อาจารย์หมอจุฬาฯ ยกผลวิจัยเดนมาร์กเตือนสติเรื่อง Long COVID ในเด็ก

หมอธีระยกผลวิจัย Long COVID ในเด็กของเดนมาร์กเตือนสติผู้ปกครอง ชี้เด็กที่ติดโควิด-19 จะมีปัญหาอาการผิดปกติของระบบต่างๆ อย่างน้อย 1 อาการ เน้นย้ำอย่าลืมใส่หน้าหาก

23 มิ.ย.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 3 มิถุนายน 2565 ว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 663,225 คน ตายเพิ่ม 1,270 คน รวมแล้วติดไป 546,425,284 คน เสียชีวิตรวม 6,344,957 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน ฝรั่งเศส บราซิล อิตาลี และไต้หวัน เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 72.11 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 55.03

...สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 14 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

...Long COVID ในเด็ก
ล่าสุดมีงานวิจัยเกี่ยวกับ Long COVID ในเด็ก โดยเป็นการศึกษาขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีมาจนถึงปัจจุบันจากประเทศเดนมาร์ก เผยแพร่ใน The Lancet Child&Adolescent Health เมื่อวานนี้ 22 มิถุนายน 2565 ทำการสำรวจทั่วประเทศเดนมาร์ก ครอบคลุมประชากรเด็กอายุ 0-14 ปี ที่เคยติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 จำนวน 10,997 คน เปรียบเทียบกับเด็กที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน จำนวน 33,016 คน ทั้งนี้ได้ทำการประเมินคุณภาพชีวิต และอาการผิดปกติต่างๆ ของ Long COVID โดยสอบถามผ่านแม่ของเด็กแต่ละคนสาระสำคัญที่พบคือ

กลุ่มเด็กที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จะพบว่ามีปัญหาอาการผิดปกติของระบบต่างๆ ในร่างกาย หรือ Long COVID อย่างน้อย 1 อาการ นานกว่า 2 เดือน มากกว่ากลุ่มที่ไม่ติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ โดยในช่วงอายุ 0-3 ปี ติดเชื้อจะพบปัญหามากกว่าไม่ติดเชื้อถึง 1.78 เท่า ช่วงอายุ 4-11 ปี 1.23 เท่า และช่วงอายุ 12-14 ปี 1.21 เท่า

ผลจากการศึกษานี้ ตอกย้ำให้เราเห็นว่า แม้จะเป็นเด็ก ก็ประสบปัญหา Long COVID มีอาการผิดปกติต่อเนื่องหลังจากการติดเชื้อได้ และจำเป็นต้องได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากคุณพ่อคุณแม่ คอยสังเกตอาการต่างๆ หลังจากรักษาตัวหายจากการติดเชื้อในช่วงแรกไปแล้ว โดยมีได้หลากหลายอาการ เช่น ไอ ใจสั่น หายใจลำบาก เหนื่อยล้า/อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดท้อง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ในลักษณะต่างๆ

นอกจากนี้ยังเคยมีการวิจัยก่อนหน้านี้ จนเป็นที่มาของคำเตือนจาก US CDC ว่าการติดเชื้อโรคโควิด-19 จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานในเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปีได้อีกด้วย

ดังนั้น หากสังเกตพบว่ามีอาการผิดปกติ ควรนำเด็กๆ ไปปรึกษาแพทย์ เพื่อที่จะได้ตรวจวินิจฉัย และรักษาได้อย่างทันท่วงที...เน้นย้ำให้เราทุกคนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตนเอง และครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ การใส่หน้ากาก เป็นหัวใจสำคัญ

อ้างอิง
Berg SK et al. Long COVID symptoms in SARS-CoV-2-positive children aged 0–14 years and matched controls in Denmark (LongCOVIDKidsDK): a national, cross-sectional study. The Lancet Child&Adolescent Health. 22 June 2022.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นิสิตเก่าจุฬาฯ' ตามบี้ 'วิทยานิพนธ์ณัฐพล' อุทธรณ์คำสั่ง ให้จุฬาฯเปิดเผยมติสอบสวน

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก

อาจารย์หมอ เตือนอากาศร้อนมาก ผู้สูงอายุ-คนมีโรคประจำตัว ระวังการออกนอกบ้าน

คนสูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัว ควรระมัดระวังการออกไปข้างนอกบ้าน  ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศ  ใช้หมวกหรือร่มบังแดด

'เทพมนตรี' เผยเหตุผู้บริหารจุฬาฯ ไม่กล้าถอดวิทยานิพนธ์-ป.เอก ของณัฐพล ใจจริง

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก กล่าวถึงกรณีสอบสวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก "การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)" ของนายณัฐพล ใจจริง จุฬาฯ ว่า