กมธ.งบเพิ่มเติมปี 67 เผยหน่วยงานแจง กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ใช้ทำดิจิทัลวอลเล็ต

“กมธ.งบเพิ่มเติม 67 “เผย หน่วยงานแจง มีการกันเบิกเงินเหลื่อมปีในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตแล้ว แต่ต้องเป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่าย

24 ก.ค.2567 - เมื่อเวลา 14.30 น. ที่รัฐสภา นายธีระชัย แสนแก้ว สส.อุดรธานีพรรคเพื่อไทย ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แถลงผลการประชุมกมธ.ฯว่า การประชุมเมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อตอบข้อซักถาม จำนวน 9 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงบประมาณ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ สมาคมธนาคารไทย โดยที่ประชุมมีการพิจารณาในประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับการกันเงินไว้เบิกเงินเหลื่อมปี ซึ่งโครงการดิจิทัลวอลเล็ต มีกำหนดการเปิดลงทะเบียนและการจ่ายเงินอยู่คนละปีงบประมาณ

นายธีระชัย กล่าวต่อว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงว่า การกันเงินไว้เบิกเงินเหลื่อมปี ต้องเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงิน ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้เงื่อนไขของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต คือ เมื่อมีผู้ประสงค์เข้าร่วมโครงการ จะมีการตรวจสอบสิทธิ์ว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขของโครงการหรือไม่ ทั้งเรื่องของรายได้ อายุ และเงินฝาก เป็นต้น และเมื่อผ่านการตรวจสอบสิทธิ์เรียบร้อยแล้ว จะมีระบบตอบกลับไปยังผู้ประสงค์เข้าร่วมโครงการ ซึ่งถือเป็นการเสนอและการสนองที่ทำให้เกิดนิติสัมพันธ์ขึ้น และมีผลทำให้สามารถดำเนินการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้

นายธีระชัย กล่าวตอว่า ส่วนประเด็นกำหนดรายการยกเว้นสินค้า ของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 23 เม.ย.67 ได้กำหนด จำนวน 15 รายการ และมติของคณะกรรมการนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตล่าสุด ได้เพิ่มสินค้าในรายการยกเว้น อีก 3 รายการ คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือสื่อสาร ดังนั้น สินค้ายกเว้นทั้งหมดมี18 รายการ รวมธุรกิจบริการอีก 1 รายการ รวมเป็น 19 รายการ ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์สามารถเสนอแก้ไขปรับปรุงรายการสินค้ายกเว้น เพิ่มเติมได้

นายธีระชัย กล่าวด้วยว่าที่ประชุมกมธ.ยังมีข้อสังเกตว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ต้องดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบของการดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ในประเด็นผลกระทบของการมีอำนาจเหนือตลาดและการผูกขาด รวมทั้งศึกษาว่าการดำเนินโครงการจะนำไปสู่การเพิ่มสวัสดิการของสังคมหรือผู้บริโภคในส่วนของครัวเรือนอย่างไร ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงมติรายมาตรา ผลปรากฏว่ากมธ.เสียงข้างมาก เห็นชอบตามร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยมีกมธ.บางสงวนความเห็น ในมาตรา 3 มาตรา 4 และมาตรา 5 และนัดประชุมกมธ.ครั้งต่อไปในวันที่ 25 ก.ค.เวลา 13.30 น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'แจกเงินหมื่น' เฟส 3 ไม่ใช้แอปเป๋าตัง กำลังจัดซื้อจัดจ้างพัฒนาระบบ คาดเสร็จ มี.ค.68

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำแอปพลิเคชันที่ใช้ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ เงิน 10,000 บาท เฟส 3 หลัง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกมนตรี

'สนธิญา' ยื่นหลักฐานเพิ่ม ร้องศาลรธน. สั่ง 'อิ๊งค์' หยุดปฏิบัติหน้าที่ แจกเงินหมื่นไม่ตรงปก

นายสนธิญา สวัสดี นำเอกสารหลักฐานไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยรัฐบาลดำเนินโครงการแจกเงินหมื่นแตกต่างจากนโยบายดิจิตอลวอลเล็ต 10,000 บาท

'สุริยะใส' เขย่า 'แจกเงินหมื่น' หอกทิ่มแทง วัดใจจุดเปลี่ยนรัฐบาลแพทองธาร

“สุริยะใส” ชี้จุดสลบใหญ่เรื่องเศรษฐกิจ นโยบายเรือธงอย่างดิจิทัล แจกเงินหมื่นเป็นหอกทิ่มแทง วัดใจจุดเปลี่ยนของรัฐบาลแพทองธาร

'นิพนธ์' ซัดรัฐบาลแจกเงินหมื่น เฟส 2 หวังผลการเมือง ไม่ใช่กระตุ้นเศรษฐกิจ

นายนิพนธ์ บุญญามณี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย-อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตนายก อบจ. พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ เฟส 2 ของรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยมีการแจกเงินสด 10,000 บาท ให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่ลงทะเบียนในระบบและยืนยันตัวตนแล้ว รวมกว่า 4 ล้านคน