบิร์ดเบิร์ดอยู่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยมายาวนานกว่า 16 ปี