เกาหลีใต้เปิดตัวจรวดอวกาศที่พัฒนาขึ้นเองในประเทศได้สำเร็จเป็นครั้งแรก หลังเคยพยายามเปิดตัวมาก่อนหน้านี้แล้วเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แต่ล้มเหลว
จรวดอวกาศนูรีของเกาหลีใต้ ได้รับการปล่อยตัวจากศูนย์อวกาศนาโรในหมู่บ้านชายฝั่งทางตอนใต้ของเขตโกฮึง เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ถ่ายภาพและเผยแพร่โดยสถาบันวิจัยการบินและอวกาศของเกาหลี (Photo by Handout / Korea Aerospace Research Institute (KARI) / AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2565 กล่าวว่า เกาหลีใต้เปิดตัวยานลำเลียงดาวเทียมเกาหลี II (เคเอสแอลวี II) ซึ่งเป็นจรวดเชื้อเพลิงเหลวขนาด 200 ตันที่มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "นูรี" และได้รับการปล่อยจากฐานปล่อยยานในเขตโกฮึง เวลา 16:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (14.00 น. ตามเวลาประเทศไทย)
“นูรีเสร็จสิ้นการบินตามแผน ตอนนี้วิศวกรกำลังวิเคราะห์ข้อมูลการบิน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีจึงจะเสร็จสมบูรณ์” โอ แทซอก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี และนวัตกรรมของเกาหลีใต้กล่าว
การทดสอบปล่อยจรวดอวกาศของเกาหลีใต้เป็นครั้งที่ 2 เกิดขึ้นหลังจากการทดสอบครั้งแรกล้มเหลวเมื่อ 8 เดือนก่อน จากความพยายามในการนำดาวเทียมจำลองขึ้นสู่วงโคจร
ในครั้งนั้น จรวดทำงานใน 3 ระยะการทดสอบได้ดีในการทดสอบครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ยานพาหนะสามารถบินได้สูงถึง 700 กิโลเมตร และทำการแยกน้ำหนักบรรทุก 1.5 ตันได้สำเร็จ แต่ประสบความล้มเหลวในการนำดาวเทียมจำลองขึ้นสู่วงโคจรเนื่องจากเครื่องยนต์ในระยะที่ 3 หยุดการเผาไหม้เร็วกว่ากำหนด
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ปรากฏว่าขั้นตอนของการเปิดตัวเป็นไปตามแผนที่วางไว้ "นูรีสามารถปล่อยดาวเทียมจำลองได้สำเร็จ" สถานีโทรทัศน์ YTN ของเกาหลีใต้รายงานจากฐานปล่อยยาน
ในการทดสอบเมื่อวันอังคาร นอกจากดาวเทียมจำลองแล้ว นูรียังสามารถปล่อยดาวเทียมตรวจสอบประสิทธิภาพจรวดและดาวเทียมย่อ ทรงลูกบาศก์ 4 ลูก ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยท้องถิ่น 4 แห่งเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการวิจัย ในคราวเดียวกันอีกด้วย
"นูรี" ได้รับการพัฒนามาเป็นเวลากว่า 10 ปี และใช้งบประมาณกว่า 2 ล้านล้านวอน (ประมาณ 55,000 ล้านบาท) มีน้ำหนัก 200 ตันและยาว 47.2 เมตร ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์เชื้อเพลิงเหลวทั้งหมด 6 ตัว
ในทวีปเอเชีย ประเทศจีน, ญี่ปุ่น และอินเดียต่างก็มีโครงการอวกาศขั้นสูง รวมถึงเกาหลีเหนือซึ่งติดอาวุธนิวเคลียร์ ก็เป็นประเทศล่าสุดที่มีความสามารถในการปล่อยดาวเทียมของตนเอง
การเปิดตัวอย่างสำเร็จในวันอังคาร ทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่ 7 ในโลกที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการส่งยานอวกาศที่บรรทุกดาวเทียมมากกว่า 1 ตัน และความสำเร็จล่าสุดนี้อาจทำให้เกาหลีใต้เข้าใกล้เป้าหมายด้านอวกาศมากขึ้น รวมถึงแผนการที่จะลงจอดยานสำรวจบนดวงจันทร์ภายในปี 2573
ทั้งนี้เกาหลีใต้วางแผนที่จะดำเนินการทดสอบจรวดและยานอวกาศ อีก 4 ครั้งภายในปี 2570.
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 21 มิถุนายน 2565 กล่าวว่า เกาหลีใต้เปิดตัวยานลำเลียงดาวเทียมเกาหลี II (เคเอสแอลวี II) ซึ่งเป็นจรวดเชื้อเพลิงเหลวขนาด 200 ตันที่มีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "นูรี" และได้รับการปล่อยจากฐานปล่อยยานในเขตโกฮึง เวลา 16:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (14.00 น. ตามเวลาประเทศไทย)
“นูรีเสร็จสิ้นการบินตามแผน ตอนนี้วิศวกรกำลังวิเคราะห์ข้อมูลการบิน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีจึงจะเสร็จสมบูรณ์” โอ แทซอก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี และนวัตกรรมของเกาหลีใต้กล่าว
การทดสอบปล่อยจรวดอวกาศของเกาหลีใต้เป็นครั้งที่ 2 เกิดขึ้นหลังจากการทดสอบครั้งแรกล้มเหลวเมื่อ 8 เดือนก่อน จากความพยายามในการนำดาวเทียมจำลองขึ้นสู่วงโคจร
ในครั้งนั้น จรวดทำงานใน 3 ระยะการทดสอบได้ดีในการทดสอบครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ยานพาหนะสามารถบินได้สูงถึง 700 กิโลเมตร และทำการแยกน้ำหนักบรรทุก 1.5 ตันได้สำเร็จ แต่ประสบความล้มเหลวในการนำดาวเทียมจำลองขึ้นสู่วงโคจรเนื่องจากเครื่องยนต์ในระยะที่ 3 หยุดการเผาไหม้เร็วกว่ากำหนด
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ปรากฏว่าขั้นตอนของการเปิดตัวเป็นไปตามแผนที่วางไว้ "นูรีสามารถปล่อยดาวเทียมจำลองได้สำเร็จ" สถานีโทรทัศน์ YTN ของเกาหลีใต้รายงานจากฐานปล่อยยาน
ในการทดสอบเมื่อวันอังคาร นอกจากดาวเทียมจำลองแล้ว นูรียังสามารถปล่อยดาวเทียมตรวจสอบประสิทธิภาพจรวดและดาวเทียมย่อ ทรงลูกบาศก์ 4 ลูก ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยท้องถิ่น 4 แห่งเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการวิจัย ในคราวเดียวกันอีกด้วย
"นูรี" ได้รับการพัฒนามาเป็นเวลากว่า 10 ปี และใช้งบประมาณกว่า 2 ล้านล้านวอน (ประมาณ 55,000 ล้านบาท) มีน้ำหนัก 200 ตันและยาว 47.2 เมตร ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์เชื้อเพลิงเหลวทั้งหมด 6 ตัว
ในทวีปเอเชีย ประเทศจีน, ญี่ปุ่น และอินเดียต่างก็มีโครงการอวกาศขั้นสูง รวมถึงเกาหลีเหนือซึ่งติดอาวุธนิวเคลียร์ ก็เป็นประเทศล่าสุดที่มีความสามารถในการปล่อยดาวเทียมของตนเอง
การเปิดตัวอย่างสำเร็จในวันอังคาร ทำให้เกาหลีใต้กลายเป็นประเทศที่ 7 ในโลกที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการส่งยานอวกาศที่บรรทุกดาวเทียมมากกว่า 1 ตัน และความสำเร็จล่าสุดนี้อาจทำให้เกาหลีใต้เข้าใกล้เป้าหมายด้านอวกาศมากขึ้น รวมถึงแผนการที่จะลงจอดยานสำรวจบนดวงจันทร์ภายในปี 2573
ทั้งนี้เกาหลีใต้วางแผนที่จะดำเนินการทดสอบจรวดและยานอวกาศ อีก 4 ครั้งภายในปี 2570.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.ณัฏฐ์-นักกม.มหาชน ชี้ 'กฎอัยการศึก' สส.ไทยไม่สามารถยกเลิกได้ แตกต่างจากเกาหลีใต้
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน เผย กฎอัยการศึกสถานะเป็นพระราชบัญญัติ การยกเลิกในประเทศเกาหลีใต้กระทำโดยมติสภา แตกต่างจากประเทศไทย สส.ตัวแทนประชาชน ไม่สามารถยับยั้งยกเลิกได้
อดีตบิ๊กข่าวกรองยก 'เกาหลีใต้โมเดล' หากไม่อยากมีรัฐประหาร การเมืองต้องสะอาด!
นายนันทิวัฒน์ สามารถอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง ”เกาหลีใต้โมเดล“ ระบุว่าค่ำคืนที่ผ่านมาเกาหลีใต้ประกาศใช้กฏอัยการศึก เหตุผลที่ประธานาธิบดีชี้แจงคือ
‘หมอวรงค์‘ จี้พรรคส้มหยุดโหนเกาหลีใต้
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภีกดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า พรรคประชาชนหยุดโหนเกา
ฮือไล่ปธน.ยุน!วุ่นรมว.กห.ไขก๊อก
พรรคฝ่ายค้านของเกาหลีใต้เคลื่อนไหวถอดถอน "ประธานาธิบดียุน ซ็อกยอล"
'รังสิมันต์' สบช่องโหนแดนกิมจิบอกไทยถ้าประกาศกฎอัยการศึกควรขอสภาก่อน!
'โรม' บอกเรื่องเกาหลีใต้ประกาศกฎอัยการศึก เป็นเรื่องภายในประเทศ มองเทียบไทยถ้าประกาศควรขอความเห็นสภา ชี้หลักการสำคัญทั่วโลก ทหารต้องอยู่ใต้พลเรือน
'เอกนัฏ' ไม่กล้าคอมเมนต์ปมเกาหลีใต้
'เอกนัฏ' ไม่ขอลงความเห็นปมเกาหลีใต้ ประกาศกฎอัยการศึก หวั่นกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ บอก คิดอย่างเดียวทำอย่างไรให้เป็นโอกาสของประเทศไทยมากกว่า