ประธานอาเซียนกังวลเมียนมารุนแรงเพิ่มขึ้น

กัมพูชาซึ่งเป็นประธานสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนในปีนี้ ออกแถลงการณ์เมื่อวันพุธระบุว่า อาเซียนมีความกังวลอย่างยิ่งกับความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นหลายเหตุการณ์ในเมียนมาเมื่อเร็วๆ นี้ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายยับยั้งชั่งใจ, หยุดการสู้รบโดยทันทีและเปิดการเจรจา

          รอยเตอร์รายงานเมื่อวันพุธที่ 26 ตุลาคม 2565 ว่า เมียนมาติดอยู่ในวงโคจรแห่งความรุนแรงนับตั้งแต่กองทัพเมียนมาก่อรัฐประหารขับไล่อองซาน ซูจี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 หลังรัฐประหาร ทหารเมียนมาควบคุมตัวซูจีและนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยหลายพันคน และปราบปรามผู้ต่อต้านรัฐประหารอย่างโหดเหี้ยม ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกองกำลังติดอาวุธต่อต้านรัฐประหารเมียนมา ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เกิดเหตุนองเลือดในเมียนมาหลายครั้ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน

          กัมพูชาซึ่งเป็นประธานสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนในปีนี้ออกแถลงการณ์เมื่อวันพุธ กล่าวถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมาที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ เช่น เหตุลอบวางระเบิดบริเวณเคาน์เตอร์รับพัสดุของเรือนจำอินเส่งในนครย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเรือนจำใหญ่ที่สุดของเมียนมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ, ความขัดแย้งในรัฐกะเหรี่ยงและเหตุกองทัพเมียนมาโจมตีทางอากาศถล่มงานคอนเสิร์ตที่จัดโดยกองทัพเอกราชกะฉิ่น (เคไอเอ) ในรัฐกะฉิ่นภาคเหนือของเมียนมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา มีรายงานว่าทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 50 ศพ

          กัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนกล่าวในแถลงการณ์ว่า เรารู้สึกเศร้าเสียใจอย่างยิ่งกับการบาดเจ็บล้มตายที่เพิ่มขึ้นในเมียนมา และความทุกข์ทรมานที่ประชาชนคนธรรมดาในเมียนมาต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้

          ความขัดแย้งดังกล่าวไม่เพียงแต่ทำให้สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในเมียนมาเลวร้ายลง แต่ยังเป็นการบ่อนทำลายความพยายามในการปฏิบัติตาม “ฉันทามติ” เรื่องสันติภาพที่ตกลงกันไว้ระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนกับรัฐบาลทหารเมียนมาเมื่อปีที่แล้ว ดังนั้นแล้วเราขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยับยั้งชั่งใจอย่างเต็มที่และยุติการสู้รบและหยุดความรุนแรงโดยทันทีและดำเนินการเจรจา

          อาเซียนเป็นผู้นําความพยายามทางการทูตเพื่อนําสันติภาพกลับมาสู่เมียนมา แต่ที่ผ่านมารัฐบาลทหารเมียนมาดําเนินการเพียงเล็กน้อยที่จะปฏิบัติตาม "ฉันทามติ" ที่รัฐบาลทหารเมียนมาเคยตกลงกับอาเซียน ฉันทามติดังกล่าวมุ่งมั่นที่จะยุติความรุนแรงในทันที และเริ่มต้นการเจรจาเพื่อให้บรรลุข้อตกลงสันติภาพ

          กัมพูชาแถลงเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของชาติสมาชิกอาเซียนมีกำหนดประชุมเพื่อหารือถึงวิกฤตในเมียนมาในวันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม

          ด้านองค์กรภาคประชาสังคมของเมียนมา 457 องค์กร ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงบรรดาผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน เรียกร้องให้ยกเลิกแผนสันติภาพที่ตกลงไว้กับรัฐบาลทหารเมียนมาเมื่อปีที่แล้ว โดยให้หันมาทำงานกับผู้นำพลเรือนและรัฐบาลเงาของเมียนมาแทน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สมช.' แจงไทยมี 3 จุดยืนในสถานการณ์เมียนมา

'สมช.' เข้าแจง 'กมธ.มั่นคงฯ' เพื่อรายงานการรับมือผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในเมียนมา ย้ำ 3 จุดยืน รักษาอธิปไตยไทย-ไม่ยินยอมให้ใช้ดินแดน-ดูแลผู้หนีภัยตามหลักมนุษยธรรมสากล

'หมอตังค์' ยูทูบเบอร์ดังเคลื่อนไหว หลังโดนคนกัมพูชาลอกคอนเทนต์

เพิ่งมีกระแสร้อนแรงไม่กี่วันก่อนเมื่อยูทูบเบอร์ชาวกัมพูชาที่ชื่อว่า 'Doctor Sem Ratana' ลอกคอนเทนต์ของยูทูบเบอร์-แพทย์หนุ่ม ตังค์-มรรคพร ขัติยะทองคำ เจ้าของรายการ "เวรชันสูตร" จากช่อง "Tang Makkaporn" ที่มียอดติดตามกว่า 1 ล้านคน

'ทบ.' เปิดแผนรับมือ สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-เมียนมา

รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก เปิดเผยแนวทางการปฏิบัติในการรองรับสถานการณ์ความไม่สงบด้านเมียนมา กรณีการปะทะระหว่างทหารเมียนมากับกองกำลังชนกลุ่มน้อย

เตือนแรงงาน 3 สัญชาติ MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับปท. ภายใน 30 เม.ย. นี้

‘คารม’ เตือนแรงงาน MOU ครบ 4 ปี ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทางภายใน 30 เม.ย นี้ แนะนายจ้าง/ผู้ประกอบการยื่นคำร้อง นจ. 2 ล่วงหน้า หากประสงค์จะนำแรงงานกลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง

‘เศรษฐา’ ลงพื้นที่ชายแดนแม่สอด 23 เม.ย. เกาะติดสถานการณ์สู้รบในเมียนมา

‘สุทิน’ เผยสถานการณ์สู้รบเมียนมาเข้มข้นขึ้น คนหนีภัยมาไทย ยอมรับกระทบเราแต่ไม่มีอะไรน่าวิตก ขอสบายใจกองทัพปกป้องอธิไตย-ดูแลประชาชนเต็มที่

'เศรษฐา' เตรียมบินไปแม่สอด 23 เม.ย. หลังปะทะเดือดใกล้ชายแดนเมียนมา

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ทวิตข้อความผ่าน x ว่า “จากสถานการณ์การปะทะกันบริเวณสะพานมิตรภาพ 2 ฝั่งเมียนมา