เลขาครป.จี้รัฐแก้ปัญหาโครงสร้างยุติซื้อไฟฟ้าจากเอกชน ให้กฟผ.กลับมาผลิตเองเหมือนเดิม

เลขาครป.จี้รัฐบาลแก้ปัญหาโครงสร้างยุติการซื้อไฟฟ้าจากเอกชน แต่ให้กฟผ.กลับมาผลิตเองเหมือนเดิม ด้วยต้นทุนที่ต่ำจะสามารถลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชนได้ และขอให้ตรวจสอบสัญญาที่ไม่เป็นธรรมเอื้อประโยชน์ให้นายทุนของรัฐบาล

8 ธ.ค.2566 - นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) โพสต์ข้อความว่า

"ขอให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายให้กฟผ.กลับมาผลิตไฟฟ้าเหมือนเดิม เพราะกฟผ.ผลิตได้ต้นทุน 2 บาทต่อหน่วย แต่โรงไฟฟ้าเอกชนผลิตได้ 6 บาทต่อหน่วย"

การแก้ปัญหาค่าครองชีพของประชาชน คณะรัฐมนตรีมีมติปรับลดค่าไฟฟ้างวดเดือนกันยายน – ธันวาคม 2566 จาก 4.10 บาทต่อหน่วย ลดลงเหลือ 3.99 บาทต่อหน่วยเพื่อช่วยเหลือประชาชน แต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศขึ้นค่าไฟงวดใหม่เป็น 4.68 บาทต่อหน่วย งวดมกราคม-เมษายน 2567 เพื่อซ้ำเติมประชาชนเหมือนเดิมโดยไม่แก้ปัญหาที่ต้นตอ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐมนตรีพลังงาน

รัฐบาลเคยแถลงว่าการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชนและจะสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการราคาพลังงานทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แต่รัฐบาลยังไม่แก้ไขปัญหาการอนุญาตให้รัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนในระยะยาวและทำสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจาก กฟผ. สามารถผลิตไฟฟ้าเองได้ แต่รัฐบาลเก่าไปกำหนดควบคุมให้ กฟผ.ลดการผลิตลง แต่ให้ไปซื้อเอกชนให้มากขึ้นแทน!

ขณะนี้ กฟผ. ซื้อไฟจากเอกชนราคาหน่วยละประมาณ 6 บาทและมากกว่า ในขณะที่ขายให้แก่ประชาชนหน่วยละประมาณ 4 บาท ทำให้รัฐบาลโดย กฟผ.รับภาระส่วนต่างโดยทำบัญชีขาดทุนทำให้หนี้ของ กฟผ. บานปลายเพิ่มขึ้นเกิน 1 แสนล้านบาทไปแล้ว แทนที่จะแก้ปัญหาโครงสร้างไฟฟ้าโดยสั่งการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานห้ามมิให้ กฟผ. ซื้อไฟจากเอกชนในราคาที่เกินกว่าเพดานต้นทุนที่ กฟผ. สามารถผลิตเองได้เพียงหน่วยละ 2 บาทเท่านั้นตามราคาไฟฟ้ามาตรฐาน แต่การไปบังคับซื้อไฟจากเอกชนราคาหน่วยละ 6 บาท และบางรายแพงกว่านั้น เพื่อต้องการเอื้อประโยชน์ให้นายทุนของรัฐบาล

ในอดีตมีการเปิดประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนในราคาแพงและมีการคอร์รัปชั่นเก็บเงินเข้ากระเป๋านักการเมืองจำนวนมาก รัฐบาลจะแก้ไขอย่างไร เมื่อหนี้ของ กฟผ. เพิ่มสูงขึ้นจนวันหนึ่งรัฐบาลก็ต้องเก็บภาษีประชาชนมาใช้หนี้ให้ กฟผ. อยู่ดี หรือนี่จะเป็นนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแปบแฝงของรัฐบาลโดยปล่อยให้ล้มละลายเพื่อให้เอกชนเข้าหาผลประโยชน์แทนเหมือนกับการบริหารจัดการการบินไทยในอดีตที่มีการคอร์รัปชั่นภายในมโหฬาร หรือการแปรรูป ปตท.

วิธีการแก้ปัญหาเรื่องนี้ไม่ยาก แค่รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประกาศนโยบายให้ กฟผ.ยุติการซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชน แต่ให้กฟผ.กลับมาผลิตไฟฟ้าเองเหมือนเดิม ด้วยต้นทุนที่ต่ำก็จะสามารถลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชนได้ ไม่จำเป็นต้องไปทำสัญญาซื้อกับเอกชนดังที่เป็นอยู่ และขอให้ตรวจสอบสัญญาที่ไม่เป็นธรรมดังกล่าว

นอกจากนี้รัฐบาลมีนโยบายจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างการใช้พลังงานของประเทศ และเร่งเจรจาการใช้พลังงานในพื้นที่อ้างสิทธิกับประเทศข้างเคียงและสำรวจแหล่งพลังงานเพิ่มเติม จะต้องทำให้โปร่งใสประชาชนมีส่วนร่วมและได้ประโยชน์ โดยผลประโยชน์ไม่ขึ้นกับกลุ่มทุนพลังงานกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งตามที่มีการไปเจรจากันเบื้องต้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กฟผ.ชวนสัมผัส “ELEXTROSPHERE โลกใหม่ Right คาร์บอน” โซนใหม่ศูนย์การเรียนรู้ จัดเต็มความรู้คู่ความสนุก พบกัน 2 เมษายนนี้!

ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง เป็นโครงการที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มุ่งทำขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์การแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคม หรือ Learning for Society

ฉลากเบอร์ 5 แบบใหม่ 5 ดาว ประหยัดไฟ รักษ์โลกมากกว่าเดิม

แม้ไทยจะเข้าสู่ฤดูร้อนเพียงไม่นาน แต่บางพื้นที่มีอุณหภูมิร้อนแรงแตะ 45 องศาเซลเซียส ทำให้หลายคนเตรียมปาดเหงื่อทั้งจากอากาศที่ร้อนจัด

นายกฯ ให้รอ ‘รมว.พลังงาน’ ชงต่ออายุมาตรการช่วยลดด้านพลังงาน

มติครม. ตรึงราคาน้ำมันดีเซล 30 บาทต่อลิตร ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 31 มี.ค.นี้ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้ากลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านพักอาศัยไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ที่จะสิ้นสุดมาตรการในเดือนเม.ย.นี้

ตามโผ ‘ครม.’ ตั้ง ‘เทพรัตน์ เทพพิทักษ์’ นั่ง ผู้ว่าการ กฟผ.คนใหม่

ครม.มีเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง นายเทพรัตน์  เทพพิทักษ์  ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

กฟผ. พร้อมจ่ายไฟฟ้าพลังงานสะอาดในรูปแบบผสมผสาน กำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ ภายใน มี.ค. นี้

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทดสอบการขนานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนอุบลรัตน์ ชุดที่ 1 เข้าระบบโครงข่ายไฟฟ้าของสถานีไฟฟ้าแรงสูงเขื่อนอุบลรัตน์