สหประชาชาติอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่จากรัฐบาลเมียนมาเดินทางไปบังกลาเทศ เพื่อพูดคุยเรื่องการส่งตัวชาวโรฮีนจากลับประเทศ

ครอบครัวชาวโรฮีนจาซึ่งลี้ภัยและพักอาศัยชั่วคราวอยู่ในประเทศบังกลาเทศ ท่ามกลางความหวังว่าจะได้กลับคืนประเทศเมียนมาด้วยความช่วยเหลือของสหประชาชาติ (Photo by AFP)
เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2566 กล่าวว่า หน่วยงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติได้อำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่จากรัฐบาลทหารของเมียนมาเดินทางไปบังกลาเทศในสัปดาห์นี้ เพื่อพูดคุยเรื่องการส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจากลับประเทศ
บังกลาเทศเป็นที่พักอาศัยชั่วคราวของชาวโรฮีนจากว่า 1 ล้านคน โดยส่วนใหญ่หลบหนีออกจากเมียนมาซึ่งมีพรมแดนติดกัน หลังถูกปราบปรามอย่างหนักจากทหารในปี 2560 และเป็นคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การสอบสวนของสหประชาชาติในปัจจุบัน
ทีมงาน 17 คนซึ่งนำโดยเจ้าหน้าที่อาวุโสในกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองของเมียนมา ได้เดินทางถึงเมืองเทคนาฟเพื่อสัมภาษณ์กลุ่มผู้ลี้ภัยที่อาจถูกส่งตัวกลับประเทศ
เทคนาฟเป็นเมืองชายแดนของบังกลาเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศเมียนมา โดยมีเพียงแม่น้ำนาฟกั้นกลาง
โฆษกของหน่วยงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติในเมียนมาบอกกับเอเอฟพีว่า หน่วยงานฯได้อำนวยความสะดวกในการขนส่งเจ้าหน้าที่จำนวนหนึ่งไปยังบังกลาเทศ เพื่อสนับสนุนปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและบรรดาผู้ลี้ภัย
เจ้าหน้าที่อาวุโสของสหประชาชาติในบังกลาเทศกล่าวว่า การขนส่งได้รับการอำนวยความสะดวกจากทั้งหน่วยงานผู้ลี้ภัยฯและโครงการอาหารโลกในเมียนมา ซึ่งจัดหาเรือให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลทหารเดินทางเข้าบังกลาเทศ
ชาวโรฮีนจาในเมียนมาถูกมองว่าเป็นผู้สอดแนมจากบังกลาเทศ และกลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า ชาวโรฮีนจาบางส่วนที่ยังคงอยู่ในเมียนมาถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงการรักษาพยาบาลและการศึกษา และขาดอิสรภาพในการเดินทาง
โฆษกของหน่วยงานผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติกล่าวว่า การสนับสนุนครั้งนี้เกิดขึ้นภายใต้ขอบเขตของบันทึกความเข้าใจที่ไม่มีผลผูกพันซึ่งเมียนมาได้ลงนามในปี 2561 โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการส่งผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจากลับประเทศโดยสมัครใจ, ปลอดภัย, มีศักดิ์ศรี และยั่งยืน แต่ยูเอ็นจะมีบทบาทด้านการสนับสนุนเท่านั้น โดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการพูดคุยในบังกลาเทศ
คณะเจ้าหน้าที่จากเมียนมามีแผนที่จะพูดคุยกับชาวโรฮีนจากว่า 700 คน เพื่อประเมินความเหมาะสมในการเดินทางกลับประเทศ
แผนการส่งกลับประเทศที่ตกลงกันระหว่างเมียนมาและบังกลาเทศในปี 2560 ล้มเหลวในการสร้างความคืบหน้าที่สำคัญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากความกังวลว่าชาวโรฮีนจาจะไม่ปลอดภัยหากพวกเขาเดินทางกลับ
ทั้งนี้ ความคืบหน้าของแผนดังกล่าวหยุดชะงักลงอย่างสิ้นเชิงระหว่างการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา และหลังจากที่ทหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของเมียนมาในปี 2564.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วราวุธ' สรุปผล ร่วมประชุม กมธ.ว่าด้วยสถานภาพสตรี ที่ UN แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หลายประเทศชื่นชม พม.-ขอนำตัวอย่างไปขยายผล
นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยถึงผลการนำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรีสมัยที่ 69 (Commission on the Status of Women) หรือการประชุม CSW 69 ซึ่งปี 2568 เป็นวาระครบรอบ 30 ปี ปฏิญญาปักกิ่ง ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ (UN) นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' ตอก 'ยูเอ็น' จุ้นไม่เข้าเรื่อง เสนอให้ไทยยกเลิกม.112
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และอดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ยูเอ็นอย่าเ .อก มีรายงานลอยๆไม่มีที่มาที่ไป
'ตุรเกีย' ออกโรงเรียกร้องให้ยูเอ็นคว่ำบาตรการส่งอาวุธให้อิสราเอล
กระทรวงการต่างประเทศของตุรเกียแถลงการณ์ว่า ได้ส่งจดหมายถึงสหประชาชาติที่ลงนามโดย 52 ประเทศและสององค์กร