ตำรวจ…ผู้รักษาศีล

    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมเขียนถึงเรื่องการชุมนุมและประท้วงในประเทศอิหร่าน เกิดจากการเสียชีวิตของ Masha Amini ตอนที่หน่วย Morality Police ไปรวบ Amini และขังในสถาน “ปรับทัศนคติ” เพราะ Amini ไม่สวมใส่ Hijab “ถูกลักษณะ” ปรากฏว่า Amini เสียชีวิตหลังจากถูกปล่อยออกจากสถาน “ปรับทัศนคติ” จากการถูกซ้อม ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นฝีมือเจ้าหน้าที่ เลยเกิดการประท้วงและชุมนุมขึ้นมา จากผู้ไม่ทนและกลุ่มคนในอิหร่าน ที่หวังว่าการกระทำแบบนี้ “จะจบที่รุ่นเรา”

    จากการอ่านข่าวเรื่องการชุมนุม ผมค้นพบความรู้ใหม่ ว่าการโกนศีรษะและตัดผมของสุภาพสตรีในกลุ่มประเทศ Persia เป็นการแสดงทั้ง ไว้อาลัย ความโศกเศร้าเสียใจ และความโกรธแค้น เราถึงเห็นภาพผู้หญิงออกมาตัดผมและโกนศีรษะตัวเอง ท่ามกลางการชุมนุม และจากการอ่านข่าวเรื่องนี้ ทำให้ผมสงสัยขึ้นมาว่า นอกจากประเทศอิหร่าน มีอีกสักกี่ประเทศที่มีกองหรือหน่วยพิเศษ Morality Police บ้าง

    เริ่มจากประเทศอิหร่าน หน่วย Morality Police ของเขาจะเรียก Gasht-e Ershard (ในภาษาท้องถิ่นจะแปลว่า Guidance Patrols) อย่างเป็นทางการ หน้าที่หลักของหน่วยนี้คือ รักษามาตรฐาน และรักษาศีลของประชาชน สำหรับผู้หญิงที่โพกหัวหรือปิดตัวไม่ “เหมาะสม” หรือผู้ชายที่ไว้ทรงผมหรือแต่งตัว “ตะวันตกเกินไป” ทางหน่วยนี้จะรวบ คนดังกล่าวไปสถาน “ปรับทัศนคติ” และจะติวเข้มผู้ถูกรวบทั้งหลายเรื่องหลักศาสนาอิสลาม และวิธีการวางตัว แต่งตัว และทำตัว “ถูกต้อง” ตามหลักศาสนา

    วิธีการทำงานของหน่วยนี้คือ จะสุ่มตัวตามมหาวิทยาลัย หรือตามย่านที่มีห้างสรรพสินค้า ร้านค้า ร้านอาหารเยอะๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถานที่ที่หนุ่มสาวไปเที่ยวกัน แล้วถ้าเจ้าหน้าที่หน่วยนี้เจอใครที่เขาคิดว่าแต่งกายไม่เหมาะสม เขาจะไปรวบ หรือจะไปประณาม หรือให้ผู้นั้นเสียค่าปรับ ก็แล้วแต่ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งก็อีกครับ การไปรวบ ไปประณาม หรือไปปรับผู้ที่แต่งกาย “ไม่เหมาะสม” นั้น ส่วนใหญ่ไม่มีบรรทัดฐานอะไร ส่วนใหญ่มันคือตามความรู้สึกของเจ้าหน้าที่ Gasht-e Ershard ที่อยู่ตรงนั้น ผมจึงเข้าใจว่าทำไมคนอิหร่านในยุคนี้อยากให้เรื่องนี้ “จบที่รุ่นเรา”

    หน่วย Gasht-e Ershard ไม่ได้มีเพียงผู้ชายล้วนๆ เขามีเจ้าหน้าที่ผู้หญิงเยอะอยู่พอสมควร จริงๆ แล้วหน่วยนี้ไม่มีอำนาจจับใครหรือรวบใคร หน่วยนี้ทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาให้กับตำรวจอีกครั้งหนึ่ง ถ้าหน่วยนี้เจออะไรที่ “เป็นภัยต่อศาสนาอิสลาม” เขามีหน้าที่รายงานให้กับตำรวจ แล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่ของตำรวจดำเนินงานต่อ แต่อย่างว่าครับ หน่วย Gasht-e Ershad ถูกสนับสนุนจาก Basij ซึ่งเป็นกองกำลังสำคัญในกองทัพอิหร่าน และเจ้าหน้าที่ Gasht-e Ershard ก็มาจากหน่วย Basij เยอะ ดังนั้นเขาก็จะมีอำนาจ “พิเศษ”

    ประเทศถัดมาคือซาอุดีอาระเบีย Morality Police ของเขาจะเรียกว่า Committee for the Promotion of Virtue and Prevention of Vice หรือจะเรียกอีกนามหนึ่งว่า Mutawa

    Mutawa ก่อตั้งมาเมื่อ ค.ศ.1940 แล้วทำหน้าที่รักษาศีลของประชาชน หลักๆ หน่วยนี้จะเฝ้าระวังการคลุกคลีของหญิงและชายที่ไม่ใช่ญาติกันหรือแต่งงานกัน เช่นเดียวกับที่ประเทศอิหร่าน หน่วยนี้เฝ้าระวังการแต่งกายของสุภาพสตรี ถึงแม้กลุ่มหนุ่มสาวยุคใหม่จะระแวงหน่วยนี้ แต่เขาไม่กลัวเท่ากับคนอิหร่านกลัว Morality Police ของเขา

    คนส่วนใหญ่ในซาอุฯ ชอบการทำงานของ Mutawa แต่มีหลายคนบ่นเรื่องความหัวโบราณ ความเคร่ง และความอนุรักษ์สุดโต่งของหน่วยนี้ ที่ไม่อาจเข้ากับโลกยุคใหม่ เช่น การรวบนักแสดงคนหนึ่งเพราะเขาอนุญาตให้แฟนๆ ถ่ายเซลฟีกับเขา เช่นเดียวกับที่ประเทศอิหร่าน ทาง Mutawa ไม่มีอำนาจจับหรือรวบ “ผู้กระทำผิด” เขามีหน้าที่รายงานให้ตำรวจ แต่ก็แล้วอีกครับ Mutawa มีอำนาจพิเศษในมือ เขาสามารถขัง “ผู้กระทำผิด” โดยไม่กำหนดวันปล่อยก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นคนซาอุฯ เอง หรือต่างชาติที่อยู่ในซาอุฯ

    ประเทศถัดมาคือ Sudan หน่วย Morality Police ของเขาจะเรียกว่า Public Order Police หน่วยนี้ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1993 เพื่อรักษาหลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด เขามีหน้าที่และอำนาจจับกุม “ผู้กระทำผิด” และสามารถส่งไปยังศาลพิเศษที่ดูแลคดีแบบนี้โดยตรง ซึ่งเรียกว่า Public Order Courts ส่วนใหญ่ “ผู้กระทำผิด” จะถูกเฆี่ยนตี หรือจะถูกขังเป็นการลงโทษ เมื่อศาลวินิจฉัยว่า “ผู้กระทำผิด” ทำผิด “จริง”

    หน่วย Public Order Police ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของคน Sudan เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบุกงานเลี้ยงภายในครอบครัวที่บังเอิญมีผู้หญิงกับผู้ชายร่วมงานด้วย ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเขากำลังมีเพศสัมพันธ์เป็นหมู่ หรือมั่วสุมยาเสพติด เป็นเพียงงานเลี้ยงทั่วไปที่มีหญิงและชายร่วมงานกัน ในบางครั้งหน่วยนี้จะบุกปิดกิจการที่เขา (Public Order Police) สันนิษฐานว่ามีการกระทำที่ไม่ “เหมาะสม” หรือเป็น “ภัยอันตราย” ต่อศาสนา

    ประเทศสุดท้ายในวันนี้คือ มาเลเซีย ที่มาเลเซีย เขาไม่มีหน่วยกำลังพิเศษ Morality Police ระดับประเทศ แต่ตามรัฐต่างๆ เขาจะมีหน่วยทำหน้าที่ตรงนี้ต่างหาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกว่า Religious Officers หน้าที่หลักๆ ของ Religious Officers คือรักษาศีลของประชาชนเช่นเดียวกัน เขามีอำนาจรวบ “ผู้กระทำผิด” เช่น แอบกินอาหาร หรือดื่มน้ำ ในช่วงเดือนศีลอด หรือหญิงและชายที่ไม่ใช่ญาติ หรือสามีภรรยา อยู่ใกล้เคียงกัน

    “ผู้กระทำผิด” จะถูกส่งไปที่ศาลพิเศษที่อยู่นอกกระบวนการยุติธรรม นั่นคือศาล Sharia หรือ Syariah Court ศาลนี้จะมีอำนาจ ต่อผู้นับถือถือศาสนาอิสลามในประเทศมาเลเซียเท่านั้น การลงโทษหนักสุดคือ จำคุก 3 ปี หรือถูกเฆี่ยนตี

    วันนี้ถือว่าเป็นการให้ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับเรื่องที่ผ่านตาเวลาอ่านข่าว แต่ยอมรับว่าไม่เคยใส่ใจเท่าไหร่นัก จนกระทั่งข่าวเรื่องการชุมนุมในประเทศอิหร่าน ทำให้ผมสงสัยขึ้นมาว่า Morality Police ที่เป็นข่าว มันคือหน่วยอะไร มาจากไหน อย่างไร บวกกับบรรดากลุ่มคนที่มักโจมตีสิทธิเสรีภาพในบ้านเรา ว่าถูกขโมยไปบ้าง ถูกลิดรอนไปบ้าง ผมไม่บอกว่าบ้านเราเพอร์เฟ็กต์ทุกอย่าง มีจุดเสียเยอะที่ทำให้ใส่หน้าได้ พอๆ กับจุดดีเยอะ ที่ทำให้เรารู้สึกโชคดีที่อยู่บ้านเมืองนี้ แต่กับทุกคนที่ชอบบ่น ว่าบ้านเมืองเราเลวร้าย ไม่น่าอยู่ และเป็นที่อับอายของโลก ผมอยากให้พวกคุณลองไปอยู่ประเทศอื่นสักตั้งหนึ่ง เผื่อจะเห็นคุณค่าของประเทศตัวเองบ้าง หรือไปอยู่ในประเทศที่มี Morality Police จะได้ตาสว่าง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Sending a Message หรือ The Calm Before the Storm?

เมื่อสัปดาห์ก่อน ช่วงเวลาที่พวกเราสนุกและพักผ่อนกันเต็มที่ช่วงสงกรานต์นั้น มีเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่มันเกิดได้ทุกเมื่อ และในที่สุดก็เกิดขึ้นจริงๆ ครับ

หลานชายคุณปู่

สวัสดีปีใหม่ไทยครับ ช่วงเขียนคอลัมน์นี้ ผมยังอยู่ที่บ้านเฮา เจออากาศทั้งร้อนมากและร้อนธรรมดา เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเขียนเรื่องการขับรถขึ้นมาบ้านเฮากับลูกสาว

หลานคุณปู่

คอลัมน์สัปดาห์นี้กับสัปดาห์หน้า น่าจะเป็นคอลัมน์เบาๆ ครับ ผมเชื่อว่าแฟนๆ ครึ่งหนึ่งน่าจะหนีร้อนในไทยไปสูดอากาศเย็น (กว่า) ที่อื่น ส่วนใครที่ไม่ไปไหน คงไม่อยากอ่านเรื่องหนักๆ

'แก๊ง'ล้มรัฐบาลได้ด้วยเหรอ? (ตอน 2)

เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเขียนเรื่องราวแก๊งที่ผมสัมผัสและรู้จักสมัยอยู่สหรัฐ สำหรับใครที่ชอบฟังเพลงแนว Gangster Rap ก็คงจะคุ้นเคยกับสิ่งที่ผมเขียนไป แต่สำหรับหลายท่านที่เติบโตคนละยุคคนละสมัยอาจไม่คุ้นเลย

'แก๊ง'ล้มรัฐบาลได้ด้วยเหรอ? (ตอน 1)

ผมมีความรู้สึกว่า ช่วงนี้มีข่าวประเภทแก๊งมีอิทธิพลในประเภทประเทศเอลซัลวาดอร์ โคลอมเบีย และเม็กซิโก มีผลต่อเสถียรภาพการเมืองระดับชาติประเทศเขา

To Shortchange กับ To Feel Shortchanged

จากการเรียกร้องของสาวๆ (สวยๆ) ไทยโพสต์ ผมขออนุญาตสวมหมวกฟุดฟิดฟอไฟวันหนึ่ง เพื่อพูดคุยและอธิบายสไตล์ของผม ถึงคำที่ปรากฏในช่วงต้นสัปดาห์จากนิตยสาร Time ครับ