ตัวเลขเศรษฐกิจปีหน้า ยังต้องลุ้นการแจกเงินหมื่น!

ขณะที่เรารอว่ามาตรการ “ปั๊มหัวใจ” ด้วยการแจกเงิน 10,000 บาท ผ่าน digital wallet ของรัฐบาลเศรษฐานั้น การประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจจากแบงก์ชาติก็ส่งสัญญาณอะไรหลายอย่าง

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เพิ่งตัดสินใจปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.25% ไปที่ระดับ 2.5%

โดยประเมินว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น และอัตราโตของ GDP ปีนี้อยู่ที่ 2.8%

ขณะที่ปีหน้ามีสิทธิ์จะโตที่ 4.4% หากการกระตุ้นเศรษฐกิจมีผลดั่งที่คาดหมาย

รายงานของ กนง.มองว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมอยู่ในทิศทางฟื้นตัว แม้จะขยายตัวชะลอลงในปีนี้จากอุปสงค์ต่างประเทศ

อัตราการขยายตัวในปี 2567 จะเพิ่มสูงขึ้นจากทั้งอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ

อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นในปีหน้า ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจบวกกับแรงกดดันด้านอุปทานจากปรากฏการณ์เอลนีโญประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.8 และ 4.4 ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ

โดยมีแรงส่งสำคัญจากการบริโภคภาคเอกชน

สำหรับปีนี้การขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอลงจากภาคการส่งออกสินค้าและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด

ส่วนหนึ่งจากเศรษฐกิจจีนและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ฟื้นตัวช้า

แต่เชื่อว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจะเร่งสูงขึ้นในปี 2567 จากอุปสงค์ในประเทศ

โดยเชื่อว่าภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง และภาคการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว

และหวังว่าจะได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายภาครัฐ

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมาย และคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.6 และ 2.6 ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ

โดยมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำในปี 2566 จากผลของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐและผลของฐานที่สูงในปีก่อนหน้า

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในปี 2567 โดยคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.4 และ 2.0 ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ

แต่ก็ต้องติดตามความเสี่ยงด้านสูง โดยเฉพาะในปี 2567 จากแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่อาจเพิ่มขึ้นจากนโยบายภาครัฐ

และต้นทุนราคาอาหารที่อาจปรับสูงขึ้นหากปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงกว่าคาด

คณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง

รวมทั้งมาตรการเฉพาะจุด...(เน้นเฉพาะจุด ไม่เหวี่ยงแห)

และแนวทางแก้ปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนสำหรับกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะมาตรการการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending)

ตลาดการเงินมีความผันผวนสูงขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับเพิ่มขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า

ส่วนหนึ่งตามทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ประกอบกับนักลงทุนรอความชัดเจนของนโยบายภาครัฐที่อาจมีนัยต่อเศรษฐกิจและเสถียรภาพด้านการคลังในอนาคต

คณะกรรมการประเมินว่าเศรษฐกิจไทยปี 2566 จะ ชะลอตัวลงจากประมาณการเดิมเมื่อเดือน พ.ค.2566

เพราะข้อมูลเศรษฐกิจจริงที่ออกมาในช่วงไตรมาส 2/2566 ต่ำกว่าที่คาดไว้

ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากในด้านต่างประเทศ ทั้งการส่งออกสินค้าและรายจ่ายนักท่องเที่ยวที่ต่ำกว่าที่ประเมินไว้

ขณะที่อุปสงค์ในประเทศออกมาค่อนข้างดี และดีกว่าที่คาดไว้ด้วยซ้ำ

คณะกรรมการได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจในปี 2566 และปี 2567 ใหม่ โดยคำนึงถึงมาตรการภาครัฐที่คาดว่าจะเริ่มนำมาใช้ในปีหน้าแล้ว

เช่น การแจกเงิน 1 หมื่นบาท ผ่านดิจิทัลวอลเลต การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ และมาตรการลดราคาพลังงานให้กับผู้บริโภค เป็นต้น

โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะขยายตัว 2.8% ลดลงจากประมาณการเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 3.6% ส่วนปี 2567 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 4.4% จากเดิม 3.8%

กนง.ตั้งข้อสังเกตถึงความเสี่ยงด้านสูงจากแรงส่งของภาครัฐที่มีความไม่ชัดเจนอยู่บ้างเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ เช่น

จะมีรูปแบบแบบไหน ทำเมื่อไหร่ และอาจจะทำให้มีแรงส่งมากกว่าที่เราได้คาดไว้ได้

ด้านเงินเฟ้อ นอกเหนือจากแรงส่งด้านอุปสงค์ที่จะขึ้นแล้ว จะมีเรื่องซัพพลายช็อกที่ทำให้เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น

ส่วนตัวที่จะเป็นความเสี่ยงด้านต่ำ คือ เศรษฐกิจโลก และการฟื้นตัวของภาคการส่งออกสินค้าที่คาดว่าจะมีในช่วงปลายปีนี้

คณะกรรมการมองคือ ในปีหน้าเป็นต้นไปนั้น เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่องจะทำให้เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้น

ดังนั้น การ normalization โดยการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีก 0.25% จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสม และเศรษฐกิจรองรับได้

ในการหารือของคณะกรรมการเองก็ได้มีการหารือถึงในเรื่องหนี้ครัวเรือน

และภาระที่จะเกิดขึ้นกับบริษัทเอกชน อีกทั้งหากดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับนี้ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ก็จะช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะยาว

กนง.ยืนยันว่ากำลังจับตานโยบาย ‘แจกเงินดิจิทัล’ อย่างใกล้ชิด

นโยบายภาครัฐที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจปี 2567 คือ การแจกเงิน 1 หมื่นบาท ผ่านดิจิทัลวอลเลต

แต่โครงการนี้ยังมีไม่มีรายละเอียดว่าจะทำในช่วงเวลาใด จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

ขนาดของการดำเนินการจะเป็นอย่างไร

แหล่งเงินที่จะนำมาใช้จะมาจากแหล่งไหน

และรูปแบบที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะเป็นอย่างไร

รวมทั้งยังไม่มีความชัดเจนว่าผลของมาตรการที่กระจายไปยังเศรษฐกิจจะเป็นเท่าไหร่

โดยคาดว่าขอบเขตที่น่าจะเป็นไปได้ของมาตรการคลังในลักษณะนี้คือ การโอนเงินที่เป็น transfer ไม่ใช่การบริโภคภาครัฐในการโอนเงินให้กับประชาชน

ที่ผ่านมาตัวคูณส่วนใหญ่ (Multiplier Effect) จะอยู่ที่ 0.3-0.6 เท่า ขณะที่ทีมงานด้านนี้ของพรรคเพื่อไทยเคยคาดว่าจะสูงได้ถึง 3 เท่าตัว

ซึ่งห่างกันมากเกินกว่าจะประเมินผลที่จะได้รับจริงๆ

นี่เป็นหนึ่งในข้อมูลที่คณะกรรมการได้ลองนำมาใช้ดู ซึ่งในภาพรวมก็มีนัยพอสมควร

มาตรการนี้จะมารูปแบบไหนก็ตาม จะทำให้จีดีพีโตอย่างน้อย 4% ส่วนจะเป็น 4.4% หรือ 4.6% ต้องดูรูปแบบไปอีกระยะ

อย่าว่าแต่คนไทยทั่วประเทศเลย แม้แต่แบงก์ชาติที่ได้พูดคุยกับนายกฯ เศรษฐาและทีมงานในเรื่องนี้ก็ยังบอกว่า “กำลังรอดูอยู่”

ช่างทำให้ลุ้นกันได้ยาวจริงๆ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ถามแสกหน้า 'ทักษิณ' จะพลิกเศรษฐกิจไทยยังไง ทุกซอกมุมในสังคมยังเต็มไปด้วยทุจริตโกงกิน

นายสุทธิชัย หยุ่น นักวิเคราะห์ข่าวและผู้ดำเนินรายการข่าวชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า “เขาจะพลิกประเทศไทยให้เศรษฐกิจล้ำโลกได้หรือ

เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่กลายเป็น ที่ซ่องสุมของอาชญากรรมข้ามชาติ

เมื่อวานเขียนถึงรายงานในสำนักข่าวชายขอบที่สำนักจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยว่าด้วยกิจกรรมอาชญากรรมข้ามชาติในบริเวณ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” ที่สามเหลี่ยมทองคำ

แหล่งค้ามนุษย์ใน 3 เหลี่ยมทองคำ

เขตเศรษฐกิจพิเศษหรือ SEZ บริเวณสามเหลี่ยมทองคำที่โยงกับไทยนั้นกลายเป็นประเด็นเรื่องอาชญกรรมข้ามชาติที่สมควรจะได้รับความสนใจของรัฐบาลไทยอย่างจริงจัง

พรุ่งนี้ ลุ้นดีเบตรอบแรก โจ ไบเดนกับโดนัลด์ ทรัมป์

ผมลุ้นการโต้วาทีระหว่างโจ ไบเดน กับโดนัลด์ ทรัมป์ ที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (27 มิถุนายน) เพราะอยากรู้ว่า “ผู้เฒ่า” สองคนนี้จะมีความแหลมคมว่องไวในการแลกหมัดกันมากน้อยเพียงใด

เธอคือ ‘สหายร่วมรบ’ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรค NLD คนสุดท้าย!

อองซาน ซูจีมีอายุ 79 ปีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา...และยังถูกจำขังในฐานะจำเลยของกองทัพพม่าที่ก่อรัฐประหารเมื่อกว่า 3 ปีที่แล้ว