รู้ทันแผน 'ปิยบุตร' เปิดเกมเจรจาต่อรอง หลังตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ยับเยิน

7 ธ.ค.2564 - นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักประวัติศาสตร์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่าไม่ขอเห็นด้วยกับอาจารย์ปิยบุตร ข้อเสนอของอาจารย์ปิยบุตร เราไม่จำเป็นจะต้องเห็นด้วยหรือมีพลังอำนาจอะไรจะมาต่อรองเจรจาประนีประนอม

1. เพราะมันเลยเวลาที่จะทำการเจรจาประนีประนอมไปแล้ว กลุ่มผู้ชุมนุมเดินเข้าสู่ขบวนการยุติธรรม มีคดีอาญาติดตัวเป็นจำนวนมาก

2.เพราะอาจารย์ปิยบุตรรู้ว่าเกมนี้ฝ่ายตนพ่ายแพ้ แต่ถ้าเป็นฝ่ายชนะคงไม่มีความประนีประนอม ดังเห็นได้จากการโพสต์รัวๆของเขาที่ปารีส

3.การปฏิเสธว่าตนเองต้องการปฏิวัติล้มล้างมากกว่าการปฏิรูป เกิดขึ้นหลังจากมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และแนวทางของการปฏิวัติตามความเข้าใจของผู้ชุมนุม มันถูกเริ่มต้นแล้ว เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2563

4. เพราะอาจารย์ปิยบุตรรักตัวกลัวตาย กลัวขบวนการที่จัดตั้งขึ้นมาพังทลายลงจึงออกมาอธิบายต่อรองเพื่อเดิมเกมต่อ หากแต่คนไทยเขาฉลาดไม่ใช่พวกโง่แบบสองเขาสามกีบที่เคลิบเคลิ้มจนหลงลืมความถูกต้อง

5. ข้อเสนอเป็นเรื่องของตัวบุคคลไม่ใช่ของปวงชนชาวไทย

6. อาจารย์ปิยบุตรตกอยู่ในสภาพหมดเครดิต คือถูกศาลฯเพิกถอนสิทธิการรับสมัครทางการเมือง พรรคที่ตนเองเป็นเลขาธิการถูกยุบ และมีแนวโน้มสูงที่จะต้องคดีอาญาหลายมาตรา

7. ข้อเสนอสามารถกระทำผ่านขบวนการรัฐสภา โดยพรรคก้าวไกลแต่ไม่ทำ เพราะต้องการจะนำเสนอผ่านสังคมโซเชียลสร้างความปั่นป่วน และความขัดแย้ง ถือเป็นบุคคลอันตราย

8. การอ้างเสรีภาพทางวิชาการของอาจารย์ปิยบุตรมักละเมิดสิทธิเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ซึ่งผิดบทบัญัติตามมาตรา 3-4 ในรัฐธรรมนูญ และอาจลุกลามไปถึงมาตรา 108 หมวดความมั่นคง ในประมวลกฎหมายอาญา

9. ข้อเสนอของอาจารย์ปิยบุตรจึงไม่มีคุณค่าอะไรในทางวิชาการเพราะไม่ผ่านการลงประชามติจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทย มีลักษณะของการต่อรอง ข่มขู่ ปราศจากความชอบธรรมทั้งทางนิตินัยและในทางที่จะนำไปปฏิบัติ

10. เราควรเลิกเชื่ออาจารย์ปิยบุตรได้แล้ว เพราะเป็นการเสียเวลาและรกสมองไปเปล่าๆ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นิพิฏฐ์' โพสต์ 'หน้าที่รัฐ' ความต่างระหว่างนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้าน

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "หน้าที่รัฐ" ระบุว่า การถือกำเนิดของรัฐ มาจากหลักการสำคัญประการหนึ่ง คือ “

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 38): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น เช่น