น้ำท่วมในแอฟริกาใต้ เสียชีวิตพุ่ง 253 ราย ฝนตกหนักไม่หยุด

รายงานล่าสุด พบผู้เสียชีวิตกว่า 253 รายจากเหตุน้ำท่วมและดินถล่ม หลังจากพายุฝนกระหน่ำเมืองเดอร์บัน เมืองท่าของแอฟริกาใต้ และบริเวณโดยรอบจังหวัดควาซูลู-นาทาล

สภาพบ้านที่เสียหายอย่างรุนแรงและถนนยุบ หลังพายุพัดและฝนตกหนักในเมืองเดอร์บัน เมื่อวันที่ 12 เมษายน มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 253 รายจากน้ำท่วมและดินโคลนถล่มเมืองและบริเวณใกล้เคียงจังหวัดควาซูลู-นาตาล ของแอฟริกาใต้ (Photo by RAJESH JANTILAL / AFP)

เอเอฟพีรายงานสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในแอฟริกาใต้ เมื่อวันอังคารที่ 12 เมษายน 2565 กล่าวว่า กรมอุตุนิยมวิทยาของแอฟริกาใต้คาดการณ์ว่าฝนจะยังคงตกรุนแรงต่อเนื่องมากขึ้นในคืนวันอังคารและอาจเกิด "น้ำท่วมเป็นวงกว้าง" หลังพายุพัดเข้ากระหน่ำเมืองเดอร์บัน ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดควาซูลู-นาทาล เป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมและดินโคลนถล่ม คร่าชีวิตไปแล้วกว่า 253 ราย

ฝนที่ตกหนักหลายวันทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ สะพานขาด, รถจมน้ำ, บ้านเรือนกว่า 6 พันหลังคาเรือนพังทลาย และโครงสร้างพื้นฐานเสียหายทั่วเมืองเดอร์บัน ทางตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ดินโคลนถล่มทำให้บริการรถไฟทั่วควาซูลู-นาทาลถูกระงับ

บริเวณท่าเรือ พบตู้คอนเทนเนอร์หลายตู้ล้มระเนระนาดเกลื่อนพื้นที่ ขณะที่บางตู้ก็ถูดกระแสน้ำพัดลอยไปตามถนนสายหลักในเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งในประตูสู่ทะเลที่ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ของแอฟริกา

หน่วยงานด้านภัยพิบัติของจังหวัดควาซูลู-นาทาล ขอร้องให้ประชาชนอยู่แต่ในบ้านและสั่งให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำย้ายไปยังที่สูง ขณะที่ปฏิบัติการกู้ภัยซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพ กำลังดำเนินการอพยพผู้คนที่ติดอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งมีรายงานว่าเป็นครูและนักเรียนของโรงเรียนมัธยมเดอร์บัน

เดอร์บันเพิ่งฟื้นตัวจากสถานการณ์จลาจลเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ทั้งกรณีห้างสรรพสินค้าถูกปล้นและโกดังสินค้าถูกเผา ถือเป็นเหตุการณ์ความไม่สงบครั้งรุนแรงที่สุดของแอฟริกาใต้นับตั้งแต่สิ้นสุดการแบ่งแยกสีผิว

ทางตอนใต้ของแอฟริกาใต้เป็นเขตอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของทวีป กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ทั้งฝนตกหนักและน้ำท่วมซ้ำซากที่มีทีท่าว่าจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอุตุฯ ออกประกาศ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ ‘พายุฤดูร้อน’ ช่วง 8-11 เม.ย.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 2 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 8 – 11 เมษายน 2567)

กรมอุตุฯ เตือนรับมือพายุฤดูร้อน ฝนแรกเดือนเมษายน หนักแน่!

กรมอุตุนิยม อัพเดทผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 3-12 เม.ย. 67 init. 2024040212 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) : ช่วง 3-8 เม.ย.67 จะเป็นช่วงที่มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดหลายพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบน