ผลประชามติเพื่อสิทธิของชาวอะบอริจินในออสเตรเลีย

AFP

ชาวอะบอริจินอาศัยอยู่ในออสเตรเลียมาเป็นเวลาหลายพันปี สิทธิของพวกเขาควรได้รับการส่งเสริมอย่างเป็นทางการด้วยหรือไม่นั้น ชาวออสเตรเลียมีความเห็นแยกเป็นสองขั้ว และผลประชามติเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาสะท้อนชัดเจนแล้วว่า สิทธิของชนพื้นเมืองไม่ได้ถูกรวมไว้ในรัฐธรรมนูญ

‘การลงประชามติเพื่อเสียงชาวพื้นเมืองของออสเตรเลีย’ มีเป้าหมายเพื่อขยายรัฐธรรมนูญออสเตรเลียอายุ 122 ปี โดยมีข้อความที่คำนึงถึงสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองอย่างเป็นทางการ เหตุเพราะในอดีตเมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 18 เจ้าอาณานิคมบริเตนใหญ่ใช้อำนาจปกครองอย่างกดขี่ และไม่เคยกล่าวถึงชาวพื้นเมืองในรัฐธรรมนูญที่เริ่มใช้กันตั้งแต่ปี 1901 กระทั่งปี 1967 ชนเผ่าพื้นเมืองเพิ่งได้รับสิทธิพลเมือง จนถึงช่วงทศวรรษ 1970 เด็กชาวเผ่าพื้นเมืองก็ถูกพรากจากครอบครัวเพื่อไป ‘เข้ารับการศึกษาใหม่’ ตามสถาบันที่นับถือศาสนาคริสต์หรืออยู่กับครอบครัวคนผิวขาว จนถึงปี 2008 รัฐบาลออสเตรเลียภายใต้นายกรัฐมนตรี เควิน รัดด์ ในขณะนั้น ได้ออกมากล่าวขอโทษสำหรับความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นกับเหยื่อของ ‘เจเนอเรชันที่ถูกขโมย’

แต่ถึงอย่างนั้นก็มีชาวพื้นเมืองจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ยังต่อต้านการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ พวกเขาวิพากษ์วิจารณ์การลงประชามติครั้งนี้โดยใช้ริมฝีปากแสดงสัญลักษณ์ไม่เห็นด้วย เพราะเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญไม่ได้นำไปสู่อะไรเลย

แอนโธนี อัลบานีส นายกรัฐมนตรีจากพรรคแรงงาน ซึ่งมีส่วนผลักดันการลงประชามติครั้งนี้หลังจากได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว ท่ามกลางเสียงเชียร์ของผู้สนับสนุน ก่อนหน้านี้เขาเคยกล่าวว่า “เราทุกคนควรภาคภูมิใจที่สังคมพหุวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ของเราได้รวมเอาวัฒนธรรมที่เก่าแก่ของโลกที่ยังคงดำรงอยู่ไว้ด้วยกัน”

แต่การรณรงค์ซึ่งนำโดยพรรคแรงงานก็ไม่ประสบความสำเร็จ ในการสำรวจหลายครั้งพบว่าเสียงคัดค้านของฝ่ายตรงข้ามมักมีคะแนนนำ และเป็นที่พอใจของฝ่ายอนุรักษ์นิยมซึ่งเป็นฝ่ายค้านอย่างมาก แต่อัลบานีสก็ไม่สนใจเสียงคัดค้านของฝ่ายตรงข้าม “วันนี้ผมลงคะแนน ‘เห็นด้วย’ อย่างภาคภูมิใจ เพราะผมรู้ว่านี่คือสิ่งที่ชาวพื้นเมืองออสเตรเลียต้องการ” เขากล่าวกับสื่อในวันลงประชามติ และเสริมว่าการรณรงค์ของฝ่ายตรงข้ามมีพื้นฐานมาจากความกลัว

ชนเผ่าพื้นเมืองในออสเตรเลียมีสัดส่วน 3.8 เปอร์เซ็นต์ของประชากร หรือประมาณ 988,000 คนจากประชากรทั้งหมด 26 ล้านคน ส่วนใหญ่มีปัญหา ไม่ว่าเรื่องอายุขัยที่ลดลง อัตราการว่างงานที่สูงอย่างไม่เป็นสัดส่วน การฆ่าตัวตาย การถูกคุมขัง โอกาสทางการศึกษาน้อยลง และการเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่จำกัด

กลุ่มผู้สนับสนุนที่ลงคะแนน ‘เห็นด้วย’ ในการเพิ่มสิทธิให้กับชนเผ่าพื้นเมืองในรัฐธรรมนูญเชื่อว่าจะช่วยปรับปรุงคุณภาพความเป็นอยู่ของชาวพื้นเมืองในออสเตรเลียให้ดีขึ้น อีกทั้งเป็นการสร้างเงื่อนไขให้ออสเตรเลียสะท้อนถึงประวัติศาสตร์ที่แท้จริงด้วย

อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์ดูเหมือนจะเป็นแรงหนุนให้การรณรงค์ ‘เห็นด้วย’ น้อยมาก เพราะนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ไม่เคยมีการลงประชามติครั้งไหนเลยในออสเตรเลียที่ประสบความสำเร็จ และครั้งนี้ก็เช่นกัน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุภาพ'เบิ้ลแต้ม'กฤตภัทร'เริ่มต้นดี เปิดฉากสนามแรก 'เวิลด์ ซูเปอร์ไบค์'ที่ออสเตรเลีย

"ยามาฮ่า ไทยแลนด์ เรซซิ่งทีม" ยอดทีมแข่งจากประเทศไทย สร้างผลงานสุดร้อนแรงเปิดฉากสนามแรกในศึก เวิลด์ ซูเปอร์สปอร์ต แชมเปียนชิพ 2024 ด้วยการคว้าแต้มมาครองได้ทั้ง 2 เรซ จากผลงานของ "ตี" อนุภาพ ซามูล ที่บิดคว้าอันดับ 12 และ 15 มาได้สำเร็จ ขณะ "ไอเดีย" กฤตภัทร เขื่อนคำ รุกกี้ชาวไทยเปิดตัวด้วยฟอร์มยอดเยี่ยม หลังจบ 2 เรซสุดมัน ที่ สนาม ฟิลลิป ไอส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

'ไทยยามาฮ่า'ส่ง'ตี-ไอเดีย' บินทดสอบ'ปรี-ซีซัน' ก่อน'เวิลด์ ซูเปอร์สปอร์ต'เปิดที่ออสเตรเลีย

"ยามาฮ่า ไทยแลนด์ เรซซิ่งทีม" ยอดทีมแข่งไทยในศึกเวิลด์ ซูเปอร์ไบค์ แชมเปียนชิพ ยกทีมชุดใหญ่นำโดย 2 นักบิดอย่าง "ตี" อนุภาพ ซามูล และ "ไอเดีย" กฤตภัทร เขื่อนคำ พร้อมด้วยทีมงาน มุ่งหน้าสู่ประเทศออสเตรเลีย เพื่อเก็บตัวฝึกซ้อม และทดสอบรถแข่ง YZF-R6 ก่อนลุยศึกเวิลด์ ซูเปอร์สปอร์ต แชมเปียนชิพ 2024 สนามแรกที่ ฟิลลิป ไอส์แลนด์ ปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้