สงครามที่โลกลืม

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบหนึ่งปีเต็มที่รัสเซียบุกยูเครน ด้วยเหตุผลอะไรก็ยังต้องถกเถียงกันว่าสมเหตุสมผลที่ประเทศหนึ่งมีสิทธิเข้าไปละเมิดอธิปไตยของอีกประเทศหนึ่ง ด้วยความชอบธรรมหรือไร้ความชอบธรรม

ส่วนวันเสาร์ เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีไนจีเรีย ที่น่าสนใจเพราะไนจีเรียเป็นประเทศหลักของทวีปแอฟริกา และถ้าสามารถจัดการทิศทาง จัดการปัญหาภายใน และสามารถสร้างความเสถียรภาพได้ ไนจีเรียจะเป็นบรรทัดฐานของประเทศอื่นๆ ในแอฟริกาได้ แต่ก็ต้องดูกันต่อไปว่าผลการเลือกตั้งเป็นเช่นไร แล้วว่าที่ผู้นำของประเทศจะมีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่

ผมชั่งใจอยู่นานมากว่าจะเขียนเรื่องสงคราม หรือเขียนเรื่องการเลือกตั้งในไนจีเรีย แต่พอนึกถึงเรื่องสงคราม รัสเซียกับยูเครนนั้น ทำให้ผมนึกถึงความเย็นชาที่คนทั่วไปมีต่อเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม คนบริโภคข่าวไม่สามารถทุ่มเทจุดความสนใจ หรือทุ่มเทเวลาให้กับเรื่องนี้ตลอด ผมเองต้องยอมรับว่าผมจะหันมาให้ความสนใจกับสงครามนี้ต่อเมื่อมีข่าวประเภทประธานาธิบดียูเครนไปเยือนสหรัฐ ไปเยือนอังกฤษ หรือประธานาธิบดีสหรัฐไปเยือนยูเครน เพราะข่าวเหล่านี้มันแตกแนวออกจากการรายงานเรื่องสงคราม ที่รายงานเป็นรายวันอยู่แล้ว ฟังดูแล้วเหมือนเลือดเย็นอีกครั้งหนึ่ง แต่มันคือความจริงครับ แฟนคอลัมน์คงไม่ต่างจากผมสักเท่าไหร่

พอครบรอบหนึ่งปีของสงครามนี้ คำถามในใจคือ มันเริ่มเข้าข่ายความเป็นสงครามที่โลกลืมหรือยัง?

ผมไม่เชื่อว่าโลกของเราจะลืมได้ง่าย เพราะสหรัฐหนุนหลังยูเครนเต็มที่ ตราบใดที่สหรัฐยังเอี่ยวและยังเกี่ยวข้อง เขาไม่มีทางปล่อยให้โลกลืมสงครามนี้ได้ ส่วนจะทำให้โลกสนใจต่อเนื่อง นั่นอีกเรื่องนึงครับ

ผมก็เลยสงสัยต่อว่า สงครามที่โลก “ลืม” มีที่ไหนบ้าง? แล้วจะต้องทำอย่างไรให้สงครามนั้นๆ เข้าข่ายประเภท “ลืม” ได้?

สงครามแรกที่โลกลืม คือสงคราม Yemen ที่มีสงครามกลางเมืองตั้งแต่ ค.ศ.2014 ในปีนั้น มีรัฐประหารขับไล่ประธานาธิบดี Al-Hadi ออกจากตำแหน่ง สงครามกลางเมืองที่มีต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบสิบปีนั้น เป็นการต่อสู้ระหว่างสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มกบฏ ที่เรียกว่า Huthi กับกองทัพของ Yemen

Huthi มีแรงหนุนจากประเทศอิหร่าน ส่วนกองทัพ Yemen เองถูกหนุนจากซาอุดีอาระเบียและพันธมิตร ดังนั้นการต่อสู้ที่ Yemen ไม่ได้เป็นเพียงการต่อสู้ภายในประเทศ แต่เป็นการต่อสู้วัดอำนาจระหว่างสองขั้วในซีกตะวันออกกลาง ระหว่างขั้วอิหร่านกับขั้วซาอุฯ

จากสงครามกลางเมือง Yemen มีผู้เสียชีวิตทั้งหมดกว่าหนึ่งแสนคน เด็กนักเรียนภายในประเทศกว่าสองล้านคนนั้นต้องหยุดเรียน และประชากรเกือบสี่ล้านคนต้องอพยพออกจากพื้นที่ตัวเอง แต่สิ่งที่หดหู่ไปกว่านั้น ผลจากสงครามกลางเมืองทำให้ประชากรกว่าสิบหกล้านคนนั้นขาดแคลนอาหารและไร้ที่อยู่อาศัย แต่ไม่มีใครพูดถึง เพราะโลก “ลืม”

อีกสงครามหนึ่ง คือสงครามกลางเมืองที่ประเทศ Ethiopia หรือสงครามที่เกิดขึ้นในย่าน Tigray ของประเทศ ที่มีการปะทะกันตั้งแต่ ค.ศ.2020 และมีเหยื่อจากการขาดแคลนอาหารถึงหนึ่งล้านกว่าคน สงครามกลางเมืองในครั้งนี้ ความจริงริเริ่มตั้งแต่ ค.ศ.1994 ด้วยซ้ำ ที่มีการปะทะกันระหว่างเผ่าต่างๆ ในประเทศ

อีกสงครามที่โลกลืม คือสงครามในประเทศ Syria ที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่ ค.ศ.2011 และมีอยู่ช่วงหนึ่งที่โลกให้ความสนใจอย่างยิ่ง แต่ตอนนี้โลกลืมไปเสียแล้วครับ สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากมีการประท้วงประธานาธิบดี Bashar al-Assad เรื่องการบริหารประเทศล้มเหลว ทำให้เกิดอัตราว่างงานสูง เรื่อง corruption และเรื่องกีดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ปรากฏว่า Assad ใช้กำลังจัดการผู้ประท้วง ทำให้เกิดการเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก เลยยิ่งทำให้ประชาชนออกมาประท้วงขับไล่ Assad ออกจากตำแหน่ง

สิ่งที่ทำให้การปะทะในครั้งนี้ยืดเยื้อได้ เป็นเพราะประเทศยักษ์ใหญ่เข้ามาเลือกข้าง ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลคือ อิหร่านกับรัสเซีย ฝ่ายสนับสนุนกองกบฏคือ ตุรกี ประเทศตะวันตก และประเทศตะวันออกกลางบางประเทศ รวมถึงประเทศอิสราเอลด้วยครับ ตอนนี้ในประเทศซีเรียแบ่งออกเป็นหลายพื้นที่ ที่กองกำลังของแต่ละฝ่ายครองอำนาจอยู่ แต่สงครามยังไม่จบครับ ยังมีการปะทะกันอยู่ และจะมีการปะทะกันไปเรื่อยๆ สงครามสามารถจะจบลงได้ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยากให้จบ

มีจดหมายฉบับหนึ่งถูกค้นขึ้นมาระหว่างการปะทะกัน ที่ประเทศ Sudan เมื่อ ค.ศ.1992 ที่ตอนนั้นโลกหันมาสนใจสงครามที่เกิดขึ้นในอ่าวเปอร์เซีย และ Yugoslavia เลยทำให้สงครามใน Sudan ถูกมองข้ามไป จดหมายดังกล่าวเขียนว่า…

“Lucky are the people of Yugoslavia and Somalia as the world’s eyes rest on them. Condemned are the people of Juba for the world is denied access to the town and even does not seem to care anyway. It may be a blessing to die in front of the camera-then at least the world will get to know about it. But it is painful to die or be killed, without anybody knowing about it.”

ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ.1992 รัฐบาลของประธานาธิบดี Omar el-Bashir (ในยุคนั้น) ได้รวบระดับปัญญาชนกว่าสามร้อยคนในเมือง Juba เพราะเขาแสดงจุดยืนและแสดงความคิดเห็นต่อต้านประธานาธิบดี ทางประธานาธิบดีเลยรวบสามร้อยท่านที่ว่า เพื่อไปขัง ไปทำทารุณ และในที่สุดไปประหาร เพราะเป็น “ภัยต่อความมั่นคงของประเทศ” จนถึงบัดนี้ญาติและครอบครัวของผู้เสียชีวิตยังไม่ได้คำตอบจากทางการเรื่องเหตุที่เกิดขึ้น และจนถึงบัดนี้ยังไม่มีทางการหน่วยใดออกมาชี้แจง แสดงความรับผิดชอบ หรือขอโทษต่อเหตุการณ์

ส่วนมีปัจจัยอะไร ทำให้โลกสามารถลืมสงครามได้นั้น เอาไว้ผมเขียนในโอกาสหน้าครับ เพราะเป็นเรื่องน่าสนใจ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Sending a Message หรือ The Calm Before the Storm?

เมื่อสัปดาห์ก่อน ช่วงเวลาที่พวกเราสนุกและพักผ่อนกันเต็มที่ช่วงสงกรานต์นั้น มีเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่มันเกิดได้ทุกเมื่อ และในที่สุดก็เกิดขึ้นจริงๆ ครับ

หลานชายคุณปู่

สวัสดีปีใหม่ไทยครับ ช่วงเขียนคอลัมน์นี้ ผมยังอยู่ที่บ้านเฮา เจออากาศทั้งร้อนมากและร้อนธรรมดา เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเขียนเรื่องการขับรถขึ้นมาบ้านเฮากับลูกสาว

หลานคุณปู่

คอลัมน์สัปดาห์นี้กับสัปดาห์หน้า น่าจะเป็นคอลัมน์เบาๆ ครับ ผมเชื่อว่าแฟนๆ ครึ่งหนึ่งน่าจะหนีร้อนในไทยไปสูดอากาศเย็น (กว่า) ที่อื่น ส่วนใครที่ไม่ไปไหน คงไม่อยากอ่านเรื่องหนักๆ

'แก๊ง'ล้มรัฐบาลได้ด้วยเหรอ? (ตอน 2)

เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมเขียนเรื่องราวแก๊งที่ผมสัมผัสและรู้จักสมัยอยู่สหรัฐ สำหรับใครที่ชอบฟังเพลงแนว Gangster Rap ก็คงจะคุ้นเคยกับสิ่งที่ผมเขียนไป แต่สำหรับหลายท่านที่เติบโตคนละยุคคนละสมัยอาจไม่คุ้นเลย

'แก๊ง'ล้มรัฐบาลได้ด้วยเหรอ? (ตอน 1)

ผมมีความรู้สึกว่า ช่วงนี้มีข่าวประเภทแก๊งมีอิทธิพลในประเภทประเทศเอลซัลวาดอร์ โคลอมเบีย และเม็กซิโก มีผลต่อเสถียรภาพการเมืองระดับชาติประเทศเขา

To Shortchange กับ To Feel Shortchanged

จากการเรียกร้องของสาวๆ (สวยๆ) ไทยโพสต์ ผมขออนุญาตสวมหมวกฟุดฟิดฟอไฟวันหนึ่ง เพื่อพูดคุยและอธิบายสไตล์ของผม ถึงคำที่ปรากฏในช่วงต้นสัปดาห์จากนิตยสาร Time ครับ