นักโทษเยาวชนเยอรมัน 'อ่านหนังสือ' ในคุกมากกว่าเด็กวัยเดียวกันที่ข้างนอก

AFP

เยาวชนในเยอรมนีมักใช้ชีวิตเสรี จนบางครั้งไม่ค่อยสนใจกฎระเบียบ โดยมียาเสพติดและความรุนแรงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ทุกวันนี้เยาวชนอายุระหว่าง 14-23 ปีจำนวน 387 คนต้องถูกควบคุมตัวในเรือนจำเยาวชนเมืองฮาเมิล์น ซึ่งเป็นเรือนจำเยาวชนที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนี

เรือนจำเยาวชนฮาเมิล์นตั้งอยู่กลางทุ่งนาใกล้กับแม่น้ำเวเซอร์ในรัฐนีเดอร์ซัคเซน มันถูกโอบล้อมด้วยกำแพงสูงเสริมด้วยกรงเหล็กและลวดหนาม หน้าต่างทุกบานของอาคารติดกรงเหล็ก และประตูทุกบานถูกปิดล็อกแน่นหนา ที่นี่สามารถรองรับนักโทษเยาวชนได้มากถึง 661 คน แต่จำนวนผู้ถูกคุมขังในฮาเมิล์นมีแนวโน้มลดลง สถิติต่ำสุดคือ 320 คนในช่วงก่อนวิกฤตโรคระบาด และเพิ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกครั้งนับตั้งแต่ปี 2022

“เรามีนักโทษเยาวชนอายุ 14 และ 15 ปีเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2022 แต่ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าเป็นเทรนด์” โวล์ฟกาง คูห์ลมันน์-หัวหน้าผู้คุมเรือนจำฮาเมิล์นกล่าว เวลานี้มีเยาวชนอายุ 14-15 ปีจำนวน 13 คน และเยาวชนอายุ 16 ปีจำนวน 14 คนต้องขังอยู่ที่นี่ รวมอยู่กับนักโทษเยาวชนวัยสูงกว่า และเหตุเพราะมีนักโทษวัยเยาว์เพิ่มมากขึ้น นักจิตวิทยาประจำเรือนจำจำเป็นต้องเฝ้าจับตาเป็นพิเศษ คอยพูดคุย ให้คำปรึกษาแก่พวกเขาเหล่านั้น

โทษจำคุกสูงสุดสำหรับเยาวชนวัยระหว่าง 14-21 ปีในเยอรมนีคือ 10 ปี และ 15 ปีสำหรับนักโทษที่สูงวัยกว่านั้น นักโทษเยาวชนส่วนใหญ่ของที่นี่ต้องโทษจำคุกเฉลี่ย 1.9 ปี และ 60 เปอร์เซ็นต์จากคดีใช้ความรุนแรง

นักวิชาการในเยอรมนีมองว่า การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้กระทำความผิดวัยเยาว์อาจมีผลสืบเนื่องจากวิกฤตไวรัสโคโรนาและความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทั่วโลก รวมถึงสงครามในยูเครนและวิกฤตสภาพอากาศ นักโทษเยาวชนในฮาเมิล์นส่วนใหญ่มีพื้นเพจากครอบครัวแตกแยก หลายคนต้องทนทุกข์จากความรุนแรงด้วยตนเอง บททดสอบที่ปกติใช้กันในชั้นเรียนถูกนำมาถามกับนักโทษเยาวชนกลุ่มหนึ่งว่า พวกเขาคิดถึงอะไรมากที่สุด? 11 จาก 21 คนให้คำตอบว่า “ครอบครัว/แม่/พี่น้อง” 5 คนตอบ “เพื่อนชาย/เพื่อนหญิง” 4 คนตอบ “ความใกล้ชิดทางกาย/การกอด” และอีก 2 คนคิดถึง “โทรศัพท์มือถือ”

ช่วงเวลาการเยี่ยมทางเรือนจำจำกัดไว้ที่ 6 ชั่วโมงต่อเดือน นอกจากนี้ยังสามารถร้องขอการเยี่ยมเพิ่มเติมได้อีก 4 ชั่วโมง แต่หัวหน้าผู้คุมเรือนจำกล่าวว่า ส่วนใหญ่ใช้เวลาเยี่ยม 6 ชั่วโมงไม่หมด ส่วนการปรับตัวในคุกต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่อายุน้อยยังไม่เข้าใจถึงความร้ายแรงของสถานการณ์ในตอนแรก และอาจจะยังรู้สึกตื่นเต้นเหมือนตอนไปทัศนศึกษากับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน กลุ่มนักโทษวัยเยาว์เหล่านี้จะไม่มีกลุ่มของตนเอง แต่จะถูกแบ่งกลุ่มตามโซนที่ต้องขัง ส่วนใหญ่เตรียมใจพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองและช่วยงานกลุ่ม

ชีวิตประจำวันในเรือนจำเยาวชนที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนีถูกกำหนดตามตารางอย่างชัดเจน เริ่มต้นกันตั้งแต่ 6 โมงเช้า เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสุขภาพของผู้ต้องขังทุกคน 7 โมงเช้าทุกคนจะแยกย้ายกันไปตามหน้าที่ของตน ไปยังที่ทำงานหรือสถานฝึกอบรมของเรือนจำ เด็กนักเรียนจะต้องเข้าชั้นเรียนเวลา 07.45 น. กิจกรรมสันทนาการระหว่างวันจะอยู่ภายใต้การดูแลของผู้คุม ไม่ว่ากีฬา ดนตรี หรือศิลปะ อีกทั้งยังมีมาตรการช่วยเหลือให้คำปรึกษาเรื่องต่างๆ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. และทุกคนต้องกลับเข้าห้องขังอีกครั้งในเวลา 19.00 น.

นักโทษเยาวชนที่นี่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในห้องขังแคบๆ ที่มีขนาดเล็กกว่าห้องนอนของเด็กส่วนใหญ่ ภายในห้องมีเตียง ตู้ โต๊ะ เก้าอี้เล็กๆ และทีวี ทุกห้องมีห้องน้ำพร้อมสุขา หลายห้องมีหนังสือนิยายจากห้องสมุดของเรือนจำวางประดับหิ้งเหนือโต๊ะ ผู้คุมของเรือนจำบอกว่า “เด็กๆ ที่นี่อ่านหนังสือมากกว่าคนวัยเดียวกันที่ข้างนอก”.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับล็อตใหญ่ริมน้ำโขง! ยาบ้าสูตรฟรุ้งฟริ้ง-ไอซ์ มูลค่ารวม 700 ล้านบาท

พล.ร.ต.ณรงค์ เอมดี ผบ.นรข. พ.อ.ปราโมทย์ เนียมสำเภา รองผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี (รอง ผบ.กกล.ฯ) นายวรวิทย์ พิมพนิตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม น.อ.แมนรัตน์ บุญสวัสดิ์ ผู้บังคับการ นรข.เขตนครพนม (ผบ.นรข.เขตฯ)

รวบเครือข่ายยาเสพติด 'เอิร์ธ บางกรวย' ยึดยาไอซ์ 390 กก.

พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น.,พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย และ พ.ต.อ.นิวัฒน์ พึ่งอุทัยศรี รอง ผบก สส.บช.น. พ.ต.อ.สิทธิศักดิ์ นาคามาตย์ ผกก.สส.2บก.สส.บช.น.,พ.ต.ท.ณัฐวุฒิ สีเสมอ

ตร.รวบหนุ่มหลอนยาซ่าผิดคน ทำร้ายเทรนเนอร์กล้ามโต เจอล็อกคอสิ้นฤทธิ์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีเพจอยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทิร์น part 6 โพสต์ข้อความพร้อมคลิปเหตุการณ์ ระบุว่า เตือนภัย..พิษภัยยาเสพติด อันตรายต่อชุมชนมาก เตือนภัยสังคมสมัยนี้ยาบ้ามันถูกมากจริงๆ สมัยนี้เมายาทำร้ายร่างกายผู้อื่น คนอื่นต้องมาเจ็บตัวเสียเวลา

'โรม' จองกฐิน 'อนุทิน' ปมกลุ่มว้าแดงผลิตยาเสพติดใช้ไฟฟ้าจากไหน

'โรม' ฉะ 'กลุ่มว้า' ต้นตอแหล่งผลิตยาเสพติดในไทย ปูดมีบริษัทส่งไฟฟ้าไปขาย ลั่นยาพันล้านเม็ด เอาไฟไหนมาใช้ เตรียมตั้งกระทู้ 'อนุทิน' ทันที เปิดสมัย 12 ธ.ค.นี้

นายกฯ ประชุมแก้ปัญหายาเสพติด เผยในหลวง-พระราชินี ทรงห่วงใยและติดตามผลงาน

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตรวจติดตามประเด็นยาเสพติด โดยมี นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)