เยอรมนี, จีน, สเปน และสหราชอาณาจักร เป็นผู้นำในการเดินหน้าด้านพลังงานหมุนเวียน

เยอรมนี, จีน, สเปน และสหราชอาณาจักร เป็นผู้นำในการเดินหน้านโยบายผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียน ทดแทนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

(Photo by CHIP SOMODEVILLA / GETTY IMAGES NORTH AMERICA / Getty Images via AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน 2565 กล่าวว่า ไคลเมท กรุ๊ป (Climate Group) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานร่วมกับธุรกิจและผู้นำรัฐบาลทั่วโลกเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเจาะจงไปยังพลังงานหมุนเวียนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้เปิดเผยรายงานล่าสุดและมีการจัดอันดับประเทศในกลุ่ม G20 (จี20) ที่มีความคืบหน้าด้านการใช้พลังงานหมุนเวียน

รายงานดังกล่าว ซึ่งเผยแพร่ระหว่างสัปดาห์ Climate Week ประจำปี ในกรุงนิวยอร์ก นอกรอบการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เปิดเผยว่า เยอรมนี, จีน, สเปน และสหราชอาณาจักร เป็นผู้นำในการเดินหน้านโยบายผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียน ทดแทนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

ขณะที่ ออสเตรเลีย, อินเดีย, สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น กำลังดำเนินการในทิศทางที่ดีและมีความก้าวหน้า

ด้านประเทศขนาดใหญ่อย่างแคนาดาและบราซิล ยังไม่ดีพอจะเห็นความตั้งใจจริงในการดำเนินการ แม้ว่าจะเริ่มนโยบายการใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนไประดับหนึ่งแล้วก็ตาม ส่วนซาอุดีอาระเบียและรัสเซียรั้งตำแหน่งท้ายของประเทศที่ไม่แสดงความตั้งใจจริงและไม่มีความก้าวหน้าด้านพลังงานหมุนเวียน

ไมค์ เพียซ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์กรฯ กล่าวว่า "สิ่งที่ไคลเมท กรุ๊ป เน้นย้ำมาตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา คือการให้ความสำคัญด้านนโยบายเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน"

เกณฑ์การให้คะแนนพิจารณาจาก พื้นที่ริเริ่มดำเนินการจนสำเร็จสุทธิ, ความทะเยอทะยานไปสู่เป้าหมายด้านการใช้พลังงานหมุนเวียน, สัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในกำลังการผลิตพลังงานทั้งหมดของปี 2564 และการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานทดแทนของปี 2564

สเปนซึ่งได้คะแนนสูงสุดจากเกณฑ์ข้างต้น ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กำหนดนโยบายพลังงานหมุนเวียนที่มีความทะเยอทะยานที่สุดในสหภาพยุโรป โดยการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานใหม่ทั้งหมดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาด้วยพลังงานสีเขียว

พลังงานหมุนเวียนคิดเป็นสัดส่วน 21% ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดของสเปนในปี 2563 ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 20% โดยมีแผนจะเพิ่มเป็น 43% ภายในปี 2573 และ 97% ภายในปี 2593 ซึ่งถ้าไปถึงตัวเลขนั้นจริงๆ สเปนจะถือเป็นประเทศที่ใช้พลังงานหมุนเวียนโดยสมบูรณ์

อินเดียซึ่งได้คะแนนในอันดับที่สี่ของโลกสำหรับกำลังการผลิตไฟฟ้าทดแทน แต่กลับมองไม่เห็นสัญญาณบ่งชี้ความทะเยอทะยานจากรัฐบาลกลาง ซึ่งรายงานระบุว่าต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและการพัฒนาการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานเป็นอุปสรรคสำคัญ

เพื่อให้นโยบายมุ่งสู่เป้าหมายอย่างสำเร็จ ประเทศต่างๆ จะต้องวางโรดแมปที่แข็งแกร่งและดำเนินการแก้ปัญหาทางการเงินเพื่อขับเคลื่อนความเชื่อมั่นของนักลงทุน

"ตอนนี้ยุโรปกำลังเผชิญกับวิกฤตด้านพลังงาน และบรรดาผู้นำรัฐบาลต่างรู้สึกเสียใจที่พวกเขาไม่ได้เริ่มเปลี่ยนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลให้เร็วขึ้นกว่านี้" เพียซกล่าว.

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันอังคารที่ 20 กันยายน 2565 กล่าวว่า ไคลเมท กรุ๊ป (Climate Group) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานร่วมกับธุรกิจและผู้นำรัฐบาลทั่วโลกเพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเจาะจงไปยังพลังงานหมุนเวียนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้เปิดเผยรายงานล่าสุดและมีการจัดอันดับประเทศในกลุ่ม G20 (จี20) ที่มีความคืบหน้าด้านการใช้พลังงานหมุนเวียน

รายงานดังกล่าว ซึ่งเผยแพร่ระหว่างสัปดาห์ Climate Week ประจำปี ในกรุงนิวยอร์ก นอกรอบการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เปิดเผยว่า เยอรมนี, จีน, สเปน และสหราชอาณาจักร เป็นผู้นำในการเดินหน้านโยบายผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียน ทดแทนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

ขณะที่ ออสเตรเลีย, อินเดีย, สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น กำลังดำเนินการในทิศทางที่ดีและมีความก้าวหน้า

ด้านประเทศขนาดใหญ่อย่างแคนาดาและบราซิล ยังไม่ดีพอจะเห็นความตั้งใจจริงในการดำเนินการ แม้ว่าจะเริ่มนโยบายการใช้ไฟฟ้าหมุนเวียนไประดับหนึ่งแล้วก็ตาม ส่วนซาอุดีอาระเบียและรัสเซียรั้งตำแหน่งท้ายของประเทศที่ไม่แสดงความตั้งใจจริงและไม่มีความก้าวหน้าด้านพลังงานหมุนเวียน

ไมค์ เพียซ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายการเปลี่ยนแปลงระบบขององค์กรฯ กล่าวว่า "สิ่งที่ไคลเมท กรุ๊ป เน้นย้ำมาตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา คือการให้ความสำคัญด้านนโยบายเพื่อให้มีการดำเนินการอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียน"

เกณฑ์การให้คะแนนพิจารณาจาก พื้นที่ริเริ่มดำเนินการจนสำเร็จสุทธิ, ความทะเยอทะยานไปสู่เป้าหมายด้านการใช้พลังงานหมุนเวียน, สัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในกำลังการผลิตพลังงานทั้งหมดของปี 2564 และการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานทดแทนของปี 2564

สเปนซึ่งได้คะแนนสูงสุดจากเกณฑ์ข้างต้น ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กำหนดนโยบายพลังงานหมุนเวียนที่มีความทะเยอทะยานที่สุดในสหภาพยุโรป โดยการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานใหม่ทั้งหมดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาด้วยพลังงานสีเขียว

พลังงานหมุนเวียนคิดเป็นสัดส่วน 21% ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายทั้งหมดของสเปนในปี 2563 ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 20% โดยมีแผนจะเพิ่มเป็น 43% ภายในปี 2573 และ 97% ภายในปี 2593 ซึ่งถ้าไปถึงตัวเลขนั้นจริงๆ สเปนจะถือเป็นประเทศที่ใช้พลังงานหมุนเวียนโดยสมบูรณ์

อินเดียซึ่งได้คะแนนในอันดับที่สี่ของโลกสำหรับกำลังการผลิตไฟฟ้าทดแทน แต่กลับมองไม่เห็นสัญญาณบ่งชี้ความทะเยอทะยานจากรัฐบาลกลาง ซึ่งรายงานระบุว่าต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและการพัฒนาการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานเป็นอุปสรรคสำคัญ

เพื่อให้นโยบายมุ่งสู่เป้าหมายอย่างสำเร็จ ประเทศต่างๆ จะต้องวางโรดแมปที่แข็งแกร่งและดำเนินการแก้ปัญหาทางการเงินเพื่อขับเคลื่อนความเชื่อมั่นของนักลงทุน

"ตอนนี้ยุโรปกำลังเผชิญกับวิกฤตด้านพลังงาน และบรรดาผู้นำรัฐบาลต่างรู้สึกเสียใจที่พวกเขาไม่ได้เริ่มเปลี่ยนการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลให้เร็วขึ้นกว่านี้" เพียซกล่าว.

เพิ่มเพื่อน