สินทรัพย์ดิจิทัลกับการป้องปรามคอร์รัปชัน

“อุปสรรคที่ยังไม่ได้มีการใช้ cryptocurrency หรือ สินทรัพย์ดิจิตัลกันอย่างจริงจังนอกจาก จะเป็นเรื่องการลงทุนให้มีต้นทุนเทคโนโลยีลดลงแล้ว ยังเป็นเรื่องความชัดเจน ในแต่ละบริบท ของการทางการควบคุม ประเด็นข้อกฏหมาย ประเด็นภาษี ว่าได้ชั่งน้ำหนักข้อดีคุ้มกับข้อเสีย ออกมาชัดๆได้หรือยัง”

ในช่วงที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังมีความกังวลกับภาวะเงินเฟ้อ ในเวลาเดียวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในหลายประเทศยังลุ่มๆ ดอนๆ คือการฟื้นตัวยังไม่มีแรงส่งต่ออย่างชัดเจนจากผลกระทบกับการระบาดของโรคโควิด-19 หลายระลอกตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี และยังไม่มีทีท่าว่าจะควบคุมได้ในระยะใกล้ๆ นี้

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้นที่เรียนมาก็สอนว่า นโยบายการคลังผ่านการกระตุ้นการใช้จ่าย การลงทุนภาครัฐ หรือมาตรการลดหย่อนภาษี ถือว่าน่าจะช่วยชดเชยอุปสงค์การบริโภค การลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวได้ และก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลประเทศต่างๆ ทั่วโลกดำเนินการกันอยู่ 

ไม่ยกเว้นประเทศไทยที่มีการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ ทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมายหลายต่อ หลายโครงการที่ปรากฏให้เห็นอยู่ตลอดเวลาในระยะหลายปีที่ผ่านมา ประเด็นในทางเศรษฐกิจที่เงินจำนวนมหาศาลที่ภาครัฐจ่ายออกไปนั้น ให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด คงเป็นประเด็นที่ต้องหยิบยกมาพิจารณาเชิงประจักษ์กันต่อไป  

 ประเด็นที่จะพิจารณาคือ ประสิทธิภาพของการใช้จ่ายจำนวนมากนี้จะต่างจากการใช้จ่ายและการลงทุน ภาคเอกชนซึ่งจะมีกลไกกลั่นกรองความคุ้มค่าและประสิทธิภาพที่รัดกุม อีกทั้งไม่ได้เป็นเงินจากภาษีอากรของประชาชน จึงมีความพยายามจากหลายหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่จะสร้างกลไกตรวจสอบ เพื่อทำให้เกิดธรรมาภิบาลในภาครัฐให้เป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบในกระบวนการรัฐสภา หรือองค์กรอิสระที่พยายามหากระบวนการตรวจสอบทางตรงหรือทางอ้อม ผ่านการสร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมให้มีธรรมาภิบาลในหน่วยงานภาครัฐให้มากขึ้น

อย่างไรก็ดี จากรายงานของ Global Economy.com จัดอันดับ Control of coruption จากจำนวน 192 ประเทศ แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีแนวโน้มที่แย่ลงจากอันดับ 108 ในปี 2016 เป็นอันดับที่ 116 ในปี 2020

 นักวิชาการทางด้านเทคโนโลยีหลายต่อหลายแห่งก็เสนอให้นำความก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดทางเทคโนโลยีดิจิทัลมาควบคุมตั้งแต่ต้นทาง น่าจะเป็นอีกเครื่องมือที่จะลดโอกาสให้เกิดการทุจริตได้ เทคโนโลยีดังกล่าว ได้แก่ blockchain หรือที่รู้จักกันมากในฐานะ digital asset คือ bitcoin 

 หลายคนอาจสงสัยว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยยังไง และอย่างไร

Cryptocurrency หรือสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันในลักษณะที่เป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยน ข้อดีของการใช้ Cryptocurrency คือมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนการทำธุรกรรม และมีความปลอดภัย เนื่องจากเป็นการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า blockchain ที่เริ่มมีการใช้กันมาตั้งแต่ประมาณทศวรรษที่แล้ว การทำงานของระบบ blockchain เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลที่ “บัญชีการทำธุรกรรม” (Ledger) จะถูกกระจายไปเก็บไว้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ส่วนบุคคลจำนวนมหาศาล ที่ใครก็ตามในเครือข่ายสามารถเห็นได้ในเวลาทันทีทันใดที่ธุรกรรมนั้นเกิดขึ้น

โดยจุดใช้งานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้จะบันทึกธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในลักษณะ “บล็อก” (Block) และบันทึกธุรกรรมแรกที่ถือเกิดขึ้น ร้อยต่อๆ ธุรกรรมทั้งหมดกันเป็นห่วงโซ่ (Chain) ที่แต่ละบล็อกในห่วงโซ่จะถูกสร้างรหัสล็อกข้อมูลด้วยระบบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ความปลอดภัย เหมือนกับการจัดเก็บทางกายภาพคล้ายเข้าไว้ในตู้เซฟที่มีรหัสกำหนดเฉพาะ จึงมั่นใจว่าเป็นธุรกรรมของแท้ และสามารถยืนยันธุรกรรมและตรวจสอบหลังจากนั้นว่าถูกต้อง

เป็นแบบนี้แล้วธุรกรรมต่างๆ จึงสามารถเกิดขึ้นได้รวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ โปร่งใส โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางหรือบุคคลที่สาม ที่มีความเสี่ยงเรื่องการหลุดรั่วของข้อมูลให้เกิดการขายข้อมูลได้ ผู้ทำธุรกรรม 2 ฝ่ายสามารถส่งสำเนาข้อมูลต่างๆ ระหว่างกันเพื่อสร้างความไว้วางใจด้วยระบบนี้ การปลอมแปลงธุรกรรมในแต่ละบล็อกจึงทำได้ยากในทางเทคนิค และสามารถรับรู้หากมีการโจรกรรมข้อมูลได้ทันเวลา

อย่างไรก็ดี หากยังไม่พูดถึงข้อวิตกกังวลของ digital asset ในมุมมองของเรื่องการควบคุมของทางการ ที่จะทำได้ยากขึ้น และต้นทุนของเทคโนโลยีนี้สูง เราจะถือว่าการใช้ digital asset หรือ Cryptocurrency นี้ ตอบโจทย์ในการลดและปรามการทุจริตได้ในหลายแง่มุมเลยทีเดียว เพราะถ้าเจ้าของอนุญาตให้เข้าดูข้อมูลได้ ก็สามารถติดตามการไหลเข้า-ออกของเงินในสินทรัพย์ดิจิทัลนี้ได้โดยละเอียด โดยที่ผู้สนับสนุนสินทรัพย์ดิจิทัลก็ขยายความถึงข้อโต้แย้งว่า การใช้สินทรัพย์นี้ในวงการอาชญากรรม การฟอกเงิน จะทำได้ง่าย สะดวก และตามจับได้ยากนั้น แต่เมื่อใดก็ตามที่สินทรัพย์นี้มีการถ่ายเปลี่ยนมือในตลาด ก็จะสามารถเข้าไปตรวจสอบบันทึกรายธุรกรรมได้ว่ามีที่มาที่ไปถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่  

ศักยภาพในการป้องปรามการเกิดทุจริตคอร์รัปชันของสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น มีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อเชื่อมโยงกับระบบ blockchain ในระบบงานที่ต้องการสร้างความรัดกุม ปิดความเสี่ยงของการเกิดทุจริตคอร์รัปชันนั้นๆ ตัวอย่างระบบงานภาครัฐที่มีการพูดถึงได้เริ่มใช้เทคโนโลยีนี้บ้างแล้ว เช่น ในหลายประเทศนำร่องด้วยระบบจดทะเบียนที่ดิน ที่ไม่ใช้ระบบกระดาษในการจัดเก็บ รายการทะเบียนที่ดินและกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เพื่อป้องกันการฉ้อโกงและการทุจริต และระบบการยืนยันตัวตนในการลงคะแนนและแอปพลิเคชันส่วนตัว เช่น ธุรกรรมการเงิน การจัดการ supply chain เป็นต้น

สำหรับในประเทศกำลังพัฒนาที่มีโอกาสจะเกิดการทุจริตมากในการใช้จ่ายเงินภาครัฐจำนวนมากในโครงการทั้งขนาดเล็กไปถึงขนาดประเทศ การใช้ Cryptocurrency หรือสินทรัพย์ดิจิทัลนี้ สามารถติดตาม end beneficiary ได้อย่างถูกต้อง เพราะข้อมูลธุรกรรมจะอยู่ในระบบอย่างคงทนตลอดไป สามารถตามไปจับกุมผู้กระทำความผิดได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี อุปสรรคที่ยังไม่ได้มีการใช้ Cryptocurrency หรือสินทรัพย์ดิจิทัลกันอย่างจริงจัง นอกจากจะเป็นเรื่องการลงทุนให้มีต้นทุนเทคโนโลยีลดลงแล้ว ยังเป็นเรื่องความชัดเจนในแต่ละบริบททางการควบคุม ประเด็นข้อกฎหมาย ประเด็นภาษี ว่าได้ชั่งน้ำหนักข้อดีคุ้มกับข้อเสียออกมาชัดๆ ได้หรือยัง.

 

โดย ดร.สิงห์ชัย บุณยโยธิน

​​​​​​​​กลุ่มงานนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ฟีฟ่า'ลงบทความ ชื่นชมฟุตซอลไทย และการเป็นเจ้าภาพที่ยอดเยี่ยม

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือฟีฟ่า เขียนบทความชื่นชม ฟุตซอลทีมชาติไทย ที่มีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2012 ที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขัน FIFA Futsal World Cup

สมหมาย ภาษี -อดีตรมว.คลัง รัฐบาล-ฝ่ายการเมืองต้องหยุด ยุ่มย่าม ก้าวก่าย “แบงก์ชาติ”

การขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี หลังได้”ขุนคลังคนใหม่-พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง”หลังจากนี้จะเป็นอย่างไร น่าติดตามอย่างยิ่ง

คนเถื่อนที่ไร้ธรรม .. ในวิกฤตการณ์โลกเดือด!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในภาวะวิกฤตการณ์ดินฟ้าอากาศแปรปรวน ก่อเกิดสภาวะโลกร้อน (Global warming) อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือนกระจก

ส่อเลื่อนประชามติ รอแก้กฎหมาย ร่างรธน.ฉบับใหม่ ต้องไม่จุดไฟความขัดแย้ง

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา รับทราบ รายงานผลการดำเนินงานของ”คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ

บทธรรมดับโลกร้อน .. ที่นักปกครองต้องอ่าน!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. โลกกำลังเข้าสู่ห้วงธรรมวิกฤต.. ที่มนุษยชาติประพฤติตนอยู่ในมิจฉาทิฏฐิ มีความโลภที่รุนแรงและราคะความกำหนัดที่ผิดธรรม .. เป็นส่วนใหญ่

กกต.เริ่มขยับ พร้อมงัด 'กฎเหล็ก' คุมเข้มเลือก สว. 2567

ความเคลื่อนไหวการได้มาซึ่ง "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคารที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา