รัฐบาลทหารเมียนมา เล็งเปิดพรมแดนประเทศรับนักท่องเที่ยวอีกครั้ง

รัฐบาลทหารเมียนมา จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าประเทศ สามารถยื่นขอวีซ่าได้อีกครั้ง หลังจากหยุดพักไปกว่า 2 ปี แต่กลุ่มนักเคลื่อนไหวต่างเรียกร้องนักท่องเที่ยวต่างชาติให้พิจารณาดีๆ

แฟ้มภาพ ผู้คนรวมตัวสวดมนต์ที่เจดีย์ชเวดากองในย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2563 (Photo by Mladen ANTONOV / AFP)

เอเอฟพีรายงานจากกรุงย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565 กล่าวว่า เมียนมาปิดพรมแดนประเทศสำหรับการท่องเที่ยวตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการระบาดไวรัสโคโรนา อีกทั้งยังโดดเดี่ยวตัวเองจากเหตุกองทัพทหารโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนของอองซานซูจีในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ทำให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่และการปราบปรามผู้เห็นต่างอย่างเหี้ยมโหดโดยรัฐบาลทหารในปัจจุบัน

สื่อท้องถิ่นรายงานว่า หลังจากสถานการณ์โรคระบาดดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความสงบภายในประเทศที่เริ่มคงที่ รัฐบาลทหารเมียนมาจึงเห็นควรให้มีการเปิดประเทศเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยวเป็นลำดับแรก โดยการยื่นขอวีซ่าอิเลคทรอนิคส์สำหรับนักท่องเที่ยว จะสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม เป็นต้นไป แต่ยังไม่มีกำหนดวันที่แน่ชัดว่านักท่องเที่ยวกลุ่มแรกจะสามารถเข้าประเทศได้เมื่อใด

อย่างไรก็ดี บรรดากลุ่มนักเคลื่อนไหวต่างออกมาเตือนว่า กองทัพทหารมีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่มากมายในระบบเศรษฐกิจของเมียนมา เช่น เหมือง, ธนาคาร, ปิโตรเลียม, เกษตรกรรม และการท่องเที่ยว ซึ่งสื่อได้ว่า เม็ดเงินที่จะได้รับจากนักท่องเที่ยว มีแนวโน้มว่าจะวิ่งเข้าสู่กระเป๋าเงินของรัฐบาลเผด็จการทหารเช่นกัน

“แม้ว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะหลีกเลี่ยงการใช้บริการโรงแรมและการคมนาคมขนส่งที่เป็นของกองทัพทหารเมียนมาและพรรคพวก แต่พวกเขาก็ยังให้เงินทุนแก่รัฐบาลทหารผ่านค่าธรรมเนียมวีซ่า, การซื้อประกัน และภาษี ดังนั้นเราจึงขอเรียกร้องให้นักท่องเที่ยวพิจารณาให้ดีหากจะเดินทางมาหาความสุขในประเทศแห่งนี้” กลุ่มนักเคลื่อนไหวกล่าว

ภายหลังการปกครองโดยทหารมานานหลายทศวรรษ หลังจากนั้น เมียนมาเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในปี 2554 ก่อนเปิดประเทศอย่างเป็นทางการเพื่อรับนักท่องเที่ยว และกลายเป็นที่นิยมในหมู่นักเดินทางที่แสวงหาจุดหมายปลายทางที่แปลกใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แต่ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 โดยเมียนมามีสถิติผู้ติดเชื้อสูงสุด 40,000 รายต่อวันในปีที่แล้ว และมีผู้เสียชีวิตรวมเกือบ 20,000 ราย

การปะทะกันระหว่างกลุ่มต่อต้านรัฐประหารและกองกำลังรักษาความมั่นคงภายหลังการยึดอำนาจของกองทัพทหาร ทั้งในเมืองหลักอย่างย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,800 คน และกว่า 13,000 คนถูกจับกุมตั้งแต่เกิดรัฐประหาร เป็นสาเหตุอีกประการที่บั่นทอนเศรษฐกิจในประเทศด้วยเช่นกัน โดยบริษัทต่างชาติถอนธุรกิจออกจากประเทศไปจำนวนมาก

ด้านเที่ยวบินพาณิชย์สำหรับนักเดินทางเพื่อธุรกิจ กลับมาให้บริการแล้วในเดือนเมษายน โดยผู้เดินทางเข้าประเทศต้องเข้ารับการตรวจโควิด-19 เมื่อเดินทางมาถึง แต่ไม่ต้องกักตัวอีกต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

‘เศรษฐา’ ลงพื้นที่ชายแดนแม่สอด 23 เม.ย. เกาะติดสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

‘สุทิน’ เผยสถานการณ์สู้รบเมียนมาเข้มข้นขึ้น คนหนีภัยมาไทย ยอมรับกระทบเราแต่ไม่มีอะไรน่าวิตก ขอสบายใจกองทัพปกป้องอธิไตย-ดูแลประชาชนเต็มที่

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา

นายกฯเศรษฐา กังวลสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ใช้เวลาช่วงวันหยุดติดตามงาน รวมถึงสถานการณ์สู้รบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา พร้อมทวิตข้อความผ่าน x ว่า “ผมติดตาม