'ศาลปค.สูงสุด' ชี้ขาดแล้ว รฟม.เดินหน้าเซ็นสัญญา BEM ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

ศาลปกครองศาลปกครองสูงสุด พิพากษายัน รฟม.ดำเนินการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี ครั้งที่ 2 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว จบมหากาพย์คดีประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม

12 มิ.ย.2567 - เวลา 13.15 น. ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้องในคดี บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บีทีเอส) ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และ และ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรณีออกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พ.ค. 2565 (ครั้งที่ 2) และออกเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน โดยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติและหลักเกณฑ์คัดเลือกเอกชนให้แตกต่างจากหลักเกณฑ์เดิม ตามประกาศเชิญชวนฯ ฉบับเดือน ก.ค. 2563 ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นให้ บีทีเอส เสียหาย

โดยศาลให้เหตุผลว่า จากการพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ลงวันที่ 24 พ.ค.2565 ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนก่อนดำเนินการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการที่พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 และประกาศคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง กำหนดไว้แล้ว และไม่มีเหตุผลที่จะรับฟังว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายในลักษณะใด

อีกทั้ง มติของคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และ รฟม. เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2564 ที่เห็นชอบให้ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และการยกเลิกคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯดังกล่าว และเพิกถอนประกาศการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เรื่อง ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และการยกเลิกคัดเลือกเอกชนตามประกาศเชิญชวนฯดังกล่าว ลงวันที่ 3 ก.พ. 2564 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ และ รฟม.มีประกาศดังกล่าว นั้น หรือมติของคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และ รฟม. ในการประชุมแต่ละครั้ง เพื่อพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ ในการคัดเลือกเอกชน เห็นชอบร่างประกาศเชิญชวน และร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน เป็นเพียงขั้นตอนการเตรียมการและดำเนินการ ภายในของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองทั่วไป คือ ประกาศเชิญชวนฉบับที่พิพาทในคดีนี้ ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของ บีทีเอส ที่จะเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากมติของคณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม และ รฟม. ที่เกี่ยวข้องเพื่อออกประกาศเชิญชวนที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง จึงพิพากษายืน เนื่องจากประกาศดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในวันนี้ จะทำให้ รฟม.สามารถเซ็นสัญญากับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีอีเอ็ม) ในฐานะผู้เสนอผลตอบแทนสูงสุดให้กับภาครัฐได้ภายในปีนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

BEM รับรางวัล “องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก” (CALO) 2 ปีต่อเนื่อง

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM รับรางวัล “องค์กรผู้นำด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก” (Climate Action Leading Organization : CALO) ระดับ “ดีเด่น”สาขาบริการ ประจำปี 2567 โดยการตรวจวัด (Measure)

'ศรีสุวรรณ' ปลื้มศาลปกครองให้ชาวบ้านใกล้คลังน้ำมันสุวรรณภูมิ ชนะ 6 คดีรวด

'ศรีสุวรรณ'เผย ศาลปกครองพิพากษาให้วิศวกรจากกรมธุกิจพลังงานใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง สั่งบริษัทเชื้อเพลิงฯ แก้ไขหรือปรับปรุงระงับกลิ่นไอระเหยน้ำมันเชื้อเพลิงจากกิจการบริการน้ำมันให้สนามบินสุวรรณภูมิ ภายใน 120 วัน หากไม่แก้ไขให้เพิกถอนใบอนุญาต

BEM ชวนเปิดจักรวาลมูเตลูตลอด 3 วันกับงาน Mutiverse 27-29 ก.ย.67 ที่ Metro Art สถานีพหลโยธิน

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เนรมิต Metro Art MRT สถานีพหลโยธิน จัดงาน “Mutiverse” เปิดจักรวาลมูเตลู’

'กูรูใหญ่' จับตา ป.ป.ช. อาจจะติดคุกทั้งคณะ หากศาลอาญาทุจริตรับฟ้อง ปม 'วีระ' ฟ้องหลายกระทง

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า