มิน อ่อง หล่าย พร้อมเจรจากับซูจี หลังการพิจารณาคดีทั้งหมดเสร็จสิ้น

มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารของเมียนมา ยินดีเจรจากับนางอองซานซูจี เพื่อยุติวิกฤติและความวุ่นวายที่เกิดจากการทำรัฐประหาร แต่การเจรจาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินคดีทั้งหมดของซูจี โดยศาลทหาร

แฟ้มภาพ อองซาน ซูจี (นั่งซ้าย) อดีตผู้นำรัฐบาลพลเรือนเมียนมา เมื่อครั้งถูกคุมขังในระหว่างการขึ้นศาลครั้งแรกในเมืองเนปยีดอ (Photo by Handout / MYANMAR MINISTRY OF INFORMATION / AFP) 

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2565 กล่าวว่า มิน อ่อง หล่าย ผู้นำทหารเมียนมาซึ่งทำการรัฐประหารเมื่อปีที่แล้ว ออกแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ว่า รัฐบาลทหารยินดีเปิดโต๊ะเจรจากับอองซานซูจี หลังเสร็จสิ้นกระบวนการทางกฎหมายทั้งหมดที่มีต่อตัวเธอ

ซูจี วัย 77 ปี ​​ถูกควบคุมตัวไว้ตั้งแต่รัฐบาลพลเรือนของเธอ ถูกโค่นล้มโดยการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปีที่แล้ว หลังเมียนมาเพิ่งกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแค่เพียงไม่นาน

จนถึงตอนนี้ ซูจีถูกศาลทหารพิพากษาจำคุกรวมทุกข้อหาเป็นเวลาทั้งหมด 17 ปี ขณะที่ยังมีข้อหาอื่นๆรออยู่อีกมาก และหากถูกตัดสินว่ามีความผิด ก็จะได้รับโทษจำคุกเพิ่มอีกหลายสิบปี โดยการพิพากษาในศาลทหารแบบปิด ซึ่งนักข่าวถูกห้ามไม่ให้รายงานข่าว,  ทนายความของซูจีถูกสั่งห้ามพูดกับสื่อ และรัฐบาลทหารไม่ได้ระบุว่าการพิจารณาคดีของซูจีจะลากยาวไปเสร็จสิ้นลงเมื่อใด

แม้แต่ความพยายามทางการทูตของสมาคมประชาชาติอาเซียนทั้ง 10 ซึ่งเมียนมาเป็นสมาชิกอยู่ ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งความขัดแย้งในเมียนมาได้ แม้จะเคยเห็นชอบร่วมกันให้ยุติความรุนแรงทุกรูปแบบและเปิดการเจรจาอย่างสร้างสรรค์ แต่รัฐบาลเผด็จการทหารของเมียนมาก็เพิกเฉยมาโดยตลอด

สัปดาห์นี้ โนเอลีน เฮย์เซอร์ ทูตพิเศษแห่งสหประชาชาติ ได้เดินทางเยือนเมียนมาเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ได้รับการแต่งตั้งเมื่อปีก่อน และได้เข้าพบกับมิน อ่อง หล่าย และเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงคนอื่นๆ แต่ถูกปฏิเสธไม่ให้พบกับอองซาน ซูจี.

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2565 กล่าวว่า มิน อ่อง หล่าย ผู้นำทหารเมียนมาซึ่งทำการรัฐประหารเมื่อปีที่แล้ว ออกแถลงการณ์เมื่อวันศุกร์ว่า รัฐบาลทหารยินดีเปิดโต๊ะเจรจากับอองซานซูจี หลังเสร็จสิ้นกระบวนการทางกฎหมายทั้งหมดที่มีต่อตัวเธอ

ซูจี วัย 77 ปี ​​ถูกควบคุมตัวไว้ตั้งแต่รัฐบาลพลเรือนของเธอ ถูกโค่นล้มโดยการรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ปีที่แล้ว หลังเมียนมาเพิ่งกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยแค่เพียงไม่นาน

จนถึงตอนนี้ ซูจีถูกศาลทหารพิพากษาจำคุกรวมทุกข้อหาเป็นเวลาทั้งหมด 17 ปี ขณะที่ยังมีข้อหาอื่นๆรออยู่อีกมาก และหากถูกตัดสินว่ามีความผิด ก็จะได้รับโทษจำคุกเพิ่มอีกหลายสิบปี โดยการพิพากษาในศาลทหารแบบปิด ซึ่งนักข่าวถูกห้ามไม่ให้รายงานข่าว,  ทนายความของซูจีถูกสั่งห้ามพูดกับสื่อ และรัฐบาลทหารไม่ได้ระบุว่าการพิจารณาคดีของซูจีจะลากยาวไปเสร็จสิ้นลงเมื่อใด

แม้แต่ความพยายามทางการทูตของสมาคมประชาชาติอาเซียนทั้ง 10 ซึ่งเมียนมาเป็นสมาชิกอยู่ ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งความขัดแย้งในเมียนมาได้ แม้จะเคยเห็นชอบร่วมกันให้ยุติความรุนแรงทุกรูปแบบและเปิดการเจรจาอย่างสร้างสรรค์ แต่รัฐบาลเผด็จการทหารของเมียนมาก็เพิกเฉยมาโดยตลอด

สัปดาห์นี้ โนเอลีน เฮย์เซอร์ ทูตพิเศษแห่งสหประชาชาติ ได้เดินทางเยือนเมียนมาเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ได้รับการแต่งตั้งเมื่อปีก่อน และได้เข้าพบกับมิน อ่อง หล่าย และเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงคนอื่นๆ แต่ถูกปฏิเสธไม่ให้พบกับอองซาน ซูจี.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เครือข่ายชานมฯ ร้อง กมธ.จี้รัฐบาลเร่งคว่ำบาตรเมียนมา

'เครือข่ายชานมฯ' ร้อง กมธ.ความมั่นคงฯ จี้รัฐบาลสนับสนุนมาตรการคว่ำบาตร-การให้บริการทางการเงินกับเมียนมา ด้าน 'โรม' เผย 2 ส.ค.นี้ เตรียมบุกแบงก์ชาติขอความชัดเจน

'รังสิมันต์-มาริษ'โต้เดือดปมธนาคารไทยมีเอี่ยวช่วยซื้ออาวุธให้รัฐบาลเมียนมา!

'โรม' จี้ถามจุดยืนประเทศ หลังมีแฉธนาคารในไทย เอี่ยวใช้ธุรกรรมการเงินฆ่าชาวเมียนมา ซัด รบ.ต้องชัดเจน ด้าน 'รมว.กต.'โต้ไม่พบหลักฐานธนาคาร-รัฐบาลไทยเข้าไปเอี่ยว รับการคว่ำบาตรเป็นเรื่องยาก

ส่อง“โมเดล”ดับไฟเมียนมา “ทักษิณ”พลิกธุรกิจสีเทาเข้าระบบ

ระดับแกนนำ“พรรคเพื่อไทย”ออกอาการอ้ำอึ้ง ไม่รู้ไม่เห็นกรณี “ทักษิณ ชินวัตร” ไปคุยกับชนกลุ่มน้อยเมียนมา ตั้งแต่ช่วงสงกรานต์เป็นต้นมา แต่สื่อตะวันตกต่างนำเสนอข่าวอย่างครึกโครม

'อองซาน ซูจี' ย้ายจากเรือนจำมากักบริเวณในบ้าน เหตุเสี่ยงเป็นโรคลมแดด

เมียนมาตกอยู่ภายใต้การควบคุมของทหารมาตั้งแต่ปี 2021 และอองซาน ซูจี-อดีตหัวหน้ารัฐบาล เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสั