เรือสำรวจจีนเทียบท่าศรีลังกา

เรือสำรวจวิจัยของกองทัพเรือจีนเข้าเทียบท่าเรือฮัมบันโตตาทางใต้ของศรีลังกาเมื่อวันอังคาร ท่าเรือนี้สร้างโดยบริษัทจีนและศรีลังกาให้จีนเช่า 99 ปี ท่ามกลางความกังวลของอินเดียและสหรัฐว่าจีนจะใช้เรือลำนี้เพื่อสอดแนมและการแผ่อิทธิพลมากยิ่งขึ้นของจีนในภูมิภาคนี้

          รอยเตอร์และเอเอฟพีรายงานเมื่อวันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2565 ว่า เรือหยวนหวัง 5 (Yuan Wang 5) เรือสำรวจและวิจัยของกองทัพเรือจีนเข้าเทียบท่าเรือน้ำลึกฮัมบันโตตาทางใต้ของศรีลังกาในวันเดียวกัน ซึ่งท่าเรือนี้สร้างโดยบริษัทจีน โดยที่รัฐบาลศรีลังกาไม่มีเงินจ่ายค่าสร้าง จึงให้จีนเช่าด้วยสัญญา 99 ปี

          การเข้าเทียบท่าเรือของศรีลังกาของเรือกองทัพเรือจีนลำนี้เหมือนเป็นการเติมเชื้อฟืนเข้าใส่กองไฟแห่งความขัดแย้งระหว่างอินเดียกับจีน ทั้ง 2 ชาติต่างเป็นพันธมิตรรายใหญ่ที่ศรีลังกาต้องการความช่วยเหลือเพื่อแก้วิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ อินเดียกลัวว่าจีนจะใช้ท่าเรือแห่งนี้ซึ่งอยู่ใกล้เส้นทางเดินเรือหลักระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป มาใช้เป็นฐานทัพเรือของจีน

          เจ้าหน้าที่ท่าเรือของศรีลังกาเผยว่า เรือหยวนหวัง 5 ได้รับอนุญาตให้เข้าสู่น่านน้ำศรีลังกา โดยมีเงื่อนไขว่าระหว่างเทียบท่าจะไม่ทำการวิจัยใดๆ

          เรือของกองทัพเรือจีนลำนี้มีกำหนดเดิมที่จะเดินทางมาถึงศรีลังกาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ศรีลังกาขอให้จีนเลื่อนการเยือนของเรือลำนี้ออกไปก่อน เนื่องจากอินเดียยื่นคัดค้าน ซึ่งอินเดียและสหรัฐมีความกังวลเกี่ยวกับกิจกรรมของจีนในภูมิภาคนี้ แต่เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา รัฐบาลศรีลังกาแถลงอนุญาตให้เรือลำนี้เข้าเทียบท่าเรือน้ำลึกฮัมบันโตตาได้ โดยเทียบท่าเป็นเวลา 6 วัน

          เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งของศรีลังกาเปิดเผยกับผู้สื่อข่าวที่ท่าเรือฮัมบันโตตาว่า เรือจีนลำนี้เข้ามาเทียบท่าเรือแห่งนี้เพื่อเติมเชื้อเพลิงและเก็บสำรองอาหารและสิ่งของจำเป็นอื่นๆ

          บัณฑลา กุณวรรธนะ โฆษกรัฐบาลศรีลังกาแถลงไม่กี่ชั่วโมงหลังเรือจีนลำนี้เข้าเทียบท่าเรือศรีลังกาว่า ศรีลังกากำลังดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าการเทียบท่าเรือของเรือจีนลำนี้จะไม่ทำให้เกิดความไม่ลงรอยกันกับประเทศที่เป็นมิตรกับศรีลังกา ระบุว่า ก่อนหน้านี้ก็มีเรือจากสหรัฐอเมริกา, อินเดียและประเทศอื่นที่มาเทียบท่าเรือศรีลังกา เราอนุญาตให้เรือเหล่านี้มาศรีลังกาได้เช่นเดียวกับที่อนุญาตให้เรือจีนลำนี้เทียบท่าเรือของเรา 

          นักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ ระบุว่า เรือหยวนหวัง 5 เป็นหนึ่งในเรือที่ใช้ติดตามทางอวกาศรุ่นล่าสุดของกองทัพจีน ใช้ในการติดตามดาวเทียม, การปล่อยจรวดและขีปนาวุธข้ามทวีป ขณะที่สื่ออินเดียรายงานว่า จีนใช้เรือลำนี้ในการสอดแนมด้วย

          กระทรวงกลาโหมสหรัฐระบุว่า เรือหยวนหวังเป็นเรือที่ใช้ในปฏิบัติการของหน่วยสนับสนุนด้านยุทธศาสตร์ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน

          สำหรับท่าเรือน้ำลึกฮัมบันโตตาของศรีลังกา เป็นท่าเรือที่ดำเนินกิจการโดยบริษัทของจีนตั้งแต่ปี 2560 ด้วยสัญญาเช่า 99 ปี มูลค่า 1,120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากรัฐบาลศรีลังกาไม่มีเงินชำระค่าก่อสร้างท่าเรือแห่งนี้ จำนวน 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ.

 

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หนุนภาครัฐ-เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในศรีลังกา

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ย้ำ “ประเทศไทยเปิดแล้ว” พร้อมรับการลงทุน เดินหน้า ส่งเสริมศักยภ

‘เศรษฐา’ ปลื้มผลสำเร็จเยือนศรีลังกา เตรียมดันเอกชน-ปตท. ลงทุนพลังงานสะอาดข้ามชาติ

รัฐบาลนี้ได้ลงนามเป็นครั้งแรก ต้องขอบคุณกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการต่างประเทศที่ทำงานหนักในทุกมิติ  และการเดินทางเยือนศรีลังกา

นายกฯ กล่าวถ้อยแถลง สนับสนุนใช้ประโยชน์จาก FTA ไทย-ศรีลังกาอย่างเต็มที่

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถ้อยแถลงในงาน Sri Lanka – Thailand Business Networking โดยมีนายรานิล วิกรมสิงเห ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา เข้าร่วมงานด้วย

นายกฯ เข้าร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ พร้อมประชุมเต็มคณะ ความร่วมมือไทย-ศรีลังกา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ จากนั้นในเวลา 15.15 น. นายกรัฐมนตรีพบหารือแบบ Four Eyes กับนายรานิล วิกรมสิงเห (H.E. Mr. Ranil Wickremesinghe) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา

‘ภูมิธรรม’ เตรียมลงนาม FTA ไทย – ศรีลังกา หลังปิดดีล FTA ฉบับ 15 สำเร็จ

‘ภูมิธรรม’ เตรียมเดินทางลงนาม FTA ไทย - ศรีลังกา ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา 3 – 4 ก.พ.นี้ หลังปิดดีล FTA ฉบับที่ 15 ของไทย พร้อมจัดทัพผู้ประกอบการไทยกว่า 20 ราย นำ 7 สินค้า 4 บริการศักยภาพ โชว์ในงาน Sri Lanka – Thailand Business Networking เชื่อจะช่วยดันการค้าสองฝ่ายขยายตัว ปักหมุดฐานการลงทุนเชื่อมไทยสู่เอเชียใต้ ตะวันออกลาง และยุโรป ชี้! เป็น FTA ทวิภาคีฉบับแรกของรัฐบาลชุดนี้

นายกฯ เตรียมร่วมวันฉลองประกาศเอกราชศรีลังกา พร้อมหารือทวิภาคี 3-4 ก.พ.นี้

นายกฯ เตรียมร่วมวันฉลองประกาศเอกราชศรีลังกา พร้อมหารือทวิภาคี ปธน. - เป็นสักขีพยานลงนามความตกลงการค้าเสรีร่วมกัน 3 - 4 ก.พ. นี้