ปลัดกลาโหม ลั่นอย่าพูดไม่มีเกณฑ์ทหาร ทำระบบกำลังสำรองพัง


17 ม.ค.2567 - เมื่อเวลา 09.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เพื่อพิจารณางบของกระทรวงกลาโหม วงเงิน 198,562.9 ล้านบาท

พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ตอบคำถามคณะกรรมาธิการฯ ถึงการปรับลดขนาดของกองทัพว่า การปรับขนาดกองทัพให้เล็กลง จะกระทบต่อกำลังพลทุกระดับชั้น ซึ่งการปรับลดในแบบของกระทรวงกลาโหมดำเนินการมาโดยตลอดตั้งแต่ชั้นนายพล นายพลประจำ ทำมาตั้งแต่ปี 2551 และกำลังพลทั้งหมดก็ทำมาเช่นกันตั้งแต่ปี 2552 ก็ลดลงไปเรื่อยๆ

และขณะนี้ยังทำอยู่ แต่แผนจะไปสิ้นสุดปี 2571 ตอนนี้กระทรวงกลาโหมกำลังทำแผนปรับโครงสร้างกองทัพ มี 2 ระยะคือ เร่งด่วน 2568-2570 และระยะ 2571-2580 จะวางยุทธศาสตร์ไว้ เมื่อปรับโครงสร้างเสร็จ ลดคนเพิ่มเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นมาเช่น โดรน เพราะลดการใช้คน ต้องมีระบบการตรวจการตามแนวชายแดน ที่ผ่านมาก็ทำให้ผลการจับยาเสพติดเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกองทัพภาคที่ 3 เพิ่มขึ้นหลายเท่า เพราะเราใช้ระบบเฝ้าตรวจเทคโนโลยีขึ้นมา การขนยาเสพติดมาหลายช่องทางมาเป็นกองทัพมด และสถานการณ์การสู้รบในประเทศเพื่อนบ้าน มีเรื่องชนกลุ่มน้อยต่างๆที่ต้องการใช้เงินอัตรายาเสพติดก็เพิ่มขึ้น และไหลมาในบ้านเรา เราต้องสู้ด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้าไป ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ

"ย้ำว่าหากลดกำลังพลต้องปรับโครงสร้างก่อน ผมยืนยันว่ากำลังทำอยู่โครงสร้างระยะยาวเชื่อมจากปี2571 ไปจนถึง2580 ทุกระดับชั้น"

พลเอก สนิธชนก กล่าวต่อว่า ในส่วนของเรื่อง
การยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ขณะกองทัพลดความต้องการลงทหารเกณฑ์ลง โดยคำนึงถึงถึงภัยคุกคาม และวางเป็นเปอร์เซ็นต์ไว้

"ดังนั้นการสมัครใจต้องโดยสมบูรณ์ คือไม่ต้องเกณฑ์โดยสมบูรณ์ อย่าไปพูดว่าไม่มีเกณฑ์ทหาร มันต้องมีทหาร เพราะระบบกำลังสำรองของประเทศไทย มาจาก 2 ส่วนคือทหารเกณฑ์ เป็นเฉลี่ย 2 ปี แล้วปลดเขาเรียกทหารกองเกิน และ นักศึกษาวิชาทหาร หรือรด. ถ้าไม่เกณฑ์ทหารก็ไม่มีรด. ทั้งนี้ รด.ปี 5 เมื่อยามศึกสงครามเขาจะเป็นผู้หมวดคุมทหารเช่นเดียว รด.ปี 3 เป็นนาบสิบ นี่คือระบบกำลังสำรองของประเทศไทย การลดทหารเกณฑ์โดยการลดความต้องการและเพิ่มการสมัครใจตามนโยบายของรมว.กลาโหม แรงจูงใจจะต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และพึ่งเซ็น MOU ไปกับกระทรวงศึกษา เปิดโอกาสให้ทหารใหม่"พลเอก สนิธชนก กล่าว

พลเอก สนิธชนก กล่าวอีกว่าส่วนเรื่องสัดส่วนปรับปรุงโครงสร้างใหม่ ลดกำลังพล หันมาใช้เทคโนโลยี ก็ต้องดูภัยคุกคามซึ่งการเตรียมกำลังต้องดูภัยคุกคามจากประเทศรอบบ้านและสถานการณ์โลกซึ่งภัยคุกคามที่ต้องระมัดระวังซึ่งมีผลกระทบกับประเทศไทยแน่นอน ทะเลจีนใต้คือคาบสมุทรเกาหลี


สำหรับโครงการเออรี่ปัจจุบัน กลาโหม มี 2 แบบซึ่งมีอยู่แล้วคือการเออรี่ทหารชั้นนายพลได้รับแต่ยศ และ เออรี่ทุกชั้นยศ ทำมาตลอดประมาณ 3-5 ปีเพื่อชักจูงคนเข้ามาเออรี่ ส่วนโครงการเออรี่ที่ได้ทั้งเงินและเลื่อนยศ ซึ่งทำในปี 2568 -2570 ขณะนี้ได้ผ่านที่ประชุมเห็นชอบแล้วจากส่วนราชการต่างๆ ขั้นต่อไปเข้าสภากลาโหมและครม. เพราะใช้งบประมาณปีละ 200 ล้านจำนวน 3 ปี รวม600 ล้าน แลกกับ 4 พันล้าน ก็ต้องถามว่าคุ้มหรือไม่

"จะมาบอกว่าปรับลดกำลังคนอย่างเดียวพูดง่าย แต่ต้องดูขวัญกำลังใจด้วยและเพื่อให้รวดเร็วอันนี้คือแนวทางและก็เน้นกำลังพลที่มียศสูงให้มีทางระบายออกไปแล้วเราก็ปิดตำแหน่ง"

พลเอก สนิธชนก ยังชี้แจงถึงสวัสดิการเชิงธุรกิจกองทัพ ว่า อะไรที่ เป็นสวัสดิการทหารทั้งสิ้น ถ้าเข้าข่ายสวัสดิการเชิงธุรกิจทั้งสิ้น เพราะมีข้อกำหนด เช่น พื้นที่อยู่ใกล้ถนน ติดถนน เข้าซอยหลักระยะเท่าไหร่ ตามระเบียบของกระทรวงการคลังและกรมธนารักษ์และเป็นนโยบายต้องทำเป็นสวัสดิการเชิงธุรกิจ นำเงินส่งกระทรวงการคลัง ยืนยันว่ากำลังทำและมีที่ทำเสร็จไปแล้วในหลายส่วนก็ต้องทำให้หมด ซึ่งจะต้องทำร่วมกับกรมธนารักษ์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง