ฉากทัศน์ที่น่ากลัวในสงครามยูเครนคือการเผชิญหน้าระหว่างเครื่องบินรบ F-16 ของสหรัฐฯ กับ Su-35 ของรัสเซีย
แต่เมื่อมีเสียงฮึ่มๆ มาจากทั้งสองฝ่ายก็ย่อมสร้างความน่ากังวลสำหรับทั้งโลก
สหรัฐฯ บอกว่าได้เปิดไฟเขียวให้พันธมิตรส่งเครื่องบินรบ F-16 ไปให้ยูเครน
ทันใดนั้นรัสเซียก็โต้ทันทีว่า “อย่าเล่นกับไฟ”
เพราะหากทั้งสองฝ่ายเปิด “ศึกเวหา” เสริมจากที่ปะทะกันทางบก และอาจจะเพิ่มทางทะเลในเร็ววัน ก็จะทำให้สถานการณ์สู้รบขยายวงไปถึงจุดที่ยากแก่การควบคุม
ผู้เชี่ยวชาญด้านสงครามกลางอากาศบอกว่า หากเปรียบมวยระหว่างเครื่องบินรบของสองมหาอำนาจแล้วก็มีความสูสีคู่คี่กันอย่างยิ่ง
หากเป็นเช่นนั้น ในภาษาสงครามย่อมแปลว่าการทำลายล้างต่อกันและกันจะหนักหน่วงและรุนแรงเป็นแน่แท้
Lockheed Martin F-16 Fighting Falcon เป็นเครื่องบินรบแถวหน้าของกองทัพอากาศสหรัฐฯ และพันธมิตรมานานหลายทศวรรษ
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เครื่องบินรุ่นนี้ได้พัฒนาจากเครื่องบินขับไล่ที่มีพิสัยการมองเห็นที่มีน้ำหนักเบา มาเป็นเครื่องบินรบหลายบทบาทที่มีศักยภาพซึ่งบินได้หลากหลายภารกิจ
ตั้งแต่การป้องปรามข้าศึกทางอากาศไปจนการสร้างความเหนือชั้นในสงครามกลางหาว
แม้ว่าจะมีการใช้งานมาตั้งแต่ปี 1980 แต่ "Viper" ยังคงพัฒนาต่อไป และจะยังคงประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ และกองทัพอื่นๆ ต่อไปอีกหลายทศวรรษ
ขณะที่ F-16 ยังคงเป็นเครื่องบินรบที่มีศักยภาพสูง
แต่เครื่องบินรัสเซียรุ่นล่าสุดอย่าง Sukhoi Su-35 ก็มีคุณสมบัติเทียบทันหรือเหนือกว่า Viper ในบางด้านเช่นกัน
Su-35 มีความคล้ายคลึงกับ Boeing F-15 Eagle มากกว่า
แต่รัสเซียก็ขายรุ่นนี้ไปทั่วโลกมากกว่า MiG-29 Fulcrum
Su-35 ถือเป็นรุ่นที่มีความสามารถมากที่สุดที่สร้างขึ้นจนถึงปัจจุบัน
นักบินที่เคยทำการรบบอกว่า Su-35 เป็นภัยคุกคามที่น่าเกรงขามอย่างยิ่งต่อเครื่องบินรบตะวันตกทุกลำที่ยกเว้น F-22 Raptor F-35
ที่สำคัญคือนักบินต้องใช้การล่องหน เซ็นเซอร์ และระบบเครือข่ายให้เป็นประโยชน์เพื่อสร้างความได้เปรียบกลางอากาศ
ความแตกต่างอาจจะอยู่ที่การวางกลยุทธ์และความเข้มข้นของการฝึกอบรม
F-16 ไม่มีเรดาร์ขนาดใหญ่ที่สแกนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (AESA) ที่ได้รับการอัปเกรดล่าสุดของ F-15C
กองทัพอากาศสหรัฐฯ ตระหนักประเด็นนี้ จึงปรับปรุงฝูงบิน F-16 ใหม่อย่างเร่งด่วนด้วยเรดาร์รุ่นใหม่
ประมาณต้นปีนี้ สำนักข่าวสปุตนิกและยูเรเซียนไทม์ส รายงานว่า กลาโหมรัสเซียได้เผยแพร่วิดีโอการต่อสู้ของการใช้ Su-35 Jet โดยบอกว่าเป็นเครื่องบินขับไล่ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดเป็นอันดับสองของรัสเซีย รองจาก Su-57 ซึ่งเป็นรุ่นเจเนอเรชันที่ 5
ถ้อยแถลงของกระทรวงกลาโหมคุยถึงคุณสมบัติพิเศษของเครื่องบินรบรุ่นนี้ว่า
“ลูกเรือของเครื่องบินรบอเนกประสงค์ Su-35S ทำการลาดตระเวนทางอากาศ รวมทั้งสนับสนุนเครื่องบินจู่โจมและเฮลิคอปเตอร์การบินกองทัพบก ในขณะที่ทำการโจมตีสิ่งอำนวยความสะดวกทางทหารและยุทโธปกรณ์ของกองทัพยูเครน ลูกเรือของ Su-35S ระบุเป้าหมายทางอากาศภายในเที่ยวบินใดเที่ยวบินหนึ่ง ระบุว่าเป็นเครื่องบินข้าศึก และทำลายมันด้วยขีปนาวุธ”
Sukhoi SU-35S สามารถบรรทุกเชื้อเพลิงได้ 11.5 ตัน
จุดเด่นคือเป็นเครื่องบินรบหลายบทบาทติดตั้งระบบการบินขั้นสูง
และมีความสามารถในการค้นหาและติดตามด้วยอินฟราเรด
มันสามารถบรรทุกระเบิดหรือฝักด้วยจรวด ติดตั้งปืนใหญ่ GSh-301 ขนาด 30 มม. พร้อมกระสุน 150 นัด
Su-35 มีเครื่องส่งสัญญาณรบกวนขั้นสูง สามารถลดประสิทธิภาพของเรดาร์ศัตรูได้
ราคาของเครื่องบินขับไล่ Su-35 อยู่ที่ประมาณ 43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเกือบ 1,500 ล้านบาท
แต่รัสเซียไม่ได้พึ่งพาเฉพาะเครื่องบนรบราคาแพงที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีล่าสุด
สงครามเข้าสู่ปีที่สอง ยุทธวิธีในสมรภูมิยูเครนกำหนดว่าการใช้โดรนจะเป็นยุทธวิธีที่สำคัญกว่าสงครามครั้งก่อนๆ ที่เคยมีมา
เพราะโดรนใช้ได้คล่องตัวกว่า ต้นทุนต่ำกว่า และไม่ต้องมีนักบินประจำการ ลดความเสี่ยงเรื่องบาดเจ็บและเสียชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ
ในการสู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน โดรนกำลังถูกนำมาใช้ในทุกขั้นตอนของการต่อสู้
ทั้งสองฝ่ายใช้กองกำลังโดรนขนาดใหญ่
โดยมีภารกิจเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ และระบบรบกวนในแต่ละด้าน
เป็นสงครามที่ต่อสู้กันในระยะไกล
ศัตรูมักจะอยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร และไม่มีอะไรลดช่องว่างได้ดีกว่าไปกว่าโดรน
ทำให้รัสเซียและยูเครนสามารถมองเห็น และโจมตีซึ่งกันและกันได้โดยไม่ต้องมาประชิดติดตัว
สหรัฐอเมริกาได้จัดหา Switchblades หลายร้อยชิ้นให้กับยูเครน
ซึ่งออกแบบมาเพื่อโจมตีทหารหรือยานเกราะกลุ่มเล็กๆ
เพราะหากเป็นขนาดกะทัดรัดก็จะช่วยให้ซ่อนตัวได้ง่ายขึ้น
ฝั่งรัสเซียใช้โดรนแบบ Shahed-136 ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและมีเสียงดังกว่ามาก
แต่จุดแข็งคือแค่โจมตีเพียงครั้งเดียวสามารถทำลายสิ่งก่อสร้างได้
ส่วนโดรนยี่ห้อ Bayraktar TB2 พัฒนาและผลิตโดย Baykar บริษัทด้านการป้องกันของตุรกี
รุ่นนี้มีขนาดเท่ากับเครื่องบินขนาดเล็กและติดตั้งขีปนาวุธนำวิถีด้วยเลเซอร์
โดรนรุ่นนี้สามารถทำการลาดตระเวนและโจมตีเป้าหมายได้
จึงกลายเป็นส่วนสำคัญของคลังแสงของยูเครนในการต่อต้านกองกำลังรัสเซีย
ส่วนโดรนเชิงพาณิชย์ราคาไม่แพงอย่าง Matrice 300 ก็ปรับมาใช้ในสงครามครั้งนี้
เพราะมันสามารถเพิ่มทัศนวิสัยในสนามรบได้ไม่น้อย
การผลิตในช่วงสงครามยูเครนจัดทำโดยอาสาสมัครหรือด้วยเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา
ยูเครนยังใช้โดรนเพื่อโจมตีเป้าหมายที่ห่างไกลจากการต่อสู้ เช่นที่คาบสมุทรไครเมีย ซึ่งรัสเซียผนวกอย่างผิดกฎหมายในปี 2014
และในเขตชายแดนเบลโกรอดของรัสเซีย
แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ยอมให้รายละเอียดของปฏิบัติการไม่เปิดเผย แต่ไม่ยอมให้บอกชื่อและสังกัด
โดยไม่ระบุว่าใช้โดรนประเภทไหนในการเจาะลึกเข้าไปในเป้าหมายที่อยู่ในดินแดนของรัสเซีย
ส่วนรัสเซียก็ใช้กองกำลังโดรนโจมตีโครงสร้างพื้นฐานพลเรือนที่สำคัญของยูเครนซ้ำแล้วซ้ำเล่า
เป็นการใช้โดรนแทนขีปนาวุธแม้จะแม่นยำ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ามาก
ประสบการณ์ของสงครามยูเครนถึงวันนี้จึงสรุปได้ว่าโดรนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในสนามรบ
แต่หากมีการส่งเครื่องบินรบของทั้งสองฝ่ายขึ้นปะทะกันกลางอากาศเมื่อไหร่ รูปแบบและความร้อนแรงของสงครามจะเปลี่ยนโฉมไปทันที!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เริ่มพรุ่งนี้: มาตรการ CBAM ที่กระทบส่งออกไป EU
เส้นตายสำหรับการเริ่มต้นมาตรการของยุโรปอันเกี่ยวกับมาตรฐาน “โลกร้อน” ที่จะกระทบผู้ส่งออกไทยใกล้เข้ามาแล้ว
พักหนี้เกษตรกรรอบนี้จะได้ผล ดีกว่า 13 ครั้งที่ผ่านมาอย่างไร?
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติมาตรการ “พักหนี้เกษตรกร” 3 ปีทั้งต้นทั้งดอกแล้ว
ไฉนจาก ‘เลือกตั้งผู้ว่าฯ’ วันนี้ กลายเป็น ‘ผู้ว่าซีอีโอ’?
หนึ่งในนโยบายรัฐบาลที่กำลังได้รับการกล่าวขวัญอย่างกว้างขวางคือ “ผู้ว่าซีอีโอ”
Hard skills, Soft skills ไม่ใช่ Soft power
พอรัฐบาลเศรษฐาประกาศนโยบาย One Family One Soft Power (OFOS) หรือ “หนึ่งครอบครัว หนึ่งซอฟต์เพาเวอร์” คนในหลายๆ วงการก็มีคำถามว่า
‘อำนาจอ่อน’ แบบไหนที่จะสร้างพลังประเทศไทยในเวทีสากล?
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ soft power แห่งชาติที่เพิ่งตั้งโดยมีนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธาน
OFOS : หนึ่งครอบครัว หนึ่ง soft power คือความท้าทายของรัฐบาล
รัฐบาลนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ประกาศตั้งคณะกรรมการ soft power แห่งชาติชุดใหม่ที่มีโครงสร้างและสมาชิกที่อยู่ในตำแหน่งแห่งหนที่จะสามารถผลักดันให้เคลื่อนทัพได้ไม่น้อย...หากสามารถดึงเอาคนเก่งคนมีพรสวรรค์เข้ามาร่วมได้อย่างจริงจัง