‘ถดถอยเศรษฐกิจทางเทคนิค’ ไม่สำคัญเท่าปากท้องชาวบ้าน

ประเด็นเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย หรือ recession หรือไม่ยังต้องทำความเข้าใจกับมุมมองที่แตกต่างกัน

เพราะการตีความว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ กำลังจะเจอปัญหาหนักถึงขั้นวิกฤตหรือไม่นั้นย่อมมีผลกระทบต่อไทยเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ตัวเลขอัตราโตทางเศรษฐกิจไตรมาสสองของสหรัฐฯ อยู่ที่ -0.9% หลังจากไตรมาสหนึ่งติดลบมาแล้ว 1.6%

อะไรคือตัวที่ทำให้ติดลบ?

การติดลบของการลงทุน

สินค้าคงคลังลดลง

การชะลอตัวของการใช้จ่ายภาครัฐเพราะมีการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

แม้ว่าการบริโภคและการส่งออกยังโตในอัตราใช้ได้ แต่มีสัญญาว่ากำลังชะลอตัวลง

นักวิเคราะห์ที่อ้างว่ายังไม่อาจจะบอกว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ recession เพราะยังมีปัญหาด้านบวกอยู่เหมือนกัน เช่น

ตลาดแรงงานยังดูดี อัตราการว่างงานอยู่ที่ 3.6% ซึ่งต่ำกว่าที่เคยผ่านมาด้วยซ้ำ              

ทางการสหรัฐฯ อ้างว่าตัวเลขการจ้างงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และค่าจ้างก็ยังเพิ่มขึ้น

ถ้าเชื่อว่านี่คือ recession ในขณะที่คนมีงานทำมากขึ้นก็ต้องนิยามคำว่า “เศรษฐกิจถดถอย” ใหม่

เกิดคำล้อเลียนว่าแต่ก่อนเรียกว่า jobless recovery เมื่อหลายปีก่อน

คือการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทั้งๆ ที่คนยังตกงานกันเยอะ

ครั้งนี้จะเรียกว่าเป็น "jobful recession” ได้หรือเปล่า

หรือนี่คือ new normal ความปกติแบบใหม่ที่มีผลจากภาวะ “โลกรวน”

โลกรวนทั้งเรื่องภูมิอากาศธรรมชาติและนิเวศแห่งเศรษฐกิจ

เพราะเอาตำราเก่าๆ มาใช้ไม่ได้อีกต่อไป

เมื่อวานผมเขียนถึง NBER ที่เป็นสถาบันวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจที่ยืนยันว่าสหรัฐฯ ยังไม่เข้าข่าย recession

หน่วยงานนี้ชื่อ Business Cycle Dating Committee ของ National Bureau of Economic Research หรือ NBER

ซึ่งระบุคำนิยามของ “ภาวะเศรษฐกิจถดถอย” ว่าหมายถึง

"ภาวะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลต่อหลายภาคส่วนในเศรษฐกิจ และกินเวลามากกว่าสองสามเดือน...”

นั่นแปลว่า การจะประกาศว่าเป็น “ภาวะถดถอย” นั้นจะมีดัชนีวัดเพียงแค่ตัวเลขติดลบในภาพรวมเท่านั้นไม่ได้

ต้องพิจารณามิติทั้งกว้างและลึก และต้องมีกรอบเวลาที่ยาวพอสมควร

ถ้าเป็นคนไข้ หมอก็ต้องดูทั้งความดัน, ไขมัน, น้ำตาล...และอาการอื่นๆ ในร่างกายที่วินิจฉัยรวมแล้วเข้าข่ายป่วย...และป่วยเป็นโรคร้ายแรงเพียงใด

เขาดูตัวเลขอื่นประกอบด้วยเช่น รายได้ครัวเรือน การจ้างงาน การผลิตภาคอุตสาหกรรม การบริโภค และยอดขายสินค้า

ย้อนกลับไปในอดีต NBER เคยประกาศว่าประเทศเข้าสู่ recession ทั้งสองกรณี

คือในภาวะที่จีพีดีติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน

และในภาวะที่จีดีพีไม่ติดลบ แต่ปัจจัยอื่นมีภาวะเสื่อมทรุดจนเข้าข่าย “ถดถอย”

แต่ในภาวะวันนี้ของสหรัฐฯ ไม่ใช่ว่าไม่น่าเป็นห่วง

เพราะถ้า Fed เอาเงินเฟ้อไม่อยู่ทั้งๆ ที่ขึ้นดอกเบี้ยอย่างแรงต่อเนื่อง ก็แปลว่า “ดื้อยา”

หมอที่เห็นคนไข้ดื้อยาจะต้องคิดหนัก เพราะได้ให้ยาที่ปกติจะแก้อาการโรคได้ แต่ครั้งนี้กลับไม่ได้ผล ทำให้ต้องคิดว่าจะต้องทำอะไรหนักกว่าที่ทำอยู่หรือไม่

เช่น ผ่าตัดและเตรียมห้องไอซียูไว้ให้พร้อม

นักวิเคราะห์จึงเตือนให้จับตาสิ้นปีนี้และต้นปีหน้า

น่าสังเกตว่าในการแถลงข่าวของประธานธนาคารกลาง Jerome Powell ของสหรัฐฯ วันที่ประกาศขึ้นดอกเบี้ยครั้งล่าสุดนั้น เขาบอกว่า spending and production has softened

การใช้จ่ายและการผลิตเริ่มอ่อนตัวลง

Growth in consumer spending has slowed significantly.

การเติบโตของการใช้จ่ายของผู้บริโภคชะลอลงอย่างมีนัยสำคัญ

Activities in housing sector have weakened

ความคึกคักของภาคอสังหาฯ เริ่มอ่อนตัวลง

Business fixed investment also looks to have declined in Q2

การลงทุนของภาคธุรกิจในไตรมาสสองก็ดูเหมือนหดตัวลง

คำว่าอ่อนลง, ชะลอตัว และลดลง เหล่านี้สะท้อนว่า Fed เริ่มเชื่อว่าธนาคารกลางเชื่อว่า “ยาเริ่มออกฤทธิ์” เพื่อให้กิจกรรมเศรษฐกิจชะลอตัวลง

แต่จะมองแค่สหรัฐฯ อย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องหันมามองรอบๆ โดยเศรษฐกิจใหญ่ๆ ที่มีคนกระทบไปทั่ว

ไม่ว่าจะเป็นของยุโรปตะวันตก, จีน, ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ของรัสเซียและอาเซียนเอง

จึงต้องหันไปพิเคราะห์เศรษฐกิจที่กำลังมีปัญหาอย่างของยุโรปตะวันตก เพราะที่กำลังเผชิญปัญหาก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย          

ต้องมองไปที่ญี่ปุ่นที่ก็กำลังร้อนๆ หนาวๆ เพราะต้องเจอกับพิษโควิดหนักกว่าที่คิด

ทุกวันนี้ยังมีการติดโควิดที่ญี่ปุ่นวันละกว่า 2 แสนคน

และอย่าลืมว่าจีนก็กำลังปวดหัวกับภาวะเศรษฐกิจที่ส่งสัญญาณไปในทางน่ากังวล

สาเหตุหนึ่งมาจากนโยบาย “โควิดต้องเป็นศูนย์”

กับปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นข่าวออกมาเป็นระยะๆ ในช่วงนี้

จนรัฐบาลจีนประกาศว่าปีนี้จะไม่มีการประกาศเป้าหมายอัตราโตทางเศรษฐกิจเหมือนทุกปีที่ผ่านมาแล้ว

ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น

นั่นแปลว่า ไม่ว่าสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจแบบ recession แล้วหรือยัง ปัญหาระดับโลกที่โยงกับปากท้องของประชาชนก็ยังหนักหนาสาหัสเป็นอย่างยิ่ง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พม่าจะเดินตามรอยเกาหลีเหนือ? ทำไมจึงมีนักวิเคราะห์บางสายตั้งคำถามนี้?

เพราะมีข่าวหลายกระแสที่บ่งบอกไปในทิศทางที่ว่า ผู้นำทหารพม่ากำลังมองคิม จองอึน แห่งเกาหลีเหนือเป็น “แม่แบบ” ของการสร้างอำนาจต่อรองกับประเทศที่พยายามจะกดดันให้ต้องยอมเสียงเรียกร้องให้กลับไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย

สงครามพม่า: ไทยอาจมีสภาพเหมือน ‘โปแลนด์’ ของสงครามยูเครน?

ข้อสังเกตของอาจารย์สุรชาติ บำรุงสุข ว่าไทยอาจกลายเป็น “โปแลนด์” ในกรณีสงครามกลางเมืองพม่า เป็นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการวางยุทธศาสตร์ของไทยต่อสถานการณ์รอบบ้านเรา

ทำไม IMF กับ Apple ของจีนกันคนละมุม?

สองคนมองสองมุม ผู้อำนวยการ IMF เตือนว่าเศรษฐกิจจีนอยู่ในช่วงมาถึง “ทางสองแพร่ง” ต้องเลือกระหว่างนโยบายในอดีตหรือ “การปฏิรูปตลาด” เพื่อปลดล็อกการเติบโต

ปูติน-เซเลนสกีแลกหมัด กรณีเหตุก่อการร้ายมอสโก

ตกลงใครอยู่เบื้องหลังเหตุก่อการร้ายต่อโรงคอนเสิร์ตชานเมืองมอสโกที่มีคนตายกว่า 130 คนเมื่อค่ำวันศุกร์ที่ผ่านมา จนกลายเป็นเหตุการณ์ระดับโลก?

คำเตือนก่อเหตุร้ายมอสโก มาจากตะวันตกก่อน 2 สัปดาห์

สองสัปดาห์ก่อนเกิดเรื่องใหญ่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สหรัฐฯเตือนคนของตนในรัสเซียให้หลีกเลี่ยงที่ชุมนุมชนในกรุงมอสโกเพราะอาจจะมีการโจมตีของผู้ก่อการร้าย