โลกร้อน BCG และการพัฒนาที่ยั่งยืน ในกระแสเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี

หากย้อนกลับไปกว่า 4 ทศวรรษก่อนหน้านี้ จะพบความสนใจของประชาคมโลกที่มีต่อการขับเคลื่อนสร้างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ เคลื่อนไหวหลากหลายมิติอย่างกระจัดกระจาย โดยมีวิธีคิด สมมุติฐาน ทฤษฎี และมีมุมมองวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ เคลื่อนอยู่ในกระแสเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างกันไป (ในยุคนั้นการสื่อสารในสังคมออนไลน์และการสื่อสารโดยรวมยังไม่รวดเร็วเช่นวันนี้!) ความเคลื่อนไหวที่ปรากฏขึ้นในหลายมุมโลกขึ้นอยู่กับพื้นที่ทางเศรษฐกิจสังคมนั้นๆ เผชิญปัญหาอะไร? และเผชิญแรงกดดันเรื่องอะไร?

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวจึงมีทั้งเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคม ปัญหาการศึกษา ปัญหาการเหยียดผิว เพศ ชาติพันธุ์ ปัญหาแรงงานในสังคมอุตสาหกรรม การต่อต้านมลภาวะ ไปจนถึงปัญหาเฉพาะด้าน เช่น ปัญหาเด็ก สตรี คนจน คนไร้บ้าน และปัญหาสลัม ฯลฯ ทั้งหมดนี้ต่อมาได้กลายเป็นความเคลื่อนไหวที่สร้างความตระหนักรู้ให้ประชาคมโลก ทำให้ผู้คนหันมาสนใจ-เข้ามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาในแบบของฉันทามติร่วมของสังคมโลก ที่มุ่งเฝ้าระวัง-ร่วมช่วยขจัดปัญหาให้ทุเลาเบาบางลงและขจัดให้หมดไปในหลายปัญหา!

ความเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอีกความเคลื่อนไหวหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญ ก่อรูปขึ้นช่วงกว่า 3 ทศวรรษก่อนหน้านี้! จนตกผลึกเป็นความร่วมมือกันของประชาคมโลกช่วงปลายศตวรรษที่ 20 จากการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหลากมิติในเกือบทุกมุมโลก มีการสร้างสรรค์รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับต่างๆ ตลอดจนถึงการสร้างแบบจำลอง-สร้างกฎระเบียบ-มาตรฐานด้านเศรษฐกิจ สังคม ความร่วมมือทั้งในประเทศและระหว่างประเทศขึ้น ฯลฯ การปรากฏขึ้นของแนวคิด-แนวปฏิบัติทั้งหลายก็เพื่อมุ่งให้เกิดการตระหนักถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาไร้พรมแดน ที่ส่งผลเสียหายขึ้นมากในสังคมโลก อาทิ กรณีไฟป่า ที่เกิดจากประเทศหนึ่งซึ่งส่งผลมลพิษทางอากาศจากหมอกควันของไฟป่าในประเทศใกล้เคียงและในพื้นที่ที่อยู่ในทิศทางความเคลื่อนไหวของกระแสลม หรือกรณีการระเบิดของโรงไฟฟ้าปรมาณูที่เป็นข่าวใหญ่อย่างน้อย 2 แห่ง ที่รัสเซียและญี่ปุ่น ทำให้โลกมีบทเรียนร่วมและรับรู้ดีถึงผลกระทบที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกรณีที่ย้อนไปถึงพิษภัยในการใช้ปรมาณูถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อเมริกาสร้างผลร้ายต่อภูมิอากาศและก่อโรคร้ายให้กับผู้คนอย่างชนิดที่โลกไม่อาจลืมได้ ฯลฯ ความเลวร้ายจากปัญหาไร้พรมแดนของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทำให้ประชาคมโลกตื่นตัวขึ้นร่วมมือกันแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม-การบริโภคทรัพยากรที่มูมมาม และปกป้องอนาคตที่ดีให้กับคนรุ่นต่อไป ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญก่อให้เกิดความร่วมมือ กฎบัตร กฎหมาย ฉันทามติของสังคมโลก และมาตรการ-มาตรฐานหลายมิติในเวลาต่อมาจนปัจจุบัน

ความตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมและความห่วงใยต่อความเป็นอยู่ปัจจุบันถึงอนาคต ได้ถูกทำให้เป็นฉันทามติของประชาคมโลกเมื่อปี ค.ศ.2000 นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญที่ประชาคมโลกได้ร่วมทำงานกันกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้นครั้งแรก จากการประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมโลกที่กรุงรีโอ เดอจาเนโร ได้มีการประกาศข้อตกลงร่วมที่เรียกว่า Agenda 21 ที่เป็นปฐมบทในการกำหนดหลักการการจัดการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการดูแลสิ่งแวดล้อมที่มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกัน

Agenda 21 จึงเป็นเหมือนหลักการสำคัญของประชาคมโลก ที่เกิดจากการเรียกร้องต้องการ-ความตระหนักสำนึกในการสร้างพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการสร้างเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคเท่าเทียมทางสังคม และฉันทามติความร่วมมือที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประชาคมโลก ก่อนที่จะแตกแขนงออกเป็นมาตรฐาน มาตรการ และการประชุมระหว่างประเทศหลายระดับในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ความคิด วิธีการปฏิบัติ และการศึกษาที่ให้ความสำคัญของสิ่งแวดล้อมได้ผนวกผสานเป็นแนวคิด “การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยมีกฎบัตรความร่วมมือและข้อปฏิบัติที่ผนวกต้นทุนสิ่งแวดล้อมเข้าในธุรกรรมทางเศรษฐกิจ และมีการกำหนดบทลงโทษ การกำหนดค่าใช้จ่าย ขณะเดียวกันก็มีการเพิ่มสิทธิและเพิ่มมูลค่าให้กลุ่มการผลิตและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งประมวลขึ้นเป็นมาตรฐานสินค้า มาตรฐานการค้า มาตรการทางภาษี และมาตรการระหว่างประเทศในหลายมิติ มาตรการความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนี้มีทิศทางที่มุ่งดูแลจัดการเศรษฐกิจ-ทรัพยากรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม-รวมเรียกว่า “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งมีบทบาทในทุกการพัฒนาอุตสาหกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และการค้า

เมื่อราว 2 ทศวรรษก่อนที่จะมีการนำเสนอทิศทางการปฏิบัติการเศรษฐกิจ BCG (Bio-circular-Green) ที่ประกอบด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-การนำกลับมาใช้ใหม่ของทรัพยากร-การสร้างเศรษฐกิจสีเขียว ที่เป็นภาคปฏิบัติการในการนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนที่เน้นให้ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากร BCG เป็นกระบวนการที่เกิดจากฉันทามติ-ความสำนึกรับผิดชอบร่วมของประชาคมโลกมีเป้าหมายในการปรับสร้างการผลิต-บริการในระบบเศรษฐกิจที่มีมาตรฐาน มาตรการหลายเรื่องมารองรับ รวมถึงมีการคิดสร้างนวัตกรรมทั้งในการผลิตที่ใช้แนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ-การหมุนเวียนในการนำทรัพยากรที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่-และการสร้างเศรษฐกิจสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน-ทำให้คนรุ่นอนาคตมั่นใจว่าจะได้รับการส่งต่อโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์ไม่แพ้กับโลกในรุ่นคนปัจจุบัน ความเคลื่อนไหวทั้งหมดของ BCG นี้จะเป็นกระบวนการที่เข้าไปมีบทบาทในกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมและการปรับสร้างคุณภาพชีวิตใหม่ในโลกยุคศตวรรษที่ 21 เป็นภาคการปฏิบัติการสำคัญที่จะช่วยให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจมีทิศทางเชิงบวกกับโลกแวดล้อมและความยั่งยืนในคลื่นการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียุคใหม่ ทดแทนการผลิตและบริการแบบเดิมๆ ที่บริโภค-ทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอย่างบ้าคลั่ง!!!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“มิจฉาธรรม .. ในอสัตบุรุษที่น่ากลัวยิ่ง”

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา สงกรานต์ร้อนที่เข้าสู่จุลศักราช ๑๓๘๖ เถลิงศกตรงกับ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๗ นับว่าร้อนแล้ง ตรงกับคำพยากรณ์ที่พร้อมเกิดพายุร้อนได้ในทุกพื้นที่ เป็นการแสดงสภาวะผันผวนที่เนื่องมาจากวิกฤตร้อนของโลก (Climate Change) ที่หลายฝ่ายเฝ้าสังเกตการณ์ด้วยความเป็นห่วงว่า มนุษยชาติจะผ่านวิกฤตโลกร้อนไปได้หรือไม่..

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า น้อมถวายเป็นพระราชกุศลฯ

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในห้วงเวลาที่อากาศร้อนจัด จนเข้าสู่วิกฤตการณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานของประเทศ

สู่.. โครงการพระคืนสู่ป่า.. ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในภาวะที่เข้าสู่วิกฤตการณ์โลกร้อน.. ด้วยภาวะการเปลี่ยนแปลงแบบผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติปกติ (Climate Change) อันเป็นผลจากการกระทำของมนุษยชาติ ทั้งในทางตรงและทางอ้อม จึงได้ถือโอกาสคิดทำโครงการนำพระคืนสู่ป่า.. เพื่อศึกษาวงจรธรรมชาติของชีวิตที่เนื่องกับสิ่งแวดล้อม อันประกอบด้วยสรรพสิ่งต่างๆ ที่เกาะเกี่ยวเนื่องกันอย่างมีความสมดุล (Nature Cycle in Balance)

ลัทธิผีบุญ .. ภัยร้ายต่อพระศาสนา!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ปัญหาของพุทธศาสนาในปัจจุบันที่ยังเจริญเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ คือ การยึดถือคำสอนที่ผิดเพี้ยนไปจากพระสัทธรรมดั้งเดิม...

คุณค่าแท้–คุณค่าเทียม ที่ชาวพุทธควรคำนึง..!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. คำว่า “วิกฤตศรัทธา” เริ่มมีการพูดถึงกันมากในห้วงเวลานี้ ด้วยเหตุปัจจัยในเรื่องนั้น ที่นำไปสู่ความสั่นคลอนในความเชื่อมั่น ที่เคยอบรมสั่งสมมานานในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ บุคคลนั้นๆ.. ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติของวิถีชีวิตสัตว์ทั้งหลายที่พยายามหาที่ยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณ

บูชาพระโอวาทปาติโมกข์ .. ณ เวฬุวันมหาวิหาร ปี พ.ศ.๒๕๖๗

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. กลับมาจาก งานมาฆบูชาโลก ที่เวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ พร้อมกับติดเชื้อเป็นของแถม ด้วยมีไวรัสแพร่ระบาดในหมู่คณะที่มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสติดตามไปร่วมร้อยชีวิต