คปท. ยื่น ปปช. สอบ 'เศรษฐา' ผิดจริยธรรมร้ายแรง พบทักษิณ-ตั้งพิชิตเป็นรมต.

8 พ.ค.2567 - เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) นำโดยนายพิชิต ไชยมงคล นายนัสเซอร์ ยีหมะ นายสอและ กูมุดา ตัวแทนคปท. นายใจเพชรกล้าจน นายอานนท์ กลิ่นแก้ว ตัวแทนกองทัพธรรม และตัวแทนศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) ยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. ขอให้ดำเนินการไต่สวนสอบสวน นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กระทำผิดจริยธรรมร้ายแรง และเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย และให้หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี กรณีเดินทางไปเยี่ยมนักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่24 ก.พ.67 และการเสนอชื่อแต่งตั้ง นายพิชิต ชื่นบาน ให้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

หนังสือร้องเรียนของ คปท. ระบุว่า ด้วยปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้กระทำผิดและฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง ตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2571 ดังนี้ 1.เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 12.20 น.ได้กระทำการให้เกิดการเสื่อมเสียเกียรติของการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยใช้รถยนต์ประจำตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี คือรถยนต์ประจำตำแหน่งคันใหม่ ยี่ห้อ Lexus LM 350h แบบ 4 ที่นั่ง ป้ายทะเบียน สร 30 กรุงเทพมหานคร อันเป็นรถยนต์ประจำตำแหน่งคันใหม่ที่กองยานพาหนะจัดหา และเพิ่งส่งมอบไปยังทำเนียบรัฐบาลตอนเช้าของวันดังกล่าว ใช้เดินทางไปพบ นักโทษเด็ดขาดชายทักษิณ ชินวัตร ที่บ้านพักส่วนตัวของนักโทษเด็ดขาดชายทักษิณ ชินวัตร โดยการใช้รถดังกล่าวเป็นการใช้รถในทางส่วนตัวไม่ใช่ภาระกิจของนายกรัฐมนตรีที่เป็นการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจที่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ แต่เป็นการใช้รถยนต์ในการเดินทางเพื่อภารกิจส่วนตัวโดยแท้ ไม่เกิดประโยชน์แก่ทางราชการ อันเป็นการไม่ถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน ใช้ตําแหน่งหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เป็นการกระทําการใดที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี และไม่ดูแลรักษาแล้วยังใช้ทรัพย์สินของทางราชการให้สิ้นเปลืองโดยไม่จําเป็น ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบและระบบคุณธรรม โดยเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) กองทัพธรรม ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน(ศปปส.) และประชาชน ได้ร้องเอาผิดนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ไว้แล้ว

และเมื่อระหว่างวันที่ 27 เมษายน 2567 ถึง 28 เมษายน 2568 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้เสนอชื่อแต่งตั้ง นายพิชิตชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายก โดยที่นายพิชิต ชื่นบาน ไม่มีคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นบุคคลซึ่งเคยถูกสภาทนายความถอดชื่อออกจากทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพทนายความเป็นเวลา 5 ปี เพราะเคยถูกศาลฎีกาสั่งจำคุก 6 เดือน โดยไม่รอลงอาญา ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2551 กรณีนำถุงขนมใส่เงินสดจำนวน 2,000,000 บาท(สองล้านบาทถ้วน) ไปมอบให้เจ้าหน้าที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระหว่างการพิจารณาคดีที่ดินรัชดาฯ ของนักโทษเด็ดขาดชายทักษิณ ชินวัตร ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4599/2551 ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าเป็นการกระทำที่อุกอาจ ท้าทายและเกิดขึ้นที่ศาลฎีกา อันเป็นการชี้ชัดว่า นายพิชิต ชื่นบาน ไม่ได้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ เป็นบุคคลซึ่งเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน โดยถูกจำคุก 6 เดือน ไม่รอลงอาญา โทษฐานละเมิดศาล พฤติการณ์กระทบกระเทือนต่อความเชื่อมั่นในศาลยุติธรรม การที่นายกรัฐมนตรีเสนอชื่อนายพิชิต ชื่นบาน ให้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งๆ ที่ทราบดีอยู่แล้วว่า นายพิชิตชื่นบาน ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 160 (4) (5) (6) และ (7) นั้น จึงเป็นการกระทำการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ.2561 โดยนายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อการเสนอบุคคลซึ่งไม่มีคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี ถือว่าเป็นผู้กระทำการฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรงเสียเอง โดยเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2567 เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) กองทัพธรรม ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน(ศปปส.) และประชาชน ได้ร้องต่อคณะกรรมการเลือกตั้งเพื่อให้ตรวจสอบคุณบัติของนายพิชิต ชื่นบาน ไว้ต่อคณะกรรมการเลือกตั้งแล้ว

นอกจากนี้ การแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรี นั้น ได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า เป็นการแต่งตั้งเพื่อตอบแทนบุญคุณที่นายพิชิตชื่นบาน เคยช่วยเหลือ ต่อนักโทษเด็ดขาดชายทักษิณ ชินวัตร ในอดีตที่ผ่านมา ทั้งการแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรี ก็ไม่ได้เกิดจากความคิดของนายเศรษฐา ทวีสิน แต่เป็นการครอบงำชี้นำตามความต้องการของนักโทษเด็ดขาดชายทักษิณ ชินวัตร ที่นายเศรษฐา ทวีสิน ต้องปฏิบัติตามในสิ่งที่นักโทษชายเด็ดขาดชายทักษิณ ชินวัตร ร้องขอโดยไม่อิดเอือน หรือคัดค้านได้

และการที่นายเศรษฐา ทวีสิน ในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้ให้สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สอบถามคุณสมบัติการเป็น รัฐมนตรีของนายพิชิต ชื่นบาน ไปยังสำนักงานกฤษฎีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 160 (6)และ(7) เป็นการเฉพาะนั้น ก็เป็นการเลี่ยงรัฐธรรมนูญทั้งมาตราทั้งที่กฤษฎีกามีข้อแนะนำให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย การยื่นสอบถามเพียง (6) และ (7) ดังกล่าว แล้วเสนอชื่อ นายพิชิต ชื่นบาน ซึ่งเป็นบุคลที่อาจมีคุณสมบัติขัดรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าจึงเป็นการจงใจยื่นรายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นรัฐมนตรี เป็นการจงใจปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดคุณสมบัติของรัฐมนตรีไว้ว่า ต้องมีความประพฤติคุณสมบัติ มีความน่าเชื่อถือต่อสาธารณชน ปฏิบัติหน้าที่ซื่อสัตย์สุจริต ปราศจากเหตุมัวหมอง เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ไม่เสื่อมเสียแก่เกียรติและศักดิ์ศรีของตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งการกระทำดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นตำแหน่งบริหารสูงสุดของประเทศต้องเสื่อมเสีย ด้วยการไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) กองทัพธรรม ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน(ศปปส.) และประชาชน เห็นว่า การกระทำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ดังกล่าวข้างต้น เป็นการกระทำที่ผิด หรือฝ่าฝืนต่อมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ดังนี้ หมวด 1 มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นอุดมการณ์ ข้อ 7 กำหนดว่า “ต้องถือผลประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน” ข้อ 8 กำหนดว่า “ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเพื่อตนเองหรือผู้อื่นหรือมีพฤติการณ์ที่รู้เห็นหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตําแหน่งหน้าที่ของตนแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ” ข้อ 9 กำหนดว่า “ต้องไม่ขอไม่เรียกไม่รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดในประการที่อาจทําให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่”

หมวด 2 มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลัก

ข้อ 11 กำหนดว่า “ไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนต้นกับประโยชน์ส่วนรวม ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ข้อ 17 กำหนดว่า “ไม่กระทําการใดที่ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติศักดิ์ของการดํารงตําแหน่ง”

และหมวด 3 จริยธรรมทั่วไป ข้อ 24 กำหนดว่า “ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างประหยัดคุ้มค่าโดยระมัดระวังมิให้เสียหายหรือสิ้นเปลืองโดยไม่จําเป็น” ข้อ 26 กำหนดว่า “ปฏิบัติ กํากับดูแลหรือบังคับบัญชาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดําเนินการอื่น ให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบและระบบคุณธรรมรวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความสามัคคีในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม”

ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ข้างต้น จะเห็นได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในหมวด 1 หมวด 2 และหมวด 3 ข้างต้น ที่มีลักษณะร้ายแรงตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561

เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) กองทัพธรรม ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน(ศปปส.) และประชาชน จึงขอให้ท่านดำเนินการไต่สวนสอบสวนและมีความเห็นว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี การกระทำผิดจริยธรรมร้ายแรง และให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัยต่อไป พร้อมดำเนินการร้องขอเพื่อขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่จนว่าศาลฎีกาจะพิพากษา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เศรษฐา-พิชิต หากแพ้คดี ครม.ไปหมด-เปลี่ยนตัวนายกฯ!

ศาลรัฐธรรมนูญ ในยุคปัจจุบันที่มี ศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ มี 2 คำร้อง คดีการเมืองสำคัญ ที่เข้าสู่การพิจารณาคดีของศาล รธน.ที่ผลคำวินิจฉัยจะมีผลทางการเมืองตามมาไม่น้อย โดยเฉพาะหากผลคำตัดสิน ไม่เป็นคุณกับฝ่ายผู้ถูกร้อง

‘จตุพร’ ปูดมีความพยายามใช้เงินซื้อ 40 สว. ถอนชื่อ หวังคำร้อง ‘เศรษฐา-พิชิต’ ตกไป

'จตุพร’ แฉมีเงินหว่านลงทุนกับ สว.จำนวนมากตลอดคืน 15-16 พ.ค.หวังกล่อมให้ถอนชื่อคว่ำคำร้องส่งศาล รธน.ปม ‘เศรษฐา-พิชิต’ มีจริยธรรมไม่สุจริตปรากฏชัดเจน เชื่อคุณสมบัติ รมต.ขัด รธน. คาดปฏิบัติการ 40 สว. ลุกลามชี้ชะตาทักษิณ 29 พ.ค.ส่อถูกฟ้อง 112 ขังคุก

รบ.ยันไทยเป็นเจ้าภาพจัด Asian Indoor and Martial Arts Games ยันสร้างรายได้ 1 พันล้าน

รบ.ยันความพร้อมไทยเป็นเจ้าภาพจัด Asian Indoor and Martial Arts Games ครั้งที่ 6 เชื่อมั่นต่อยอดความสำเร็จอุตสาหกรรมกีฬาของไทยสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 1 พันล้านบาท