จีนเปิดสอบสวนด้านความมั่นคงต่อไมครอน บริษัทผลิตชิปของสหรัฐฯ

ทางการจีนได้เริ่มดำเนินการสอบสวนบริษัทไมครอน เทคโนโลยี ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปหน่วยความจำชั้นนำของสหรัฐ ด้วยข้ออ้าง 'ปกป้องความมั่นคงของชาติ'

(Photo by STR / AFP)

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566 กล่าวว่า รัฐบาลจีนเริ่มดำเนินการตอบโต้มาตรการจำกัดการส่งออกอุปกรณ์ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของนานาชาติที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นตัวตั้งตัวตี โดยดำเนินการตรวจสอบบริษัทผลิตชิปหน่วยความจำชั้นนำของสหรัฐฯอย่าง ไมครอน เทคโนโลยี (Micron Technology)

กระทรวงต่างประเทศจีนแถลงว่า หน่วยงานควบคุมความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำของจีนจะดำเนินการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายโดย Micron เกี่ยวกับ "ข้อกังวลด้านความมั่นคงของชาติ" 

โดยเหมา หนิง โฆษกกระทรวงฯ แถลงว่า การสืบสวนเป็นมาตรการปกติที่ใช้ในการดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัยเครือข่ายของผลิตภัณฑ์อินเทอร์เน็ตที่ส่งผลกระทบหรืออาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ

"ทั้งบริษัทจีนและบริษัทต่างชาติที่ดำเนินกิจการในจีนต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับของจีน และต้องไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของจีน" เหมา หนิงกล่าว

การดำเนินการของจีนในครั้งนี้ถือเป็นการยกระดับการต่อสู้ที่ดุเดือดระหว่างรัฐบาลปักกิ่งและรัฐบาลวอชิงตันเพื่อชิงอำนาจสูงสุดในด้านเซมิคอนดักเตอร์ ในขณะที่ความสัมพันธ์ทวิภาคีอยู่ในภาวะเสื่อมถอย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทางการสหรัฐฯ พยายามป้องกันไม่ให้เทคโนโลยีชิปขั้นสูงของประเทศถูกส่งออกไปยังจีน โดยได้ออกมาตรการควบคุมแบบกำหนดเป้าหมายต่ออุตสาหกรรมในประเทศในการจำกัดการขายผลิตภัณฑ์ใปยังบางประเทศ และสหรัฐอเมริกายังได้พยายามเกลี้ยกล่อมพันธมิตรสำคัญให้ปฏิบัติตามแบบเดียวกัน

เนเธอร์แลนด์และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีสารกึ่งตัวนำเฉพาะขั้นสูง ได้ประกาศจำกัดการส่งออกผลิตภัณฑ์บางอย่างไปยังประเทศจีน ตามแรงกดดันดังกล่าว

รัฐบาลปักกิ่งได้ออกมาประณามความเคลื่อนไหวเหล่านั้นว่าเป็น "กลยุทธ์กลั่นแกล้งของสหรัฐฯ" และตอกกลับว่าการควบคุมดังกล่าวมีแต่จะเสริมความแข็งแกร่งให้กับการแก้ปัญหาเพื่อให้บรรลุการพึ่งพาตนเองในภาคส่วนนี้ ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะยาวของจีน ซึ่งได้ลงทุนเงินจำนวนมหาศาลในบริษัทเทคโนโลยีชิปในประเทศ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปานปรีย์' แจงปมกักตัวชาวอุยกูร์ 40 คน ยังอยู่ในขั้นตอนกฎหมาย ไม่เกี่ยวเกรงกลัวจีน

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีชาวอุยกูร์ที่ยังอยู่ในสถานกักกันกว่า 40 คน ว่า การเข้าเมืองแบบผิดกฎหมายก็ดำเนินการตามกฎหมายของไทย เข้าใจว่าขั้นตอนนี้ยังอยู่ในกระบวนการของกฎหมาย