วันนี้เมื่อปีที่แล้ว ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียประกาศเปิดเกม “ปฏิบัติการพิเศษทางทหาร” ต่อยูเครน
เดิมทีคาดกันว่าคงจะพิชิตศึกได้ภายใน 3 วัน 7 วัน
แต่ผ่านมาหนึ่งปี สงครามนี้กลายเป็นการสู้รบที่หนักที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
อีกทั้งยังกลายเป็นสนามทดลองอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยและมีพลังทำลายล้างสูงที่สุดตั้งแต่มีสงครามในโลกนี้เป็นต้นมา
เราไม่เคยเห็นโดรนที่พัฒนามาทำสงครามในระดับที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงขนาดนี้
ไม่เคยเห็นรถถังยี่ห้อต่าง ๆ ของตะวันตกมารวมตัวกัน ณ ที่เดียวกันเยี่ยงที่กำลังจะเห็น
และเราไม่เคยเห็น NATO ทำสงครามกับรัสเซียผ่านประเทศที่สามอย่างน่าสุ่มเสี่ยงเพียงนี้
และเราก็เพิ่งได้ยินเสียงขู่ว่าอาจจะมีการใช้อาวุธนิวเคลียร์ทั้งแบบ “ยุทธวิธี” (tactical) และ “ยุทธศาสตร์” (strategic) อย่างเปิดเผยจากการเผชิญหน้าครั้งนี้เช่นกัน
ประธานาธิบดีสหรัฐฯโจ ไบเดนและผู้ช่วยระดับสูงย้ำเตือนว่าวอชิงตันมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะสนับสนุนยูเครนให้นานที่สุดและเต็มที่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แต่ก็ไม่ลืมที่จะเตือนว่าเส้นทางการเมืองจะรุนแรงขึ้นเมื่อยูเครนหมดวาระการประชุมรัฐสภาชุดปัจจุบัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุดในฤดูร้อนนี้
ผู้นำตะวันตกบางคนเก็บงำข้อสงสัยเกี่ยวกับการส่งอาวุธหนักบางประเภทไปยังยูเครน
และมีความกังวลเกี่ยวกับการเผชิญหน้าโดยตรงกับรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ปูตินส่งสัญญาณว่าเต็มใจที่จะใช้อาวุธนิวเคลียร์
ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะราบรื่นสำหรับทุกฝ่าย
ไบเดนก็เผชิญกับความท้าทายในด้านอื่นๆ เช่นกัน
ในขณะที่อังกฤษประกาศว่าจะจัดหารถถังให้ยูเครน ในเบื้องต้น เยอรมนีปฏิเสธที่จะส่งรถถัง Leopard 2 ของตนหรืออนุญาตให้ประเทศอื่นโอน Leopards ของตนให้ยูเครน
เว้นแต่ว่าสหรัฐฯ จะตกลงส่งรถถัง M1 Abrams ไปให้ยูเครนพร้อม ๆ กันด้วย
เพราะเยอรมันนีไม่ต้องการมีภาพว่าเป็นผู้หนุนหลังยูเครนในเรื่องรถถังแต่เพียงประเทศเดียว
กลายมาเป็น Tank Coalition หรือพันธมิตรร่วมในการส่งรถถังให้ยูเครน
ก่อนหน้านี้ ตลอดเดือนมกราคม เจ้าหน้าที่เพนตากอนและทำเนียบขาวยืนยันว่า รถถัง M1 Abrams ไม่เหมาะกับกองทหารยูเครน
เพราะต้องใช้งานและบำรุงรักษาซับซ้อนมาก
แต่ขณะเดียวกันไบเดนก็ไม่ต้องการให้เกิดภาพที่ว่ามีร่องรอยความแตกแยกในมวลหมู่พันธมิตรตะวันตก
ขณะที่สหรัฐฯ เตรียมส่งรถถัง31 คันในระยะกลาง ยุโรปกำลังรวบรวมกองพันรถถัง Leopard 2 กองพันอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันใกล้นี้
นั่นเทียบเท่ากับรถถังอย่างน้อย 70 คัน
นักยุทธศาสตร์เชื่อว่านั่นจะเป็นการเคลื่อนไหวที่อาจเปลี่ยนความสมดุลของรถถังในสนามรบ
แต่ประธานาธิบดีปูตินก็เร่งระดมทหารและอาวุธยุทโธปรณ์เต็มอัตราศึก พร้อมจะเผชิญหน้ากับตะวันตกในทุกแนวรบเช่นกัน
ทั้งรัสเซียและยูเครนทุ่มทรัพยากรอย่างหนักเพื่อยึดครองเมืองBakhmut ในภูมิภาค Donbas ตะวันออก
ซึ่งถือว่าเป็น “แนวรบนองเลือด” ของทั้งสองฝ่าย
แม้ว่านักวิเคราะห์และนักวางแผนทางทหารของอเมริกาจะแย้งว่าการทุ่มพละกำลังมหาศาลเพื่อปกป้อง Bakhmut นั้นไม่มีความสำคัญเพียงพอ
จึงเริ่มมีการพูดคุยกันถึงปฏิบัติการในฤดูใบไม้ผลิเพื่อเอาคืนในสิ่งที่สหรัฐฯ มองว่าเป็นดินแดนที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์มากกว่า
แต่เซเลนสกีดูเหมือนจะให้ความสำคัญกับ Bakhmut ในเชิงสัญลักษณ์ไม่น้อย
นายทหารยูเครนบางคนบอกว่าหากสูญเสียเมืองนี้จะทำให้ขวัญกำลังใจของชาวยูเครนพังทลาย
เซเลนสกีประกาศว่ากองกำลังของยูเครนจะ "ต่อสู้ตราบเท่าที่เราทำได้" เพื่อยึดเมืองที่ถูกรัสเซียครอบครองกลับคืนมาให้ได้
นักวางแผนรบฝั่งตะวันตกเคารพในยุทธวิธีของเซเลนสกีแต่ก็กังวลว่าหากยูเครนสู้ตามเกมของรัสเซียก็อาจจะหลงกลและเข้าสู่กับดักของฝ่ายตรงกันข้าม
ทั้งปูตินและเซเลนสกีคงกำลังประเมินยุทธศาสตร์ในสนามรบของตนใหม่
เพราะสงครามที่เข้าสู่ปีที่สองย่อมได้บทเรียนจากความเสียหายของทั้งสองฝ่ายอย่างเจ็บปวดในหลาย ๆ ด้าน
ฤดูใบไม่ผลิที่กำลังมาถึงจึงจะเป็นจุดพลิกผันที่มีความสำคัญต่อชัยชนะและความพ่ายแพ้ของทั้งสองฝ่ายได้
นอกเหนือจาก Bakhmut แล้ว แนวรบที่น่าจะมีความสำคัญกว่ามากคือคาบสมุทรไครเมีย
เพราะไครเมียเป็นทั้ง “สัญลักษณ์” และ “สาระ” ของการสู้รบที่เซเลนสกีต้องการจะยึดคืนจากรัสเซีย
และปูตินต้องการจะรักษาศักดิ์ศรีแห่งการยึดครองคาบสมุทรแห่งนี้
หลังจากที่ปูตินผนวกไครเมียไปตั้งแต่ปี 2014หรือเมื่อ 8 ปีก่อน
แต่ข่าวบางกระแสแจ้งว่าเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ได้สรุปว่า การยึดคาบสมุทรที่รัสเซียได้สร้างป้อมปราการแน่นหนากลับคืนมา ณ จุดนี้เป็นเรื่องเกินขีดความสามารถของกองทัพยูเครนในขณะนี้
ในขณะเดียวกันมีความกังวลในยุโรปว่าความขัดแย้งในยูเครนจะลากยาวไปอย่างไม่มีกำหนด
นั่นย่อมทำให้ตะวันตกมีภาระที่ต้องแบกรับมากเกินไปในขณะที่ต้องต่อสู้กับความท้าทายอื่น ๆ รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่สูงอย่างต่อเนื่องและราคาพลังงานที่ผันผวนตลอด
แต่ดูเหมือนจะมีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่าจะต้องช่วยหนุนเนื่องให้ยูเครนมีศักยภาพทางทหารในการยึดคืนดินแดนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ก่อนที่จะหวังว่าปูตินจะยอมนั่งลงที่โต๊ะเจรจา
อาวุธหนักที่อยู่ในกระบวนการขณะนี้มีตั้งแต่ขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน Patriot และปืนใหญ่เคลื่อนที่เร็วHIMARS รวมถึงยานเกราะจำนวนมาก
ฝ่ายที่มองโลกในแง่ดีมองเห็นหนทางที่ยูเครนจะสกัดกั้นการรุกรานของรัสเซียเพิ่มเติมทางตะวันออก ยึดดินแดนทางใต้คืน และบีบให้รัสเซียเจรจายุติสงครามภายในสิ้นปีนี้
แต่ฝ่ายที่มีความคลางแคลงสงสัยก็กังวลว่าเวลาไม่ได้อยู่ข้างยูเครน
เหตุเพราะรัสเซียส่งกองทหารใหม่หลายแสนนายเข้าสู่สนามรบ รวมทั้งนักโทษ ก่อนการรุกคืบในฤดูใบไม้ผลิที่คาดไว้
เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองของตะวันตกและยูเครนประเมินว่าปัจจุบันรัสเซียมีกองกำลังกว่า 300,000 นายในยูเครน เพิ่มขึ้นจาก 150,000 นายในตอนแรก
โดยมีแผนที่จะเพิ่มอีกหลายแสนนาย
การเปิดเกมรุกใหม่ของรัสเซียในฤดูใบไม้ผลิอาจเห็นกองกำลังหลั่งไหลข้ามพรมแดนเบลารุสและตัดเส้นทางส่งเสบียงทางตะวันตกของยูเครนที่กรุงเคียฟเคยใช้หนุนกำลังทหาร
แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านการทหารที่ช่ำชองก็ยังมองเห็นผลลัพธ์ที่มีความเป็นไปได้มากมายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
ส่วนใหญ่เน้นย้ำว่าสถานการณ์นั้นเปราะบางอย่างยิ่ง
เพราะยังไม่มีความชัดเจนว่าสงครามรอบใหม่จะจบลงอย่างไร หรือจะจบลงด้วยการเจรจาหาข้อยุติหรือไม่
จังหวะครบรอบ 1 ปีของสงครามจึงยังมีคำถามมากมายที่ต้องแสวงหาคำตอบต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน
นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ
เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ
เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ
แหล่งค้ามนุษย์ใน 3 เหลี่ยมทองคำ
เขตเศรษฐกิจพิเศษหรือ SEZ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำที่โยงกับไทยนั้นกลายเป็นประเด็นเรื่องอาชญกรรมข้ามชาติที่สมควรจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยอย่างจริงจัง
ไบเดนหรือทรัมป์? เอเชียน่าจะเลือกใครมากกว่า?
ผมค่อนข้างมั่นใจว่าการดีเบตระหว่างโจ ไบเดน กับโดนัลด์ ทรัมป์ วันนี้ (เวลาอเมริกา) จะไม่ให้ความสำคัญต่อเอเชียหรืออาเซียน
พรุ่งนี้ ลุ้นดีเบตรอบแรก โจ ไบเดนกับโดนัลด์ ทรัมป์
ผมลุ้นการโต้วาทีระหว่างโจ ไบเดน กับโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (27 มิถุนายน) เพราะอยากรู้ว่า “ผู้เฒ่า” สองคนนี้จะมีความแหลมคมว่องไวในการแลกหมัดกันมากน้อยเพียงใด
เธอคือ ‘สหายร่วมรบ’ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค NLD คนสุดท้าย!
อองซาน ซูจีมีอายุ 79 ปีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา...และยังถูกจำขังในฐานะจำเลยของกองทัพพม่าที่ก่อรัฐประหารเมื่อกว่า 3 ปีที่แล้ว