'Interceptor™ 019'  เรือดักจับขยะก้องโลก ออกปฎิบัติการ'แม่น้ำเจ้าพระยา'

 Photo :The Ocean Cleanup

จากปัญหาขยะในทะเลที่มีจำนวนมาก ข้อมูลในปี พ.ศ.2564 พบว่า ประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดในโลก ซึ่งมีปริมาณมากถึง 22.8 ล้านกิโลกรัม จำแนกออกเป็นขยะบนบก 80% และในทะเลอีก 20% โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้มีการสำรวจพบว่า ปริมาณขยะลอยน้ำที่ไหลลงอ่าวไทยมาจาก 5 แม่น้ำสายหลัก ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางตะบูน จากการติดตามอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี (2560 – 2564) ขยะมีปริมาณลดลงอย่างเห็นได้ชัด คือจาก 3,357 ตัน ในปี  2560 ลดลงเหลือ 738 ตัน แต่ในปี 2564 กลับเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะขยะไหลผ่านทางปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีปริมาณสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพิ่มจาก 168ล้านตันในปี 2563 เป็น  317 ตัน ในปี2564 ที่มาจากผลพวงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รัฐบาลประกาศให้คนทำงานที่บ้าน ส่งผลให้มีขยะจากอาหารเดลิเวอร์รี่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพวกบรรจุภัณฑ์พลาสติก เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

การแก้ปัญหาขยะในแม่น้ำลดคลองในกรุงเทพฯ ทางกรุงเทพมหานครได้ให้เรือเก็บขยะ เก็บทั้งขยะและวัชพืชซึ่งส่วนใหญ่จะลงปฏิบัติหน้าที่ก่อนน้ำหลากเพื่อให้ขวางทางระบายน้ำรวมถึงการเก็บขยะที่ลอยติดเข้ามาด้วย ทั้งนี้ยังมีการรณรงค์เรื่องการจัดขยะบนบกเพื่อป้องกันการทิ้งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์ขยะในแม่น้ำเจ้าพระยาก็ยังคงเป็นปัญหาอันดับต้นๆของแม่น้ำสายหลักในไทยและเป็นหนึ่งในอีกแม่น้ำสายทั่วโลกที่พาขยะไหลลงสู่ทะเล

ด้วยเหตุนี้ สำนักสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพมหานคร จึงร่วมกับ The Ocena Cleanup เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรจากประเทศเนเธอร์แลนด์ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี, สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย, บริษัท อีโคมารีน จำกัด, บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ จำกัด (มหาชน) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกันติดตั้ง Interceptor™ 019 เรือดักจับขยะบนผิวน้ำด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหามลพิษจากแม่น้ำสายสำคัญทั่วโลก

สำหรับ The Ocean Cleanup ก่อตั้งขึ้นในปี 2013 โดย  โบแยน สแลต (Boyan Slat) หนุ่มขาวดัตช์ผู้โด่งดัง เพราะตั้งแต่เขาอายุ16ปี (ค.ศ.2011) เขาก็เริ่มมีแนวคิด ต้องการเก็บชยะในทะเลให้หมดไป   ต่อมาเชาได้ก่อตั้งบริษัทสตาร์ทอัป The Ocean Cleanup ด้วยเงินเก็บสะสมเพียงแค่ 300 ยูโร องค์กรนี้ไม่แสวงผลกำไร มีเป้าหมายที่จะกำจัดพลาสติกซึ่งลอยอยู่ในทะเลให้ได้ 90% ภายในปี 2040  พร้อมๆกับ มีเป้าหมายในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อกำจัดพลาสติกในมหาสมุทรทั่วโลก ผ่านการดำเนินงานใน 2 กลยุทธ์ คือ การดักจับขยะในแม่น้ำก่อนไหลลงสู่ทะเล และการเก็บพลาสติกที่สะสมอยู่ในมหาสมุทร สำหรับการเก็บขยะพลาสติกในทะเล องค์กรได้พัฒนาและใช้ระบบขนาดใหญ่ที่เก็บขยะในพื้นที่แต่ละส่วนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขยะพลาสติกที่เก็บได้ยังสามารถติดตามและตรวจสอบด้วยโมเดล chain of custody ของ DNV เพื่อตรวจสอบย้อนกลับเมื่อนำไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ สำหรับการทำงานเพื่อยับยั้งการรั่วไหลของพลาสติกจากแม่น้ำลงสู่ทะเล องค์กรได้พัฒนา Interceptor™ เพื่อสกัดและดักจับขยะในแม่น้ำก่อนที่จะไหลลงสู่สมหาสมุทร

 โบแยน สแลต 

โดยเรือ Interceptor™ 019 จะประกอบด้วยแผงทุ่นลอยน้ำที่โยงติดกับโรงเก็บขยะ ซึ่งมีลักษณะคล้ายแพเรือที่ทอดสมออยู่ในแม่น้ำ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซลาร์เซลล์และทำงานด้วยระบบอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องใช้แรงงานมนุษย์ในการควบคุม เป็นเครื่องดักขยะที่ช่วยลดปริมาณขยะในแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเล สามารถเก็บขยะได้วันละ 50,000-100,000 ชิ้น ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็น 1 ในแม่น้ำ 15 สายของโลกที่จะมีนวัตกรรมดังกล่าวมาปฏิบัติการ และเป็นลำที่ 5 ที่ติดตั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ติดตั้งไปแล้วในอินโดนีเซีย 1 ลำ ในเวียดนาม 1 ลำ และในมาเลเซีย 2 ลำ นอกจากนี้ยังมีการติดตั้ง Interceptor ในสาธารณรัฐโดมินิกัน และเมืองลอสแอนเจลิส ในสหรัฐอเมริกาด้วย

 Photo :The Ocean Cleanup

สำหรับการติดตั้งในแม่น้ำเจ้าพระยาเรือจะอยู่บริเวณสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา ถนนพระราม 3 เขตบางคอแหลม และนำเรือขนถ่ายลำเลียงขยะ ติดตั้งอุปกรณ์ จำนวน 1 ลำ พร้อมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเก็บขยะ เป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2567 – มกราคม 2568 พร้อมกับรถบรรทุกขนถ่ายลำเลียงขยะ จำนวน 1 คัน และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ในระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2567 ซึ่งขยะที่จัดเก็บได้จะนำไปและมุ่งศึกษาวิธีการสกัดและดักจับขยะพลาสติกก่อนที่จะไหลเข้าสู่ช่วง 50 กิโลเมตรสุดท้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะบรรจบกับอ่าวไทยและพัดพาขยะพลาสติกไปยังมหาสมุทรต่อไป

โบแยน สแลต ประธานกรรมการบริหาร และผู้ก่อตั้ง The Ocean Cleanup  กล่าวว่า เรือดักจับขยะ Interceptor 019 เป็นก้าวสำคัญในการป้องกันไม่ให้มลพิษจากขยะพลาสติกในกรุงเทพฯ ไหลลงสู่มหาสมุทร นับเป็นก้าวแรกของเราในประเทศไทยสำหรับการร่วมมือกับกรุงเทพมหานครและพันธมิตรเพื่อลดปัญหาขยะในแม่น้ำเจ้าพระยา สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการดำเนินงานด้านการกำจัดพลาสติกในมหาสมุทรในเมืองต่างๆ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการโครงการติดตั้ง Interceptor ทั่วโลก ซึ่งเรามีแผนจะขยายไปอีกหลายแห่ง

ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า เป็นอีกนวัตกรรมของเรือดักจับขยะบนผิวน้ำโดยที่ตัวเรือจะจอดนิ่งอยู่บริเวณโค้งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นจุดที่ขยะจะไหลมาร่วมกันก่อนลงสู่ทะเลและใช้กางแขนซึ่งเป็นดักจับขยะออกครอบคลุมพื้นที่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ 20-30% ทำให้มีประสิทธิภาพและการจัดเก็บที่ดีขึ้น ซึ่งจากการคำนวนเฉพาะจยะพลาสติกที่จัดการไม่ได้และไหลลงสู่แม่น้ำประมาณ 30,000 ตันต่อปี จากปกติที่เก็บได้ 1% หรือประมาณ 300 ตันต่อปี ซึ่งได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะเก็บเพิ่มให้ได้ 10% หรือประมาณ 1,000 ตัน ซึ่งเรือ Interceptor™ 019 สามารถเก็บได้อีกประมาณเดือนละ 30 ตันต่อเดือนก็จะช่วยเพิ่มปริมาณการจัดเก็บขยะได้มากขึ้น โดยหลังการดักจับขึ้นมาแล้วทางกรุงเทพฯและจุฬาฯ จะร่วมการทำการศึกษาวิจัยว่าขยะแต่ละชนิดมาจากแหล่งไหนเพื่อนำไปสู่ออกมาตรการในการจัดการต่อไป และกระบวนการดักเก็บขยะต่างๆ ที่ได้เรียนรู้จากการติดตั้งเรือ Interceptor™ 019 ก็จะไปพัฒนาการเก็บขยะในแม่น้ำสายหลักและสายรอง ที่ที่สำคัญคือการจัดการขยะที่ต้นทาง

ศาสตราจารย์ ดร. วรณพ วิยกาญจน์ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้ร่วมทำการสำรวจขยะในแม่น้ำเจ้าพระยา กล่าวว่า ขยะพลาสติกมากกว่า 60-70% มาจากบนบก ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการจัดการขยะบนบกให้ดี เริ่มจากขยะในชุมชนที่ต้องมีการสำรวจว่ามีขยะประเภทไหนบ้างและจัดการจำแนกแต่ละประเภท ซึ่งขยะส่วนหนึ่งที่จะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาก็มาจากแม่น้ำลำคลองสายต่างๆในกรุงเทพฯ ดังนั้นเพื่อสังเกตขยะที่ไหลผ่านมาจากลำคลองก็มีการใช้กล้องซึ่งเป็นเทคโนโลยีของทาง The Ocean Cleanupในการติดตั้งที่บริเวณสะพานอรุณอัมรินทร์ สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า และสะพานภูมิพล โดยมีการถ่ายทุก 15 นาที สามารถแยกประเภทในระดับหนึ่ง หลักจากที่แยกประเภทได้ก็นำไปเปรียบเทียบกับขยะที่ไหลลงสู่ทะเล และดูลักษณะของการพัดพาขยะในแม่น้ำซึ่งก็มีทั้งที่ไหลไปตามกระแสลงสู่อ่าวตัวกอ และติดอยู่ตามชายขอบบริเวณแม่น้ำ ซึ่งการสำรวจนี้ทำให้เราทราบทิศทางการเดินทางขยะตามกระแสน้ำ ดังนั้นเรือ Interceptor™ 019 จะมีการจอดอยู่เฉยๆ แต่ในกระบวนการเทคโนโลยีจะดักจับขยะในรัศมีที่ขยะจะถูกพัดพามาก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเล

ขยะที่เรือ  “Interceptor™ 019”เก็บได้ในแม่น้ำเจ้าพระยา

รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ในด้านการจัดเก็บและคัดแยกขยะที่ Interceptor 019 ดักจับได้ในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของเราในการจัดการขยะที่ไหลลงสู่แม่น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การคัดแยกขวดพลาสติกใช้แล้วที่มีมูลค่าออกจากขยะอื่นๆ แล้วส่งเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล สามารถช่วยลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ และลดปริมาณขยะที่ไหลลงสู่มหาสมุทรได้อีกทางหนึ่ง

เรือ’Interceptor™ 019’ออกปฎิบัติการถึงช่วงค่ำ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อธิบดี ทช. เยี่ยมชมโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตที่จังหวัดชลบุรี

เมื่อเร็วๆ นี้ ดร. ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (อทช.) พร้อมคณะผู้บริหารของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)