'กิตติศักดิ์ ปรกติ' เปิดใจหลังศาลยกฟ้อง คดีกบฎ กปปส. 

3 ธ.ค. 2566 – บันทึกจาก รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ

💐ขอขอบคุณทุกกำลังใจครับ

หลังสู้คดีมาเกือบ 10 ปี วันที่ 1 ธันวา 2566 ผมไปฟังคำพิพากษาที่คุณธาริตเขาหาว่าผมสนับสนุนกบถ

ผมไปถึงศาลอาญาตอนเช้าด้วยความตื่นเต้นเล็กน้อย นายแพทย์เพื่อนชั้นมัธยมท่านหนึ่งกรุณาปลอบใจด้วยการนำพระรูปจำลองของเสด็จในกรมหลวงชุมพร อัดกรอบ มาคล้องคอเป็นกำลังใจ

หญิงชราคนหนึ่งนั่งอยู่ในห้องพิจารณากล่าวเบา ๆ กับผมว่า วันนี้ไม่ว่าผลการพิจารณาของศาลจะเป็นอย่างไร ฉันมาที่นี่เพื่อขอขอบคุณการกระทำของจำเลยทุกคนว่าผ่านมา 10 ปีแล้ว การกระทำทุกอย่างยังอยู่ในความทรงจำที่ดีเสมอมา
เหตุทั้งหมดในคดีนี้มาจากการลงมติของเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ให้ตรา พรบ นิรโทษกรรม เมื่อกว่า 10 ปีก่อน คือ 1 พย 56

คณาจารย์ในคณะนิติ มธ ลงชื่อคัดค้านการตรากฎหมายนี้ว่าเป็นการใช้เสียงข้างมากที่มีอย่างล้นหลามของสภาผู้แทนฯโดยขัดต่อหลักกฎหมายอย่างร้ายแรง

ผมในฐานะอาจารย์คนหนึ่งได้ร่วมแถลงข่าวที่คณะนิติฯ มธ เมื่อ 7 พย 56 แล้วเลยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนของคณาจารย์ที่ลงนามแสดงเจตนารมณ์คัดค้านร่างกฎหมายตามอำเภอใจเสียงข้างมากครั้งนี้ต่อผู้ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

หลังจากนั้นผมได้รับเชิญไปอภิปรายหลายครั้ง โดยได้ยกตัวอย่างกรณีของเยอรมันตะวันออกที่ประชาชนลุกขึ้นคัดค้านรัฐบาลและรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งแบบจอมปลอมจนนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงโดยสันติ

โดยประชาชนเยอรมันที่ออกมาชุมนุมประกาศไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลอีกต่อไป และจัดตั้งสภาประชาชนขึ้น เรียกว่าสภาโต๊ะกลม กำหนดแนวทางให้รัฐสภาปฏิบัติตาม จนนำไปสู่การเปิดกำแพงเบอร์ลิน

ผู้นำการชุมนุมในบ้านเราครั้งนั้นได้นำเอาแนวทางของเยอรมันตะวันออกมาปรับใช้ นำไปสู่การเดินขบวนครั้งใหญ่หลายครั้ง จนรัฐบาลประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร และมีการคัดค้านการเลือกตั้งตามมา

รัฐบาลในเวลานั้นคงเห็นว่าผมมีส่วนสำคัญในการประท้วงจึงสั่ง ดำเนินคดีกับผมร่วมกับผู้ต้องหาอื่นๆอีกราวเกือบ 60 คนโดยสั่งอายัดบัญชีธนาคารของผมทั้งหมด และตั้งข้อหาสนับสนุนกบฏ ทำให้ต้องสู้คดีต่อมาร่วม 10 ปี

เกือบ10 ปีผ่านไปศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าคำอภิปรายในที่ชุมนุมของผมเป็นการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการโดยสุจริตจึงตัดสินว่าไม่มีความผิดและให้ยกฟ้อง

แม้ศาลจะตัดสินลงโทษจำเลยอื่นๆอีกหลายคน แต่ก็ยอมรับว่าบุคคลเหล่านั้นได้ แม้กระทำผิด ก็ทำไปเพื่อปกป้องการปกครองโดยถือกฎหมายเป็นใหญ่ และยอมรับกระบวนการยุติธรรมอย่างกล้าหาญ

ผมเป็นเพียงนักวิชาการที่แสดงความคิดเห็นโดยไม่ได้ทำอะไรอย่างอื่น ศาลเมตตายกฟ้อง แต่ผู้ประท้วงหลายคนถูกตัดสินจำคุก อย่างไรเสีย ผมก็ยังหวังว่าหากมีเหตุไม่ถูกต้องเกิดขึ้น คนที่อาสาออกหน้าคัดค้านเสี่ยงเป็นเสี่ยงตายเพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง จะไม่หมดสิ้นไป

แม้บางครั้ง ผลของการต่อสู้ อาจเป็นเหมือนหนีเสือ ปะจรเข้…ก็ตาม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โชว์ภาวะผู้นำ ! นักวิชาการ ชื่นชม 'อนุทิน' ขู่ถอนวีซ่าต่างชาติ พฤติกรรมมาเฟีย

ผศ.ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ให้ความเห็นเรื่องการเกิดขึ้นของมาเฟียต่างชาติ โดยเฉพาะที่จังหวัดภูเก็ต

'รัดเกล้า' อบรม 'ก้าวไกล' เลิกชักแม่น้ำทั้งห้า หนุนก๊วนละเมิดสถาบัน

'รัดเกล้า' ซัด 'ก้าวไกล' อย่าชักแม่น้ำทั้งห้า หนุนคนทำผิดกฎหมาย ละเมิดสถาบัน เชื่อคนรุ่นใหม่อีกมากไม่เห็นด้วยกับการกระทำของ 'ตะวัน'

‘ก้าวไกล’ หูผึ่ง! นักกฎหมาย ชี้มีลุ้นไม่โดนยุบพรรค เหตุรูปคดีแตกต่าง

การร้องเพื่อให้ยุบพรรค ที่เป็นมาตราการซึ่งถูกกำหนดอยู่ในพรป.พรรคการเมืองฯ มาตรา 92 (1) ที่มีการเขียนถ้อยคำในมาตราดังกล่าว คล้ายๆ กับมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ แต่ว่าไม่ได้มีการอ้างอิงโดยตรงว่า หากเกิดศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามมาตรา 49 แล้ว

'นิพิฏฐ์' ตอกพวกหิวแสง! 112 แก้ได้ แต่ไม่ใช่ล้มล้างแบบก้าวไกล

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า มาตรา 112 แก้ได้ มิใช่แก้ไม่ได้ แต่เพราะแก้หลายมาตรา จนเป็นการล้มล้างการปกครอง