'เทพมนตรี' สอนหลักพื้นฐานการเมือง 'ธนาธร' อย่าแค่ท่องจำ

'เทพมนตรี' สอน 'ธนาธร' อย่าเอาแต่ท่องจำเรื่องนักการเมืองต้องมาจากการเลือกตั้ง เพราะบางทีก็ซื้อเสียงกันมา บอกประชาธิปไตยต้องมาพร้อมกันทั้งสิทธิเสรีภาพ หน้าที่และประโยชน์สุขส่วนรวม

12 เม.ย.2566 - นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักประวัติศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ธนาธรผู้ท่องจำ” ระบุว่า ต้นตอปัญหาของประเทศนี้คือนักการเมือง นักการเมืองคือบุคคลสำคัญ การยึดโยงกับประชาชนคือขั้นตอนของการได้รับเลือกตั้ง ดังนั้นคุณสมบัตินักการเมืองสำคัญสุดเพราะนอกเหนือจากการเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยแล้วจะต้องครองใจชาวบ้านและต้องมีจริยธรรมคุณธรรมเป็นที่ตั้ง

การเลือกตั้งไม่ใช่ว่าเอาใครก็ได้มาเป็นนักการเมือง ดังนั้นพรรคการเมืองเมื่อเอาใครมาลงรับสมัครเลือกตั้งต้องตรวจสอบให้ดีเสียก่อน การที่ธนาธรพูดว่านักการเมืองต้องมาจากเสียงของประชาชนจึงจะเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยมันถูกแค่บางส่วน แท้ที่จริงแล้วสิ่งสำคัญที่สุดก็คือคุณลักษณะของนักการเมืองที่พึงประสงค์ ถ้าซื้อเสียงมา แม้ได้มาจากเสียงประชาชนเราจะเรียกว่าเป็นนักการเมืองที่มาจากประชาชนไม่ได้ จะอ้างว่ามาจากการเลือกตั้งไม่ได้เพราะเสียงที่ได้รับคือการแลกเปลี่ยนสิทธิการลงคะแนนกับเงินตราที่ได้รับ

การมีประชาธิปไตยมันต้องมาพร้อมกันทั้งสิทธิเสรีภาพ หน้าที่และประโยชน์สุขส่วนรวม ขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ครับธนาธร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คณะก้าวหน้า-ธนาธรปักธง "สว.สีส้ม" แชร์เก้าอี้สภาสูง

การเมืองช่วงเดือนพฤษภาคม วาระสำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องติดตามก็คือ การได้มาซึ่ง วุฒิสภา-สภาสูง ชุดใหม่ ที่จะมาแทนสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดปัจจุบัน ที่จะหมดวาระลงในวันที่ 10 พ.ค. แต่ต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า สว.ชุดใหม่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่

'ดร.นิว' เห็น 'ธนาธร' ชี้นำการเลือกส.ว. ทำให้นึกถึงหัวหน้าปรสิตใน Parasyte:The Grey

ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

'เทพมนตรี' ลากไส้ สันดานนักประวัติศาสตร์บางคน อกตัญญู สอนให้คนชังชาติ

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thepmontri Limpaphayorm ระบุว่า

ดัชนีการเมืองไทย มี.ค. 'พิธา' เรตติ้งนำ 'เศรษฐา' ปชช.เห็นใจปมยุบพรรค

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมีนาคม 2567 โดยสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 2,254 คน