กองทัพเปิดข้อมูลชำแหละ 'ก้าวไกล' ชงยุบ กอ.รมน. ผิดหลักการ เกาไม่ถูกที่คัน

กอ.รมน. ชำแหละ พ.ร.บ.ยุบ กอ.รมน. ก้าวไกล ผิดหลักการ ไม่มีตรงไหนระบุทหารมีอำนาจเหนือพลเรือน หรืองานซ้ำซ้อน สมช.เผย เกาไม่ถูกที่คัน ควรชี้ให้ชัดมีปัญหาตรงไหน ขณะที่นักวิชาการยังเห็นต่างตั้ง “โฮมแลนด์ เซ็คเคียวริตี้” แทน "รอมฎอน-กัณวีร์" เมินร่วมฟัง

7 พ.ย.2566 น.ที่อาคารรื่นฤดี กอ.รมน.(ส่วนกลาง) กอ.รมน.จัดงานเสวนา “พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551” เพื่อชี้แจงการวิพากษ์วิจารณ์ ในสังคมที่ไม่เข้าในในบทบาทหน้าที่ภารกิจการจัด รวมถึงตอบข้อสงสัยกรณีพรรคก้าวไกลที่ผลักดันเสนอร่าง พ.ร.บ.ยกเลิก พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 2551 พ.ศ….

โดยมี พล.อ.ดร.นพนันต์ ชั้นประดับ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก พล.ท. ดร. ดนัยวัฒนา รุ่งอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก น.ส. ชลธนสรณ์ พิสฐศาสน์ ผอ.กองนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (สมช.) ร่วมชี้แจงและถ่ายทอดงานเสวนาผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยัง กอ.รมน.จังหวัดทั่วประเทศ เพื่อนำไปสื่อสารกับประชาชนให้เข้าใจบทบาท กอ.รมน.ตรงกัน และยังเชิญนายรอมฎอน ปันจอร์ สส.พรรคก้าวไกล ที่เสนอร่างกฎหมายยุบ กอ.รมน.และนายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเป็นธรรม มาร่วมฟังเสวนาด้วย แต่ทั้งสองคนไม่ได้มาเข้าร่วม

โดยมีประเด็นที่ชี้แจง 8 ประเด็น คือ1ความชัดเจนของร่าง พ.ร.บ.ยกเลิก พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 2551 พ.ศ…. 2.หลักการจัดหน่วยงานความมั่นคงเปรียบเทียบ 3.การใช้ทหารสนับสนุนรัฐบาลความมั่นคงภายในประเทศและการปฎิบัติสากล 4.หลักการอำนาจพลเรือนเหนือทหาร 5.หลักการตรวจสอบถ่วงดุลตามระบอบประชาธิปไตย 6.หลักความซ้ำซ้อนองค์การและการปฎิบัติ 7.งบลับแสนล้านที่ผิดหลักการวิชาการและข้อเท็จจริง

โดย พล.อ. ดร. นพนันต์ ชั้นประดับ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก กล่าวตอนหนึ่งว่า ในประเด็นที่ 1 การเสนอร่างพ.ร.บ.ยกเลิก กอ.รมน.ที่เสนอโดย สส.พรรคก้าวไกล นั้น ยังไม่มีความชัดเจนว่าต้องการยุบด้วยสาเหตุใด ทั้งที่ กอ.รมน. มีบทบาทหน้าที่ชัดเจนตามกฎหมาย ไม่ได้ซ้ำซ้อน ส่วนการจัดอัตรากำลังพลเป็นโครงสร้างผสม ทหารพลเรือน แบ่งอัตราอย่างชัดเจน ดังนั้นการเสนอร่าง ยุบ กอ.รมน.ผิดหลักการ และข้ามขั้นตอนการปรับปรุงหน้าที่ภารกิจของส่วนราชการ ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายและหลักการจัดองค์การสากล ไม่มีมีข้อมูลเชิงประจักษ์ ชี้ให้เห็นว่าอำนาจทหารเหนือกว่าพลเรือน ที่จะนำไปสู่การยุบ กอ.รมน. ที่สำคัญหากมองว่าการจัด กำลัง กอ.รมน.มีความซับซ้อนและซ้ำซ้อนนั้น ไม่จำเป็นต้องยกเลิก พ.ร.บ.แต่สามารถแก้ระเบียบในฝ่ายบริหารเช่นในที่ประชุม ครม.

พร้อมมองว่า หลักการจัดหน่วยงานความมั่นคงเปรียบเทียบและการปฎิบัติ เป็นไปตามทฤษฎีองค์กรและหลักสากล ที่ส่วนใหญ่หัวหน้าฝ่ายบริหารเป็นหัวหน้าหน่วยงานฝ่ายความมั่นคง ส่วนการยุบ กอ.รมน.ไปรวมกับ สมช. ก็คือการย้ายทั้งหน่วยไปเปลี่ยนต้นสังกัดซึ่งขัดต่อหลักการจัดองค์กร และการยุบ กอ.รมน. แล้วรัฐบาลจะมีงบ 7,700 ล้านบาท ไปใช้ เป็นเรื่องเท็จ เพราะงานยังอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนงบจาก กอ.รมน. ไปอยู่ที่ สมช.

อย่างไรก็ตามหากมีการยกเลิก ยังไม่มีอะไรที่เหมาะสมที่สุดในการจะมาแทน กอ.รมน. แม้แต่นักวิชาการที่กำลังถูกเถียงกันในเรื่องนี้บางคนก็เห็นว่าควรจะมีการตั้งกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ หรือ โฮมแลนด์ ซิเคียวริตี้ แต่บางคนก็ค้าน

ขณะที่ พล.ท.ดร.ดนัยวัฒนา รุ่งอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก ย้ำว่าการทำงานของ กอ.รมน.ทำงาน คนเดียวไม่ได้ อยากสำเร็จต้องมีกองอำนวยการร่วมทำงานแบบบูรณาการ การทำงานแบบไล่ตามแก้ปัญหาแต่วันนี้ พร้อมที่จะรับมือปัญหาใหม่ คาดการณ์ล่วงหน้าได้

ทั้งนี้ พลตรีวินธัย สุวารี โฆษก กอ.รมน.ระบุว่า บทบาทและงบประมาณของกอ.รมน.เน้นในเรื่องความมั่นคงภาคใต้ และปัญหาความมั่นคงที่กลไกปกติแก้ไขไม่ได้ เช่น ปัญหายาเสพติด ป่าไม้ ซึ่งต้องทำงานอย่างบูรณาการ และใช้เวลา พร้อมย้ำว่า ปัจจุบันงบลับไม่มีแล้ว แม้งบประมาณจะมีหมวดนี้บรรจุไว้ แต่ปัจจุบันไม่ได้ตั้งงบประมาณในหมวดงบลับแล้ว

ขณะที่ นางสาวชลธนสรณ์ พิสิฐศาสน์ ผู้อำนวยกองนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช.เห็นว่า การเสนอยกเลิกกฎหมาย เท่ากับการยุบ กอ.รมน. ซึ่งการยกเลิกพระราชบัญญัติ กอ.รมน.ควรจะต้องมาพิจารณาก่อนว่า ปัญหาอยู่ที่ตัวกฎหมาย หรือสาระของกฎหมาย ซึ่งหากมีปัญหาที่กลไกใด ก็สามารถแก้ไขรายมาตราได้ หรือหากปัญหาอยู่ที่การปฏิบัติ ก็ต้องกลับมาพิจารณาปัญหาในปัญหาที่ถูกต้อง

ผู้อำนวยกองนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง สมช. ยังเห็นความสำคัญของ กอ.รมน.ที่มีหน้าที่ในการระงับยับยั้งภัยความมั่นคงของประเทศ ซึ่งภัยปัจจุบันมีพัฒนาการขึ้นมาต่างจากอดีต เช่นภัยคอมมิวนิสต์ ภัยสงคราม ภัยการก่อการร้าย ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนเป็นภัยเศรษฐกิจ ภัยทางสังคม ที่มีพลวัตรสูงมาก และมีความรุนแรงสูงมาก ซึ่งปัญหาความมั่นคงเหล่านี้ จึงเป็นโจทย์ท้าทายว่า ควรจะออกแบบหน่วยงานความมั่นคง เพื่อสกัดกั้นภัยต่าง ๆ ได้ เพื่อไม่ให้สงผลกระทบต่อประเทศ และสังคม หรือชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างไรเพราะภัยๆหนึ่ง ไม่สามารถระบุชี้ชัดได้ว่า จะมีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมารับผิดชอบได้หรือไม่ แต่จะต้องอาศัยความร่วมมือ

และหน่วยงานนั้นจะต้องทันต่อภัย มีความยืดหยุ่น ทำได้ทั้งในภาวะปกติ และไม่ปกติ โดยมีสายบังคับบัญชาสั้น และกระชับ ไม่เน้นระบบราชการปกติ และภัยรูปแบบใหม่ จะต้องอาศัยความร่วมมือ และการบูรณาการ หรือแม้แต่ในภาพกว้าง ภัยๆหนึ่ง ประเทศ ประเทศหนึ่ง ก็อาจไม่สามารถจัดการได้ ต้องอาศัยความร่วมมือ ครบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อตอบสนองภัยได้อย่างรวดเร็ว และยังจะต้องอาศัยภาคประชาชน ดึงประชาชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาความมั่นคง

จึงสะท้อนความจำเป็นจะต้องมี พ.ร.บ.กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจัก หรือ จำเป็นจะต้องมี กอ.รมน.เพื่อตอบสนองภัยต่าง ๆ และมีเครือข่าย และ กอ.รมน.ยังเป็นหน่วยงานรูปแบบเฉพาะ มีความยืดหยุ่นกว่าหน่วยปกติ เพื่อตอบสนองภัยได้อย่างรวดเร็ว ฉะนั้น หากคิดจะยุบ กอ.รมน. หรือจะไปตั้งหน่วยงานใหม่ ก็จะต้องหาคำตอบว่า จะมีหน่วยงานใดที่สามารถประสานความร่วมมือในการภัยรูปแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะในการปฏิบัตินั้น สมช.เป็นเสมือนหน่วยงานในการกำหนดนโยบายสู่หน่วยงาน หรือประเด็นความมั่นคง แต่ สมช.เป็นหน่วยงานขนาดเล็ก และมีช่องว่างขาดการอำนวยการ ดังนั้น กอ.รมน.จึงถือเป็นข้อต่อโซ่เชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานในการกำหนดนโยบาย และหน่วยงานเพื่อนำไปปฏิบัติได้เป็นรูปธรรม

“มาคุยกันก่อนไหมว่าปัญหาอยู่ที่สาระกฎหมาย หรือการปฎิบัติ ถ้าเป็นกฎหมายก็ให้แก้รายมาตรา หรือปัญหาอยู่ที่การปฎิบัติก็ต้องไปแก้ตรงนั้น ถ้าเลิกกฎหมาย ยุบ กอ.รมน. ไปแล้ว ต้องมานั่งนับหนึ่งใหม่ ต้องคิดว่าจะเอาอะไรมาแทน ดังนั้น ต้องเกาให้ถูกที่คัน”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รังสิมันต์' สบช่องโหนแดนกิมจิบอกไทยถ้าประกาศกฎอัยการศึกควรขอสภาก่อน!

'โรม' บอกเรื่องเกาหลีใต้ประกาศกฎอัยการศึก เป็นเรื่องภายในประเทศ มองเทียบไทยถ้าประกาศควรขอความเห็นสภา ชี้หลักการสำคัญทั่วโลก ทหารต้องอยู่ใต้พลเรือน

'บิ๊กอ้วน' ยันชายแดนภาคเหนือไร้สู้รบ กลุ่มว้าแดงไม่ได้รุกล้ำ อย่าพูดเรื่องเสียดินแดน

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯรัฐมนตรี และรมว. กลาโหมกล่าวถึงสถานการณ์ การเผชิญหน้าระหว่างทหารว้าและทหารไทย ในพื้นที่ชายแดนทางภาคเหนือ ว่า ก็ไม่มีอะไรสถานการณ์สงบปกติ โดยตนเองได้สอบถามไปยังพล.อ.พนา แคล้วปลอดทุกข์

ทภ.3 สยบข่าวทหารไทยเผชิญหน้าว้าแดง ยันประชาชนใช้ชีวิตปกติ สัมพันธ์ชายแดนยังดี

พ.อ.รุ่งคุณ มหาปัญญาวงศ์ โฆษกกองทัพภาคที่ 3 กล่าวถึงกรณีที่ได้ปรากฏข่าวสารข้อมูล ในประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน กองทัพภาคที่ 3 ขอชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว ดังนี้

โฆษก ทบ. แจงปมเจ้ากรมยุทธฯทำร้ายทหาร รอสอบพยานเพิ่ม ชี้บทลงโทษด้านวินัย

พ.อ.ฐิต์รัชช์ สมบัติศิริ โฆษกกองทัพบก กล่าวถึงความคืบหน้าการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีมีผู้ร้องเรียนเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกทำร้ายผู้ใต้บังคับบัญชาว่า ขณะนี้การสอบพยานหลักฐานยังไม่แล้วเสร็จ แต่มีคำสั่งให้เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก

ผบ.ทบ. ร่วมพิธีปิดทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธี กลุ่มประเทศอาเซียน ทหารหญิงไทยคว้ารางวัล

พลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก เดินทาง ร่วมในพิธีปิดการทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธีกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 32 (The 32nd ASEAN Armies Rifle Meet - AARM) หรือ AARM 2024

โฆษก ทบ. เผยคำสั่งย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก เซ่นปมทำร้ายร่างกาย

พันเอก ฐิต์รัชช์ สมบัติศิริ โฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า จากการที่กองทัพบกตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีมีผู้ร้องเรียนเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา ในสังกัดกรมยุทธศึกษา