เครือข่าย 8 จว.ลุ่มน้ำโขง ร้องอัยการสูงสุด ชะลอสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเขื่อนน้ำโขง

2 ก.ย.2565 - เครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้ส่งจดหมายถึงสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อขอให้ชะลอการตรวจสัญญาซื้อขายไฟฟ้า(Power Purchase Agreement) ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)และบริษัทผู้พัฒนาโครงการเขื่อนปากแบง ปากลายและหลวงพระบาง เนื่องจากอยู่ในระหว่างการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร และอยู่ในช่วงวิกฤตค่าไฟแพงและพลังงานสำรองของประเทศไทยสูงเกิน 50%

หนังสือระบุว่า การรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนบนแม่น้ำโขง 3 แห่ง จะยิ่งทำให้เกิดภาระค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นในระยะยาวต่อผู้บริโภคและชาวบ้านริมฝั่งโขง 8 จังหวัดยังต้องแบกรับภาระทางสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ดังที่กำลังเกิดขึ้นจากเขื่อนไซยะบุรีมาแล้ว

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 กมธ.การพัฒนาเศรษฐกิจ โดยนางสาวศิริกัญญา ตันสกุล ประธานกมธ.ฯ ได้จัดประชุมเพื่อตรวจสอบกรณีการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนแม่น้ำโขงไม่ชอบด้วยกฎหมายและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นครั้งที่ 2 โดยมีตัวแทนฝ่ายที่ถูกร้องคือ กฟผ. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ร่วมชี้แจง แต่ไม่มีตัวแทนจากสำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติร่วม และตัวแทนฝ่ายผู้ร้องจำนวน 7 คน เข้าร่วมการประชุม

นายอำนาจ ไตรจักร ตัวแทนเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงกล่าวว่า ผลกระทบเขื่อนไซยะยุรีชัดเจน ชาวประมง เกษตรริมโขง ประเพณี กระทบทุกอย่าง ปลาในแม่น้ำโขงหายไปกี่ชนิด ดินตะกอนหายไปเพราะอะไร วันนี้มาทราบว่าการไฟฟ้าตั้งงบเยียวยา 45 ล้านบาท ถามว่าเอาเกณฑ์ไหน พวกเรา 7 จังหวัด 1,050 หมู่บ้าน ผลกระทบชัดเจน ที่ดินของตนหายไป มีแต่โฉนด ความเสียหายไม่มีการเยียวยา ถามไปหน่วยงานไหนก็ไม่มีรับ สิ่งเหล่านี้เกิดกับพี่น้องริมโขง

“ท่านจะเยียวยา ท่านเอาเกณฑ์ไหนมาวัด ปัญหาเก่ายังไม่แก้ ปัญหาใหม่เอามา เราไม่คิดเรื่องเยียวยา ตอนนี้ขอชะลอสัญญาอีก 3 เขื่อนไปก่อน ขอให้ กฟผ. ศึกษาผลกระทบให้ครบถ้วนก่อน ไม่ใช่ทำประชาพิจารณ์ไปให้ผ่านๆ เท่านั้น ผมมาวันนี้ได้ยินว่า 45 ล้านคิดไว้ ประชาชนขอให้ชะลอก่อน พวกเรายิ่งลำบากจากภาระค่าไฟแพงและปัญหาผลกระทบอยู่ตอนนี้ ทำแบบนี้เท่ากับยิ่งจะซ้ำเติมชาวบ้าน เราอยากให้เลื่อนการซื้อขายออกไปก่อน เพราะตอนนี้ยังไม่จำเป็น”นายอำนาจ กล่าว

นายมนตรี จันทวงศ์ กลุ่มเสรีภาพแม่น้ำโขง กล่าวว่า ควรจะต้องมีการเปิดเผยสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกฟผ.และบริษัทต่อสาธารณะ เพราะเกี่ยวข้องกับประโยชน์ของสาธารณะ และข้อกังวลเกี่ยวกับร่างสัญญา เนื่องจากสัญญาซื้อขายไฟฟ้าดังกล่าวมีลักษณะเป็นการ “ไม่ซื้อ ก็ต้องจ่าย” (take or pay) ที่อาจจะเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนผู้พัฒนาโครงการ หากมีการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าไปแล้ว ก็อาจจะไม่สามารถแก้ไขให้หวนคืนได้อีกเป็นเวลาอย่างน้อย 29 – 35 ปี ตามอายุสัญญา ซึ่งประชาชนผู้จะได้รับผลกระทบโดยตรงและในฐานะผู้บริโภคต้องแบกรับภาระค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นโดยไม่มีความเป็นธรรมระยะในยาวอันเป็นผลกระทบอย่างยิ่งทั้งประชาชนและประเทศชาติ อย่างที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โยนเลขาธิการสภาตัดสินใจปมรับมอบอาคารรัฐสภา

'รองอ๋อง' เผยคืบหน้าตรวจรับอาคารรัฐสภา หลังส่งความเห็นให้ อสส.พิจารณาแก้ไขสัญญารอบสุดท้ายได้ มั่นใจ คดีในมือ ป.ป.ช. ไม่มีผลอะไร ส่วนกรณี 'สส.ปชป.' พบพิรุธโยนให้ คกก. เป็นคนตรวจสอบ

อัยการนัดฟังคำสั่งคดี 'จักรภพ' 23 พ.ค. เจ้าตัวแย้มจ่อลุยการเมือง

อัยการนัดฟังคำสั่งคดี 'จักรภพ เพ็ญแข' ครอบครองอาวุธสงคราม 23 พ.ค.นี้ เจ้าตัวเชื่อมั่นกระบวนการยุติธรรม จ่อลุยการเมืองหลังพ้นคดี ชี้ ‘ยิ่งลักษณ์’ ควรได้ความเป็นธรรมเหมือนทุกคน

แฉเส้นทาง 'โจรกรรมรถ' ข้ามชาติ เชื่อคนของรัฐมีเอี่ยว

กองบังคับการกองร้อยทหารราบ กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี อ.ธาตุพนม จ.นครพนม พล.ต.นรธิป โพยนอก ผบ.กกล.สุรศักดิ์มนตรี มอบหมายให้ ร.อ.กิตติกร จันทร์หอม นายทหารฝ่ายยุทธการ กองบังคับการควบคุมที่ 1 กองกำ

ไม่เกินคาด! อัยการสั่งเลื่อนคดีทักษิณคดี 112 ไป 29 พ.ค.

อัยการเลื่อนฟังคำสั่งฟ้อง-ไม่ฟ้อง ‘ทักษิณ’ สัมภาษณ์เกาหลีกระทบสถาบันฯ เหตุรอผลสอบเพิ่ม ‘ประยุทธ’โฆษกอัยการเผยผลสอบคืบ 80% เผยไม่ทราบมีการสอบประเด็นต้นขั้วสัมภาษณ์จากต่างประเทศหรือไม่

ห่วงปชช. 7 จ. ริมน้ำโขง หลังสารเคมีรั่ว สั่ง สทนช. เฝ้าระวังถึง 12 เม.ย.

'สมศักดิ์' ห่วงชาวไทย-ลาว หลังสารเคมีรั่วลงแม่น้ำโขง สั่ง สทนช. เกาะติดใกล้ชิด แจงตรวจคุณภาพน้ำ จ.เลย ใช้ได้ปกติ แต่ยังเฝ้าระวังถึง 12 เม.ย.