ยูนิคอร์นตัวที่ 3 ส่งสัญญาณว่าไทยต้องเปลี่ยน

ทำไมคนไทยจึงต้องตื่นเต้นกับคำว่า Unicorn ในแวดวง startups ของประเทศ?

เพราะมันสะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยกำลังจะเข้าสู่ภาวะความเปลี่ยนแปลงที่ถูกกำหนดโดยเทคโนโลยีมากขึ้นทุกที

ก่อนหน้านี้มีคนปรามาสว่าประเทศไทยเราจะสร้าง Unicorn (ธุรกิจสตาร์ทอัปที่มีมูลค่าบริษัทเกิน 1,000 ล้านเหรียญ หรือ 33,000 ล้านบาท) มีแต่อินโดนีเซียและสิงคโปร์ที่ล้ำหน้าไทยไปแล้ว

แต่ในปีนี้เกิดสตาร์ทอัปไทยเป็นยูนิคอร์นใหม่ 3 ตัว

นอกจากดีลนี้จะเรียกความสนใจจากแวดวงการเงินได้สูงมากแล้ว ในอีกด้านหนึ่ง บิทคับ ภายใต้การกุมบังเหียนของคุณจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา Group CEO ก็มีภาพของการเป็น “สตาร์ทอัปไทย” ที่ชัดเจนมากๆ เช่นกัน

ล่าสุดคือ Bitkub ที่มีนักธุรกิจหนุ่มวัย 31 ปี ชื่อจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา กระโจนเข้ามาในจุดนี้เมื่อกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์เข้ามาทุ่ม 17,800 ล้านบาท เพื่อซื้อ 51% ของธุรกิจแพลตฟอร์มซื้อขาย cryptocurrencies แห่งนี้

การที่ไทยเคยถูกมองว่าคงจะสร้างยูนิคอร์นยาก เพราะขาดการสนับสนุนที่เหมาะสม ประกอบกับแนวโน้มการลงทุนจากกองทุนต่างประเทศที่ชะลอตัว ทุนด้านนี้จึงมุ่งไปอินโดนีเซียและเวียดนามมากกว่า

แต่แล้วก็เกิดปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เมื่อมียูนิคอร์น 3 ตัวของไทยผงาดขึ้นอย่างโดดเด่น ได้แก่ แฟลช เอ็กซ์เพรส, Ascend Money และมาถึงรายล่าสุดคือ บิทคับ

เชื่อได้ว่ากรณีล่าสุดจะสร้างแรงกระตุ้นครั้งสำคัญให้กับวงการสตาร์ทอัปไทยให้เกิดแรงฮึดขึ้นมาอีกรอบหนึ่ง

อีกด้านหนึ่งที่ควรวิเคราะห์คือ กรณีเช่นนี้เป็นการบ่งบอกถึงแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอะไรบ้าง

ผู้เชี่ยวชาญหลายวงการเห็นพ้องกันว่า การตัดสินใจของเครือไทยพาณิชย์ครั้งนี้สะท้อนถึงการตระหนักว่าระบบธนาคารดั้งเดิมไม่อาจจะตอบโจทย์ของโลกยุคปัจจุบันได้อีกแล้ว

คุณกรณ์ จาติกวณิช ที่เคยเป็นนักการเงินคนสำคัญของประเทศเขียนในเฟซบุ๊กพูดถึง 5 สัญญาณที่เกิดจากกรณี SCB-Bitkub ที่น่าสนใจว่า

สัญญาณข้อแรก เป็นการยืนยันว่า นายธนาคารมองว่า crypto เป็นส่วนสำคัญใน "อนาคตการเงิน" แน่นอน

นั่นย่อมรวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ที่จะเกิดจากการ synergy ของผลิตภัณฑ์ทางการเงินของธนาคารปัจจุบันร่วมกับสินทรัพย์ดิจิทัล

ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อการบริหารการลงทุนของนักลงทุนไทยในสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลที่จะมีมากขึ้น

ซึ่งต้องติดตามต่อว่าจะทำให้เงินทุนหมุนเวียนในตลาดทุน (ตลาดหลักทรัพย์) ได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน เมื่อนักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นหรือได้รับการชี้ชวนจากสถานบันการเงินเดิมที่ตนเชื่อมั่นและคุ้นเคย

 สัญญาณที่สองคือแนวโน้มจากที่ในอดีตธนาคารพาณิชย์ขยายฐานธุรกิจด้วยการซื้อหรือควบรวมกันเอง     จากนี้เราจะเห็นธนาคารพาณิชย์ซื้ออนาคตด้วยการลงทุนใน alternative finance (การเงินทางเลือกใหม่)

ซึ่งแปลว่าธนาคารที่ขาดวิสัยทัศน์หรือขาดกำลังทุนมีแนวโน้ม" สูญพันธุ์" สูง

การตอบโต้ทางการแข่งขันระหว่างธนาคารพาณิชย์กันเองในเรื่องนี้ จะมีผลสำคัญในการกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมการเงินไทยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 สัญญาณที่สาม เมื่อธนาคารพาณิชย์ขยับ ฝ่ายกำกับดูแลต้องเร่งขยับตาม ไม่ว่าจะเป็นแบงก์ชาติ หรือ ก.ล.ต. ซึ่งวันนี้ยังเกี่ยงความรับผิดชอบกันอยู่ว่าใครมีหน้าที่คุมส่วนไหนของโลกดิจิทัล

การจุดพลุโดยผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดเอง ย่อมกระตุ้นการกำกับให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และการข้ามเส้นระหว่างเครื่องมือการเงิน tradition กับยุคใหม่

คุณกรณ์บอกต่อว่า ถ้ามองว่า crypto currency เป็นส่วนสำคัญของเรื่องการเงินและทรัพย์สินดิจิทัล ของโลก metaverse ประเทศไทยเราก็กำลังขับเคลื่อนไปในทิศทางของ mega trend กระแสโลก โดยเอกชนภาคการเงิน

 สัญญาณที่สี่ ในภาพรวมเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับประเทศไทยที่เราเริ่มมี "ยูนิคอร์น" เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นกำลังใจที่ดีให้กับสตาร์ทอัปไทยอื่นๆ ได้สู้ต่อ

การเกิดดีลนี้ย่อมส่งผลต่อ ecosystem startup ไทย ให้ได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น

จะเห็นว่าสตาร์ทอัปไทยมีศักยภาพในตนเอง หากได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐ ไทยจะสามารถสร้างยูนิคอร์นรายต่อๆ ไปได้เร็วและจำนวนมากที่สามารถแข่งขันกับตลาดโลกที่เปลี่ยนแปลงได้

สัญญาณที่ห้าเกี่ยวกับความท้าทายเดียวที่น่าเป็นห่วงคือ กฎระเบียบจากฝ่ายกำกับที่ถูกขับดันจากผู้เล่นรายใหญ่เดิมจะต้องไม่เป็นการกีดกันโอกาสการเติบโตของ startup รายย่อยด้วยเช่นกัน

แต่ต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการแข่งขันแบบ “เศรษฐกิจเพื่อคนตัวเล็ก” ทั้งในประเทศเอง และในตลาดโลก ซึ่งจะเป็นตัวแปรสำคัญและเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในยุคที่โลกถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี หรือการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลนี้ได้

คุณกรณ์สรุปว่าทั้งหมดนี้เป็นมุมมองสัญญาณในฐานะรุ่นพี่จากโลกการเงิน จากอดีตคนกำกับนโยบายการคลังของชาติ และในฐานะหัวหน้าพรรคการเมืองที่มองว่า "เศรษฐกิจไทย" อย่างไรเสียก็ต้องก้าวเข้าสู่ยุคการเงินดิจิทัลที่เต็มไปด้วยโอกาส และการท้าทาย

สำคัญที่สุด ผู้บริหารภาครัฐต้องตามให้ทัน รู้ให้ลึก และสร้างประโยชน์ให้ตกแก่คนไทยให้ได้

เป็นภาพสะท้อนความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะตามมาอีกมากมายหลายด้านอย่างปฏิเสธไม่ได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใครคุม ครม.เศรษฐกิจ?

นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน บอกว่าจะเรียกประชุม “คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอย่างไม่เป็นทางการ” วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคมนี้

ความสูญเสียผู้นำฉับพลัน เป็นช็อกครั้งใหญ่ของอิหร่าน

เป็นข่าวที่สร้างความตื่นตะลึงให้กับกลุ่มผู้มีอำนาจไม่น้อยทีเดียวเมื่อประธานาธิบดีอิหร่าน เอบราฮิม ไรซี เสียชีวิตในอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะสำหรับผู้นำสูงสุด อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี

สถานการณ์สู้รบพม่าเปลี่ยน ดันให้หลายชาติปรับท่าที

สถานการณ์ในเมียนมามีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา จึงน่าสนใจว่า นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน จะทำอย่างไรกับคณะกรรมการพิเศษที่ตั้งขึ้นเพื่อติดตามและกำกับทิศทางของเรื่องร้อนนี้

สี จิ้นผิงกอดปูติน: ส่งสัญญาณ ‘นี่คือระเบียบโลกใหม่ที่มี 2 ขั้ว’

ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียเยือนจีนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาตอกย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า “สองสหาย” แห่ง “ระเบียบโลกใหม่” ต้องการจะบอกชาวโลกว่ายุคสมัยแห่งการมีโลกที่สหรัฐฯและตะวันตกเป็นผู้กำหนด ทิศทางการเมืองระหว่างประเทศนั้นกำลังสิ้นสุดลง

จีนกังวลโครงการท่าเรือในพม่า ขณะที่การสู้รบในยะไข่ยังเดือด

สมรภูมิที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในพม่าวันนี้คือรัฐยะไข่ที่กองทัพอาระกันสามารถเอาชนะทหารรัฐบาลพม่าในหลายแนวรบ ขณะที่ยังมีความซับซ้อนของการเมืองท้องถิ่นและโยงไปถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจของจีนด้วย