'ผศ.ดร.อานนท์' ออกบทความว่าด้วยอภิสิทธิ์ฐานันดรที่ 4-บทบาท กสม.

15 ก.พ.2567 - ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์เฟซบุ๊กในรูปบทความเรื่อง “อภิสิทธิ์ในการทำผิดกฎหมายของฐานันดรสี่ที่สนับสนุนโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” ระบุว่า ผมอ่านแถลงการณ์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วยความรู้สึกไม่เห็นด้วยหลายอย่าง

ประการแรก เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหลักฐานชัดเจนว่านักข่าวสองคนที่ถูกจับกุมเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดจริงๆ คือมีส่วนร่วมในการพ่นสีกำแพงวัดพระแก้ว เพราะฉะนั้นนักข่าวนั้นทำผิดกฎหมายจริงๆ ครับ และนักข่าวก็เป็นประชาชนที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ไม่ใช่อยู่เหนือกฎหมาย

ประการสอง เสรีภาพของสื่อ ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ไม่ใช่จะมาอ้างเสรีภาพของสื่อเป็นอภิสิทธิ์ชนฐานันดรที่ 4 แล้วจะอยู่เหนือกฎหมายจะกระทำผิดอะไรก็ได้

ประการสาม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ควรมีความรู้เรื่องกฎหมายบ้าง และไม่ควรส่งเสริมให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพในการทำผิดกฎหมายเช่นนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกำลังทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ชี้นำสังคมในทางที่ไม่ถูกต้อง

ประการสี่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก่อนแถลงอะไรควรศึกษาข้อมูลรอบด้าน เช่น ควรต้องขอหลักฐานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติเองก็หาได้ออกหมายจับได้เองแต่เป็นอำนาจของศาล ศาลพิจารณาหลักฐานที่พนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งชาตินำเสนอขอออกหมายจับ ดังนั้นการที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแถลงเช่นนี้ อาจจะเป็นการละเมิดอำนาจศาลได้ และในขณะเดียวกันก็ไปแทรกแซงการทำงานของศาลที่ควรเป็นอิสระอย่างที่ไม่เป็นการสมควร

ประการห้า ประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interest) ในการออกแถลงการณ์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

หนึ่งในนักข่าวถูกจับกุมใช้นามสกุลเมฆโสภณ และเป็นหลานชายของนักข่าวอาวุโส พี่รุ่งมณี เมฆโสภณ พี่รุ่งเองก็ได้โพสต์ Facebook ให้กำลังใจหลานชายและค่อนข้างเข้าข้างหลานชาย ผมว่าในฐานะที่พี่รุ่งเป็นสื่อมวลชนอาวุโสก็ควรต้องศึกษาหลักฐานของทาง สตช. บ้าง และควรต้องระวังท่าทีของสื่อมวลชนอาวุโส เพราะสื่อเองก็ต้องไม่ทำผิดกฎหมาย

ปัญหาที่สังคมอาจจะถามได้คือ พี่รุ่ง เป็นภรรยาของพี่วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

คำถามแรก คือก่อนออกแถลงการณ์ฉบับนี้ พี่วสันต์ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วยหรือไม่ ได้เดินออกจากที่ประชุมหรือไม่

หากไม่ได้เดินออก สังคมก็อาจจะตั้งคำถามได้ว่าพี่วสันต์ลงมติให้ออกแถลงการณ์เพื่อช่วยปกป้องหลานชายของภรรยาตัวเองหรือไม่ อันนี้ก็จะเป็นเรื่องไม่งามเพราะจะกลายเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน

คำถามสองคือ พี่วสันต์ได้ลงมติโดยอิสระจริงๆ หรือไม่ได้เป็นคนเสนอให้ออกแถลงการณ์ฉบับนี้ซึ่งมีส่วนสนับสนุนหลานชายของพี่รุ่งผู้เป็นภรรยาหรือไม่? อันนี้พิสูจนได้ยากครับ แต่ก็ไม่งามเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในกรณีนี้การออกแถลงการณ์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนนั้นออกมาภายหลังการแสดงท่าทีเข้าข้างและให้กำลังใจของพี่รุ่ง คำถามที่สังคมไทยอาจจะถามได้คือภรรยามีอิทธิพลหรือบังคับบัญชาสามีได้หรือไม่

คำถามสามคือ หากพี่วสันต์ไม่ได้เข้าประชุม ไม่ได้ลงมติ ไม่ได้นำเสนอให้ออกแถลงการณ์ฉบับนี้ แต่สังคมก็อาจจะถามได้อีกว่า พี่วสันต์ได้ lobby กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติท่านอื่นๆ หรือไม่ กรรมการสิทธิมนุษยชนท่านอื่นๆ เกรงใจบารมีพี่วสันต์จนต้องออกแถลงการณ์ปกป้องนักข่าวหลานชายของภรรยาพี่วสันต์ใช่หรือไม่

ผมเองก็เห็นใจพี่วสันต์เป็นอย่างยิ่งนะครับ ว่าคงตกอยู่ในที่นั่งลำบากเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าเป็นผม ผมก็คงต้องเดินออกจากที่ประชุมคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผมก็จะต้องขอให้บันทึกในรายงานการประชุมว่า ผมต้องขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติคนอื่นๆ ทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระ ไม่ต้องเกรงใจใดๆ ผมเลยแม้แต่น้อย

ประการที่หก คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่ควรเน้นไปที่สิทธิเสรีภาพอย่างเดียว แต่ต้องอธิบายให้สังคมได้เข้าใจด้วยว่า การใช้สิทธิและเสรีภาพต้องไม่ผิดกฎหมาย ต้องไม่เป็นภัยความมั่นคงแห่งรัฐ ต้องไม่ผิดศีลธรรมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม และต้องไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องตระหนักและให้ความสำคัญต่อการจำกัดสิทธิและเสรีภาพด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้จำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันโดยสงบของสังคม ทำให้สังคมไม่แตกหักวุ่นวาย ซึ่งรัฐธรรมนูญของทุกประเทศทั่วโลกก็จำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั้งนั้นเพื่อความอยู่ดีของส่วนรวม คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรมีบทบาทในการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเท่าที่จะไม่เลยเถิดเกินไปกว่าความจำเป็นที่สังคมต้องจำกัดสิทธิและเสรีภาพ ไม่สนับสนุนการใช้สิทธิและเสรีภาพจนไร้ขอบฟ้า บ้านเมืองจะกลายเป็นอนาธิปไตย (Anarchy) อันจะเกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองขึ้นมาได้

ประการที่เจ็ด คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต้องมองโลกด้วยความเป็นจริง ว่าในสังคมมีทั้งคนดีและคนเลว ไม่ใช่จะโลกสวยไปทั้งหมด การสนับสนุนสิทธิและเสรีภาพให้กับคนที่ทำไม่ถูกต้องเท่ากับเป็นการให้ท้ายโจรและสนับสนุนให้สังคมทำผิดมากๆ ตามๆ กัน เพราะเป็นสิทธิและเสรีภาพ

อยากฝากให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติลองทบทวนบทบาทและท่าทีของตนเองดูบ้างครับจะขอขอบพระคุณมาก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โปรดฟังอีกครั้ง! สายลมเปลี่ยนแปลงกำลังตั้งเค้าทะมึน

ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์สาขาวิชาพลเมืองวิทยาการข้อมูล สาขาวิชาสถิติศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์

'นิด้าโพล' ชี้ คนไทย ไม่เห็นด้วยนโยบาย ยาบ้า 5 เม็ด

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยาบ้า 5 เม็ด กับผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-20 มีนาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้

กสม.ชี้ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อจ.นครปฐม ก่อมลพิษทางกลิ่น จี้อบต. กำกับแก้ไขปัญหา

กสม. ตรวจสอบกรณีฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อจ.นครปฐม ก่อมลพิษทางกลิ่น ส่งผลกระทบต่อสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชน แนะ อบต. กำกับแก้ไขปัญหา

‘นิด้าโพล’ เผยข้าราชการเบื่อขั้นตอนปฏิบัติยุ่งยาก แต่ไม่มีแผนลาออก

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ เบื่ออะไร?”

เพื่อไทยหนาว นิด้าโพล ชี้ประชาชน หนุนก้าวไกล ยก 'พิธา' เหมาะนั่งนายกฯ

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 1/2567” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป