รวม'หัวโขนโบราณ' สุดอลังฯ วิจิตรตระการตา

หัวโขนโบราณมีอัตลักษณ์ที่แตกต่างจากหัวโขนทั่วไป ทั้งวัสดุ เชิงช่าง และความประณีตวิจิตรงดงามราวกับมีชีวิต การทำหัวโขนองค์ความรู้โบราณมีการถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง และเป็นแรงบันดาลใจให้กับช่างรุ่นใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์งานหัวโขนร่วมสมัย

‘หัวโขนกุมภกรรณหน้าทอง’เป็นหนึ่งในหัวโขนพิเศษระดับตำนาน อายุเก่าแก่ 135 ปี สร้างขึ้นด้วยทองแดงสลักดุนทั้งหัว ทารักปิดทอง เขียนลวดลายอย่างประณีตสวยงาม เป็นหัวโขนเดิมของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)  ลูกเลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  และเป็นเจ้าของโรงละครไซมิสเธียร์เตอร์ ก่อนที่จะมีผู้นำหัวโขนนี้มาถวายไว้ที่วัดพระแก้วเชียงราย ปัจจุบันเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์โฮงหลวงแสงแก้ว วัดพระแก้ว ซึ่งทรงคุณค่าและหาชมได้ยาก เป็น 1 ใน 100 ผลงาน ที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กรมศิลปากร และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ร่วมกับสถาบันไทยคดีศึกษา และคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำมาจัดนิทรรศการ “วิจิตราภรณ์และงานประณีตศิลป์แห่งโขน” ให้ได้ชมตั้งแต่วันที่ 3 – 25 มี.ค. 2565 ที่หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน  เนื่องในโอกาสครบรอบ 4 ปีที่องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศรับรองให้โขนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติอย่างเป็นทางการ

หัวโขนหนุมานหน้ามุก ประดับหินเขี้ยวหนุมาน งดงามลงตัว

นิทรรศการพาเรามาเรียนรู้และสัมผัสความมหัศจรรย์ของงานช่างฝีมือไทยผ่านเครื่องโขน ทั้งงานโบราณตามจารีตแบบแผนและงานร่วมสมัย โดยการประดิษฐ์หัวโขนของครูช่างแต่ละคนมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันไปขณะเดียวกันจะได้ดื่มด่ำกับผลงานของช่างฝีมือเครื่องโขนรุ่นใหม่ได้สร้างสรรค์ศีรษะโขนและออกแบบเครื่องแต่งกายขึ้นใหม่ แต่ยังคงอิงลวดลายที่เป็นประเพณีไทยดั้งเดิม  สะท้อนงานประณีตศิลป์ชั้นสูงแขนงนี้ไม่มีวันสูญหาย  เพราะคนรุ่รใหม่ต่อยอดการสร้างงานของคนรุ่นเก่า

สุดอลังการ หัวโขนทศกัณฐ์หน้าทองเขี้ยวแก้ว

งานศิลป์ล้ำค่านอกจากกุมภกรรณหน้าทอง  ยังมีหัวโขนสำคัญเช่น เศียรพระคเณศผลงานของครูชิต แก้วดวงใหญ่ หัวโขนทศกัณฐ์หน้าทองเขี้ยวแก้ว ที่เก็บรักษาไว้ที่สำนักการสังคีต กรมศิลปากร และหัวโขนหนุมานหน้ามุก ประดับด้วยหินเขี้ยวหนุมาน หรือ Quartz ที่ทำเป็นเขี้ยวซี่ในหนุมาน  สันนิษฐานสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นของโบราณที่มีอยู่เพียงสองหัวเท่านั้น

ส่วนผลงานชุดประวัติศาสตร์ ชวนชมเครื่องแต่งกายโขน อักษระพระนาม”อท” ใต้จุลมงกุฎ เป็นตราพระนามของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ซึ่งนิยมการโขนละคร โดยมอบให้คณะละครของครูมัลลี คงประภัศร์ สร้างเครื่องแต่งกายให้ใช้เฉพาะคณะของท่าน แล้วยังมีเครื่องประดับโขนโบราณสมัย ร.6 ชุดห้อยหย้ารูปหัวกะโหลกพระคเณศ และเครื่องโขนโบราณงานฝีมือชั้นครูอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี

เครื่องแต่งกายโขนต้นแบบ พระ-นาง โดยจักรพันธุ์ โปษยกฤต

ส่วนงานโขนร่วมสมัยที่ดึงดูดสายตา คือ เครื่องแต่งกายโขนต้นแบบที่สำนักการสังคีตใช้ในการแสดง ชุดนางสีดาออกแบบโดยนายจักรพันธุ์  โปษยกฤต ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)  สไบนางผืนพิเศษของศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด อยุธยา  ถัดมาเป็นกลุ่มผลงานหัวโขนหน้ามุกฝีมือชนก ช่างเรียน  โชว์พระพิฆเนศหน้ามุก  มารีศหน้ามุกและสหัสเดชะหน้ามุก  สร้างหัวโขนขึ้นด้วยมุก เทคนิคการต่อมุกสุดยอด สวยงามตระการตามาก สามารถใส่แสดงโขนได้จริง  มีหลักฐานการทำหัวโขนมุกตั้งแต่สมัย ร.2  มาต่อที่“เศียรฤาษีวาลมีกิ” ผลงานของนายนิรันดร์ ยังเขียวสด  ฉากลับแลทศกัณฐ์ลงสวนของอาจารย์หทัย บุนนาค

หัวโขนหน้ามุก งานร่วมสมัย โดยชนก ช่างเรียน   

เดินชมนิทรรศการจะตื่นตากับงานชิ้นเอก คือ ผ้าห่มนางกรองทอง ของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่สวยโดดเด่น เป็นการฟื้นฟูงานช่างโบราณด้วยวิธีถัก ปักและสอดปีกแมลงทับ นอกจากนี้ ยังมีผลงานของครูและศิษย์จากวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตรัตนโกสินทร์  โรงเรียนช่างฝีมือในวัง (ชาย) ตำรารำฉบับจำลอง ร่วมจัดแสดงรวมกว่า 100 ผลงาน ถ้าพลาดชมแล้วจะต้องนึกเสียใจภายหลังแน่นอน อย่าลืมแวะมาเยี่ยมชมนิทรรศการ “วิจิตราภรณ์และงานประณีตศิลป์แห่งโขน” มารู้จักโขนมรดกโลกที่หาชาติใดเทียบได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บวงสรวงเทพยดางาน'ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์'

19 เม.ย.2567 - เวลา 08.19 น.นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เป็นประธานในพิธีบวงสรวงเทพยดางาน “ใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” โดยมี พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ เป็นพราหมณ์ประกอบพิธีบวงสรวง

สงกรานต์ชลบุรี สานประเพณีธีม'งานวัด'

ชลบุรีเป็น 1 ใน 5 จังหวัดนำร่องจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ไทยภาคตะวันออกอย่างยิ่งใหญ่ โอกาสนี้ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์ปีใหม่ไทย

ไฮไลต์ 3 วัน เทศกาลหุ่นเพชรบุรีเมืองหนัง 2024

เทศกาลหุ่นเพชรบุรีเมืองหนัง Phetchaburi Harmony Puppet Festival 2024 กลับมาอีกครั้ง ภายใต้การออกแบบเฟสติวัลที่เชื่อมโยง คำว่า “หนัง” ที่สื่อถึงตัวหนังที่แกะขึ้นเป็นภาพ ภาพบนตัวหนังที่เคลื่อนไหวใช้ชักเชิด ต่อมาวิวัฒนาการเป็นภาพยนตร์  มีการชมหนัง  ปีนี้

20 ชุมชนชิงต้นแบบ'เที่ยวชุมชน ยลวิถี'

ชุมชนท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมนั้นกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย แต่ละชุมชนมีความโดดเด่นด้วยอัตลักษณ์ วิถีชีวิต เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวตามบริบทของชุมชน เพื่อคัดเลือกชุมชนต้นแบบ”เที่ยวชุมชน ยลวิถี”ที่มีเรื่องราวน่าสนใจ

ภาพถ่าย'Show Me Your Korea' ประตูสู่เกาหลี

ชวนคนไทยร่วมเดินทางไปท่องเที่ยวเกาหลีผ่านนิทรรศการภาพถ่าย “Show Me Your Korea” เนื่องในโอกาสเป็นปีแห่งการท่องเที่ยวเกาหลี - ไทย ปี 2023-2024   จัดโดยศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย นิทรรศการล่าสุดนี้ดึงดูดผู้ชมด้วยผลงานภาพถ่ายที่ผ่านการคัดสรรจากเวทีการประกวดภาพถ่าย

สงกรานต์'รางน้ำ' พิกัดใหม่เล่นน้ำสุดฉ่ำ

สงกรานต์กรุงเทพฯ จุดเล่นน้ำสงกรานต์ยอดฮิตที่มีคนไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวอย่างคับคั่งเป็นประจำทุกปี คนจะนึกถึงถนนข้าวสาร เขตพระนคร หนึ่งในย่านท่องเที่ยวและจัดงานเล่นน้ำสงกรานต์ยอดนิยมเสมอมาของกรุงเทพฯ  รองลงมาสงกรานต์สีลมซึ่งปิดถนนให้เล่นน้ำสงกรานต์กันตลอดเส้นสีลม ยังมีพื้นที่ของคนกลุ่มความหลากหลายทางเพศ LGBTQ ที่จัดประกวดเทพีสงกรานต์ เดินขบวนพาเหรด การแสดงศิลป