ประวัติศาสตร์ของปัจจุบัน: เรื่องพรรคประชาธิปัตย์ กับ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 (ตอนที่ 6: พรรคประชาธิปัตย์ในสายตา อัลจาซีรา ในปี พ.ศ. 2554 )

 

ตามข้อมูลในวิกิพีเดีย กล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ว่า  “พรรคประชาธิปัตย์ (ย่อ: ปชป.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งขึ้นในฐานะพรรคฝ่ายกษัตริย์นิยม และปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายอนุรักษนิยม” โดยมีเชิงอรรถอ้างอิง 4 รายการ คือ

ก.  "Demise of the Democrat Party in Thailand". ของ Joshua Kurlantzick (โจชัว เคอร์แลนต์ซิค) สังกัดองค์กรอิสระที่ชื่อ Council on Foreign Relations

ข.  "Democrat Party (DP) / Phak Prachathipat".. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020. Of the four ruling coalition parties in 1987, the Democrat Party was considered to be somewhat liberal, despite its beginning in 1946 as a conservative, monarchist party. ขององคกรอิสระที่ชื่อ GlobalSecurity.org 

ค. "Thailand's main political parties". Al Jazeera. 3 July 2011. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020. Prime Minister Abhisit Vejjajiva's ruling Democrat Party was founded in 1946. It is conservative, pro-monarchy and establishment, backed by the military and most of the Bangkok-based elite.

ง. Bunbongkarn, Suchit (1999), "Thailand: Democracy Under Siege", Driven by Growth: Political Change in the Asia-Pacific Region, M.E. Sharpe, p. 173, ISBN 9780765633446         

ผู้เขียนได้เข้าไปค้นดูบทความของ 3 รายการแรกไปแล้ว รวมทั้งสืบค้นประวัติของ 2 องค์กร อันได้แก่ Council on Foreign Relations และ GlobalSecurity.org

ข้อเขียนของคุณ โจชัว เคอร์แลนต์ซิค น่าเชื่อถือด้วยเหตุผลที่ว่า มีตัวตนจริง และมีข้อเขียนเกี่ยวกับการเมืองไทยมาตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรเป็นอย่างน้อย และมีการประเมินวิเคราะห์ที่กล่าวได้ว่ามีความเป็นกลาง คือไม่ได้ไม่เห็นข้อเสียในการบริหารประเทศของทักษิณ   

ส่วนข้อเขียนเรื่อง "Democrat Party (DP) / Phak Prachathipat" ของ GlobalSecurity.org จะมีข้อควรตระหนักคือ ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน เพียงแต่บอกว่าเป็นขององค์กร และไม่ปรากฎว่าเคยศึกษาหรือเคยเขียนเกี่ยวกับการเมืองไทยมามากน้อยแค่ไหน อีกทั้งเป็นองค์กรที่เพิ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543         

ในบทความของ GlobalSecurity.org มีการกล่าวว่า “พรรคประชาธิปัตย์ในตอนเริ่มต้นจะอยู่ในฐานะที่เป็นพรรคอนุรักษ์นิยม ที่เป็น monarchist party”  แต่สิ่งที่วิกิพีเดียไม่ได้นำความเห็นของ GlobalSecurity.org ที่กล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ที่มีจุดยืนแบบเสรีนิยม เพราะมีตอนหนึ่งที่ GlobalSecurity.org กล่าวว่า “จุดยืนของพรรคประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2530 ถ้าพิจารณาพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสี่พรรค พรรคประชาธิปัตย์ถือว่าค่อนข้างเป็นเสรีนิยม”

ส่วนบทความที่สามเรื่อง "Thailand's main political parties" ที่กล่าวว่า “พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคอนุรักษ์นิยม โปร-สถาบันกษัตริย์และกลุ่มอำนาจที่ดำรงอยู่ และได้รับการหนุนหลังโดยกองทัพและชนชั้นนำในกรุงเทพฯ”   บทความที่ว่านี้เป็นของสำนักข่าว อัลจาซีรา (Al Jazeera)

ซึ่งผู้เขียนมีข้อพึงสังเกตในลักษณะเดียวกันกับ GlobalSecurity.org คือไม่ปรากฎชื่อผู้เขียนที่คนอ่านพอจะตรวจสอบได้ว่า เคยเขียนเกี่ยวกับการเมืองไทยหรือการเมืองประเทศอื่นไว้อย่างไร

ขณะเดียวกัน ในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสำนักข่าวนี้ ผู้เขียนได้รับข้อมูลจากคุณ Nick Poolsaad เพื่อนในเฟสบุ๊คที่ส่งมาให้ จะเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพียงไร ขอให้ท่านผู้อ่านได้พิจารณาเอง

“อัลจาซีรา เชื่อถือได้แค่ไหน ? โพสต์โดย Phillip Meylan 15 กันยายน 2022

อัลจาซีราโดดเด่นในเวทีระหว่างประเทศในฐานะหนึ่งในองค์กรข่าวที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษแบบตะวันตกไม่กี่แห่งที่ได้รับความนิยม นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี 1996 (พ.ศ. 2539) ได้รองรับผู้ชมชาวอาหรับและผู้ชมจากต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การรายงานดังกล่าวไม่ได้ไม่มีข้อถกเถียงโต้แย้ง  เนื่องจากอัลจาซีรามีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลกาตาร์ สิ่งนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า  การรายงานข่าวหรือบทวิเคราะห์ของอัลจาซีรามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีความครอบคลุมแค่ไหน และมีความลำเอียงมากน้อยเพียงใด ?

จากแหล่งที่ทำการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงของข่าวมากกว่า 10,000 เรื่องทุกวัน เพื่อช่วยให้ผู้อ่านค้นหาบทความที่มีข้อมูลมากที่สุดและมีอคติน้อยที่สุด อัลกอริทึมการให้คะแนนข่าวจะให้คะแนนบทความแต่ละบทความตามสี่ตัววัด ได้แก่:  (1) แหล่งที่มาและคำพูดที่อ้างถึง  (2) ประวัติการตีพิมพ์ (3) โทนการเขียน และ (4) ความเชี่ยวชาญของผู้เขียน     

คะแนนเหล่านี้จะถูกนำมารวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยที่เรียกว่า Factual Grade ซึ่งมีตั้งแต่ 0–100%

ในการสำรวจตรวจสอบนี้ ได้วิเคราะห์บทความประมาณ 1,000 บทความจากแหล่งข่าว 240 แหล่ง เกรดโดยเฉลี่ยสำหรับชุดข้อมูลทั้งหมดคือ 62.5% จากค่าเฉลี่ยเหล่านี้ ทำให้สามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพของไซต์ข่าวในระบบการนำเสนอข่าวของสื่อต่างๆได้

อัลจาซีราเชื่อถือได้แค่ไหน?         

Al Jazeera ทำคะแนน เกรดข้อเท็จจริง Factual Grade เฉลี่ยที่ 59.3% ซึ่งอยู่ในเปอร์เซ็นไทล์ที่ 23 ในชุดข้อมูลที่ทำการสำรวจ

ในกรณีของ Al Jazeera คะแนนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเหล่านี้อาจมาจากบทความที่ไม่มีผู้เขียนที่สามารถระบุตัวตนได้ ดังนั้นจึงได้รับคะแนนต่ำสำหรับความเชี่ยวชาญของผู้เขียน บทความจำนวนมากยังขาดไฮเปอร์ลิงก์ไปยังเรื่องราวอื่นๆ ในหัวข้อเดียวกัน ทำให้คะแนนโดยรวมสำหรับคุณภาพของแหล่งข้อมูลลดลง อย่างไรก็ตาม บทความจากอัลจาซีราส่วนใหญ่ใช้ภาษาที่เป็นกลาง      

เช่นเดียวกับแหล่งข่าวอื่น ๆ คะแนนสำหรับบทความจาก อัลจาซีรา นั้นแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น ความเชี่ยวชาญของผู้เขียนและหลักฐานที่อ้างอิง ตัวอย่างเช่น บางคนทำคะแนนได้สูงกว่า 80% ในขณะที่บางคนทำคะแนนได้ต่ำกว่า 50%

ใครเป็นผู้บริหารอัลจาซีรา ?  ประธานคือชีค ชีคฮามัด บิน ทาเมอร์ อัล ธานี ภายใต้    “โมสเตฟา ซูอัก” ซึ่งเป็นองค์กร "มูลนิธิส่วนตัวเพื่อสาธารณประโยชน์"  ภายใต้กฎหมายกาตาร์  ประเภทของกิจกรรมคือ การเผยแพร่ข่าว การอภิปราย และเป็นสื่อของรัฐ นั่นคือ ประเทศกาตาร์

ในเรื่องรายได้ อัลจาซีราต่างจากรายการข่าวทางเคเบิลอื่นๆ เพราะอัลจาซีรามีจำนวนเงินเกือบไม่จำกัด ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลที่มั่งคั่งด้านน้ำมันและก๊าซของกาตาร์ ซึ่งหมายความว่าผู้บริหารของ Al Jazeera America จะไม่ต้องลำบากยากแค้นในการขายโฆษณาต่างๆ แถมยังลดจำนวนโฆษณาต่อชั่วโมงลงครึ่งหนึ่งอีกด้วย   

ใครเป็นผู้ควบคุมอัลจาซีรา ?  ผู้มีอำนาจควบคุมเด็ดขาด คือ ชีคฮามัด บินทาเมอร์ อัลธานี

ผลที่เกิดขึ้นจากการมีสำนักข่าวอัลจาซีรา คือ ทำให้คนในตะวันออกกลางได้เรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการเมืองของตะวันตกมากกว่าจากแหล่งอื่นๆ และแน่นอนว่า อัลจาซีราจะได้เปรียบสำนักข่าวตะวันตกในการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบางพื้นที่ในตะวันออกกลางที่ผู้สื่อข่าวสำนักอื่นไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย

ในตอนต่อไป จะได้กล่าวถึงรายการอ้างอิงสุดท้ายที่กล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์ว่าเป็น  “พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองไทยที่เก่าแก่ที่สุด ก่อตั้งขึ้นในฐานะพรรคฝ่ายกษัตริย์นิยม และปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายอนุรักษนิยม”  อันเป็นรายการอ้างอิงที่น่าสนใจที่สุด เพราะเป็นรายการอ้างอิงเดียวที่เป็นคนไทย และที่สำคัญคือ ท่านเป็นศาสตราจารย์กิตติคุณทางรัฐศาสตร์ และอดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 23: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)

ผู้เขียนขอหยิบยกรายงานจากสถานทูตอื่นๆที่มีต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อจากตอนที่แล้ว โดยผู้เขียนได้คัดลอกมาจากหนังสือ

คมกริบ! 'อ.ไชยันต์' ซัดคนอำมหิตที่แท้จริงคือ ผู้ได้ประโยชน์จากกลุ่มเยาวชนต่อต้านสถาบัน

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผู้ที่ให้การสนับสนุน-อยู่เบื้องหลังเยาวชนที่ออกมาประท้วงด้วยอาการและอารมณ์ที่รุนแรง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 10)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'ชนินทร์' ร้องนายกฯอย่าทิ้งผู้ปกครองช่วงเปิดเทอม ดูแลราคาสินค้า

นายชนินทร์ รุ่งแสง รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีต สส.กทม. และประธานกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่าในช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลเปิดเทอมของนักเรียนนักศึกษา

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 22: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)

(ต่อจากตอนที่แล้ว) ในรายงานวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ของพันโท อองรี รูซ์ ผู้ช่วยทูตทหารบกและทหารเรือประจำสยาม ประจำสถานอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำสยาม มีความว่า

'ชาญชัย' จับโป๊ะ 'เศรษฐา-แพทองธาร' กางเอกสารมัดตัวก่อหนี้ประเทศ

'ชาญชัย' จับโป๊ะ 'นายกฯ-รมว.การคลัง' กางแผนก่อหนี้สาธารณะ 4 ปี จ่อเต็มเพดาน สูงถึง 14.9 ล้านล้านบาท ลั่น! ถ้าเก่งจริงต้องลดหนี้ ฟื้นเศรษฐกิจ ไม่ใช่กู้มาใช้ จี้ทบทวนนโยบายใหม่ อย่าซ้ำรอยค่าเงินบาท ปี 2540