ผู้เชี่ยวชาญ เตือนอย่าติดกับดักน้ำท่วม 2554 'ของจริง' ยังไม่มา!


แฟ้มภาพ

11 ก.ย.2565 - รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมว่า อย่าติดกับดักน้ำท่วม 2554 ของจริงยังไม่มา

• 3-4 วันที่ผ่านมา กทม.และปริมณฑล รวมทั้งบางจังหวัด โดยเฉพาะระยองได้รับผลกระทบค่อนข้างหนักจากฝนตกหนัก และน้ำท่วมรอการระบาย ผมอยู่ที่สิงคโปร์ได้รับข้อมูลแล้วกังวลเหมือนกับทุกท่าน “อย่าติดกับดักน้ำท่วม 2554 ของจริงยังไม่มา” ทำไมต้องกล่าวเช่นนี้ ผมจะอธิบายให้ฟังในรายการสถานีประชาชน ช่อง TPBS วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม เวลา 14.30 น. น่ะครับ

• เมื่อวานนี้ผมได้ไปคุยกับวิศวกรที่ดูแลระบบเตือนภัย อุโมงค์ผันน้ำ และถังเก็บน้ำที่สิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2553 เกิดฝนตกหนัก และน้ำท่วมบริเวณย่านเศรษฐกิจที่สำคัญ ถ. Orchard สร้างความเสียหายอย่างรุนแรง จนเกิดการพัฒนา และก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำ และถังเก็บน้ำใต้ดิน (ดูรูปประกอบ) จวบจนปัจจุบันไม่มีเหตุการณ์น้ำท่วมอีกเลย นอกจากนี้สิงคโปร์มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดจากการก่อสร้างโครงสร้างที่แข็ง (Grey infrastructure) มาเป็นโครงสร้างอ่อน (Green infrastructure) ในหลายๆพื้นที่เพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะส่งผลกระทบในอนาคต

• วิกฤตโลกร้อน...วาระร้อนของชาวโลก อุณหภูมิยิ่งสูง...โลกยิ่งเสี่ยง “อากาศแปรปรวนสุดขั้ว”ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ช่วยกู้โลกพ้นหายนะ ได้อย่างไร ? ร่วมไขคําตอบ UNLOCK กับ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุ ประกาศฉบับสุดท้าย พายุฤดูร้อน 8-10 พ.ค. ยังมีฝนตกหนักลมกระโชกแรง

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 14 ซึ่งเป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้ ระบุว่า

นายกฯ ปลื้ม! คนร้อยเอ็ดเชียร์นั่ง 2 สมัย 'พระอาจารย์ต้อม' มอบของขลัง

'เศรษฐา' ลุยต่อร้อยเอ็ด กราบนมัสการ 'พระอาจารย์ต้อม' ให้พรประสบความสำเร็จ มอบพระเครื่อง 'เสาร์ 5 ร้ายกลับดี' รับปากเร่งแก้ปัญหาน้ำท่วม - ยาเสพติด ขณะชาวบ้านเชียร์นั่งนายกฯ 2 สมัย

กทม. เตือนค่าดัชนีความร้อนอยู่เกณฑ์ ‘อันตราย’ ลดเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง

ค่าดัชนีความร้อน (Heat Index) อยู่ในเกณฑ์ 'อันตราย' คำแนะนำในการปฏิบัติตัว ประชาชนทั่วไป ควรลดระยะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 11 เตือน 'พายุฤดูร้อน' ถล่ม 52 จังหวัด

นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน" ฉบับที่ 11 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2567) โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนร้อนจัด 42 องศา พายุฝนฟ้าคะนอง ลมแรง ลูกเห็บตก

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน

เตือนอันตราย 'พายุฤดูร้อน' ในภาวะโลกเดือด ชี้จะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ แต่รุนแรงมากขึ้นทั้งลมฝนลูกเห็บ

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า #พายุฤดูร้อนภัยอันตรายมากในภาวะโลกเดือด มาไขคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญ IPCC