9 ธ.ค.2567 - นายสนธิญา สวัสดี นำเอกสารเพิ่มเติมไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีที่รัฐบาลดำเนินโครงการแจกเงินหมื่นแตกต่างจากนโยบายดิจิตอลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงในการเลือกตั้งเมื่อปี 2566 โดยมีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์การแจกและกลุ่มบุคคล ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.ป ว่าด้วยการการเลือกตั้ง ส.ส. 2561 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีหรือไม่ และหากศาลรับเรื่องไว้พิจารณาวินิจฉัย ขอให้สั่งให้น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยุติการปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย
ทั้งนี้ เอกสารที่นายสนธิญานำมายื่นวันนี้เป็นคำร้อง 4 ฉบับที่ได้เคยยื่นต่อกกต.และผู้ตรวจการแผ่นดิน ในช่วงก่อนการเลือกตั้งปี 2566 เพื่อให้ตรวจสอบนโยบายหาเสียงดังกล่าว รวมถึงหนังสือตอบกลับจากผู้ตรวจการแผ่นดินที่นายสนธิญามองว่าทำให้ตนเองสามารถมาใช้สิทธิ์ยื่นคำร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
นายสนธิญา กล่าวว่า เอกสารเพิ่มเติมที่นำมายื่นต่อศาลในวันนี้เป็นหลักฐานที่ทำให้ศาลเห็นว่า นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท รัฐบาลไม่ได้ทำแม้แต่ประการเดียว การทำที่ผ่านมาทำในรูปแบบของการแจกเงินโดยใช้รูปแบบเดียวกับรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งขณะนั้นการแจกเงินทำเพราะเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แต่ขณะนี้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นกลับคืนขึ้นมาแล้ว ตนจึงไม่เห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินในโครงการดังกล่าว ที่สำคัญกลุ่มคนตั้งแต่อายุ 16 ปีขึ้นไปที่พรรคเพื่อไทยเคยประกาศว่าจะได้รับเงินตามนโยบายดิจิตอล 10,000 บาทนั้น วันนี้คนกลุ่มนี้ผิดหวังไปแล้ว 40 ล้านคนจากจำนวนคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 56 ล้านคน และการแจกของรัฐบาลไม่ตรงปก จึงขัดต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และรัฐธรรมนูญมาตรา 258 พ.ร.ป ว่าด้วยการการเลือกตั้งส.ส. 2561
"ผู้ตรวจการแผ่นดินยังไม่ชัดเจนว่าประเด็นนี้ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะรัฐบาลแจกเงินหมื่นและแจกให้เฉพาะผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แต่นโยบายที่หาเสียงไว้คือจะแจกเป็นเงินดิจิทัลผ่านระบบออนไลน์และให้ประชาชนอายุ 16 ปีขึ้นไป ใช้จ่ายในรัศมี 4 กิโลเมตร เขาก็กำลังพยายามสืบเสาะหาเอกสารแต่เนื่องจากมันจะเกินระยะเวลา 60 วันที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะทำให้ผู้ร้องเสียโอกาสในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ทางผู้ตรวจการแผ่นดินจึงมีหนังสือแจ้งกลับมาให้ผมยื่นคำร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญเลย"
นายสนธิญา ยังกล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้กกต. ระบุว่าได้มีการสอบถามพรรคเพื่อไทยไปแล้วและเห็นว่าพรรคเพื่อไทยทำถูกต้อง แต่ตนอยากถามกลับไปว่ากรณีที่น.ส.แพทองธาร ออกมายืนยันว่าจะทำดิจิทัลวอลเล็ตต่อไปแล้วทำไม่ได้ กกต.จะรับผิดชอบอย่างไร ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพรรคเพื่อไทยกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ กกต.ก็ต้องรับผิดชอบด้วย เพราะไม่เช่นนั้นในการเลือกตั้งครั้งหน้า แต่ละพรรคก็จะแข่งกันประกาศนโยบายเกินจริงไว้ก่อน แต่เมื่อถึงเวลาแล้วก็ทำให้เป็นจริงไม่ได้ สุดท้ายประชาชนก็เบื่อหน่ายการเมือง เพราะนักการเมืองโกหก
"ผมไปดูข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าช่วงอายุของคนที่มากที่สุดในขณะนี้คือ 20-45 ปี มีจำนวนเกือบ 35 ล้านคน ซึ่งคนกลุ่มนี้นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ไม่ได้ให้เขาเลย ไม่รวมคนอายุ 16-24 ปี ซึ่งมี 7 ล้านคน ถ้ารวมคนกลุ่มนี้แล้ว จะอยู่ที่ 37 - 40 ล้านคน คนกลุ่มนี้ไม่ได้เงินตามที่นโยบายของพรรคเพื่อไทยประกาศเท่ากับว่าหลอกเขา ถามว่าคนเหล่านี้ได้เลือกพรรคเพื่อไทยไปแล้วทำอย่างไร คนที่ได้เงินไปแล้ว ผมแสดงความยินดีด้วย แต่คนที่ไม่ได้ รัฐหรือพรรคเพื่อไทยจะชดเชยอย่างไร"นายสนธิญา กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อยู่ก็อึดอัด จะไปก็ไปเถอะ! วรชัยยุส่งอนุทิน ย้ำรัฐบาลฝืนร่วมทางไปก็ไร้ค่า
วรชัย เหมะ อดีต สส.เพื่อไทย ในนามคนร่วมขบวนทักษิณประชดแรง! ชี้ถ้า “อนุทิน” จะไปเป็นฝ่ายค้านก็ไม่เห็นแปลก อยู่ก็อึดอัด อยู่ก็ขัดกันทุกวัน ซัดรัฐบาลทำงานคนละทาง
'เด็จพี่' โผล่โต้เสียงวิจารณ์คดีทักษิณ มองกลุ่มขาประจำชี้นำสังคมเกินเหตุ
“พร้อมพงศ์” โต้กลุ่มวิจารณ์คดีทักษิณ ชี้ใช้ความเห็นส่วนตัวสร้างกระแสก่อนศาลพิพากษา ย้ำกระบวนการยังอยู่ระหว่างไต่สวนพยาน แนะอย่าเร่งสรุปผลคดีล่วงหน้า
'อนุสรณ์' ไล่พรรคร่วมฯไปฝ่ายค้าน 'พลพีร์' ตอกกลับ 'แมลงหวี่' น่ารำคาญ
“อนุสรณ์” จากเพื่อไทย ตะเพิดพรรคร่วมฯ หากอยู่แล้วไม่มีความสุขให้ไปเป็นฝ่ายค้าน ด้าน “พลพีร์” ภูมิใจไทย ตอกกลับเปรียบเป็นแมลงหวี่น่ารำคาญ ซัดนักการเมืองควรหันไปใส่ใจปากท้องประชาชน ไม่ใช่มัวแต่โฟกัสเก้าอี้รัฐมนตรี
ศาลสั่งอสส.แจงปมคดีฮั้วสว.
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง "สำรอง" ปมขอวินิจฉัยสมาชิกภาพ "สว.ศตวรรษ"
ศาลรธน. ไม่รับคำร้อง สว.สำรอง ขอวินิจฉัยสมาชิกภาพ สว. 'ศตวรรษ' และคณะ สิ้นสุดลง
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันไม่รับพิจารณาคำร้อง พลตำรวจโทคำรบ ปัญญาแก้ว และคณะ กรณีกล่าวอ้างเป็นคณะบุคคลตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561 มาตรา 41 มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาวินิจฉัย
ศาลรธน. แจ้งอัยการสูงสุด จัดส่งข้อมูลคืบหน้ากรณี 'ณฐพร' ร้องฮั้วเลือกสว. ภายใน 15 วัน
ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการพิจารณาคำร้องที่นายณฐพร โตประยูร (ผู้ร้อง) ยื่นขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49โดยอ้างว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)ผู้ถูกร้องที่ 1 และเลขาธิการกกต.ผู้ถูกร้องที่ 2จัดการเลือกสมาชิกวุฒิสภา