ศบค.ห่วงยอดผู้ป่วยปอดอักเสบเพิ่มสูง-วัคซีนเข็มกระตุ้นไม่เข้าเป้า!

ไทยติดเชื้อ 2.6 พันราย ดับ 14 ราย ศบค. รับผู้ป่วยปอดติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในเกณฑ์รับได้ ยังไม่ปรับมาตรการรับสายพันธุ์ใหม่ ห่วงฉีดเข็มกระตุ้นยังไม่เข้าเป้า

30 มิ.ย.2565 - พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย ว่าพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 2,695 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 2,690 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 5 ราย หายป่วยเพิ่มขึ้น 1,779 ราย อยู่ระหว่างรักษา 23,931 ราย อาการหนัก 684 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 292 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 14 ราย เป็นชาย 7 ราย หญิง 7 ราย เป็นผู้เสียชีวิตที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 11 ราย มีโรคเรื้อรัง 3 ราย มียอดผู้ติดเชื้อสะสมยืนยันตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 4,522,915 ราย มียอดหายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 4,468,336 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 30,648 ราย

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบันมีการติดเชื้อมากขึ้น แต่ตัวเลขที่ ศบค.ให้ความสำคัญคือ ผู้ติดเชื้อปอดอักเสบที่วันนี้สูงถึง 684 ราย ซึ่งสูงจาก 2 สัปดาห์ก่อน และมีทิศทางสูงขึ้น แต่ยังถือว่ายังอยู่ในคาดการณ์ตามมาตรการผ่อนคลายการถอดหน้ากากตามความสมัครใจ และการเปิดสถานบันเทิง 31 จังหวัด อย่างไรก็ตามอัตราครองเตียงและศักยภาพบุคลากรยังอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ โดยการครองเตียงในระดับ 2 และ 3 ส่วนใหญ่อยู่ที่ 9.9% มีเพียงบางจังหวัดใหญ่ๆ เช่น จ.สมุทรปราการที่อัตราการครองเตียงเกิน 20% แต่ไม่ถึง 25% เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่รักษาตัวที่บ้าน

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า สำหรับผู้เสียชีวิตวันนี้ 14 ราย เป็นผู้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด มีถึง 6 รายไม่ได้รับวัคซีนแม้แต่เข็มเดียว จึงขอให้ประชาชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข้ามารับ ทั้งนี้ หากดูการรับวัคซีนเข็มกระตุ้น พบว่าผู้มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพียง 46.5% ยังไม่ถึงเป้าหมาย 60% ที่วางไว้ และถ้าดูภาพรวมของทั้งประเทศประชาชนรับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพียง 42.6% จึงขอให้ประชาขนเข้ามารับวัคซีนกันมากขึ้น เพราะขณะนี้มีเพียง 4 จังหวัดที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเกินเป้าหมาย 60% ประกอบด้วย กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ และภูเก็ต นอกจากนี้ ในส่วนของการถอดหน้ากาก ศบค.ชุดเล็กได้ติดตามและประเมินสถานการณ์ตลอด แต่มาตรการดังกล่าวไม่ใช่ให้ทุกคนถอดหน้ากาก ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงยังขอให้ใส่หน้ากากตลอดเวลา และขอให้ประชาชนฟังมาตรการในแต่ละพื้นที่ที่อาจแตกต่างจากคำสั่งในส่วนกลางได้ เช่นเดียวกับผู้ให้บริการต่างๆ ที่สามารถออกประกาศเฉพาะส่วนที่รับผิดชอบได้

เมื่อถามว่า เชื้อกลายพันธุ์ BA.4 – BA.5 ที่มีการพบในปัจจุบัน มีความน่ากังวลหรือไม่ พญ.อภิสมัย กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ติดตามอย่างใกล้ชิด ส่วนใหญ่ที่พบเป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ในประเทศไทยยังพบจำนวนน้อย สายพันธุ์หลักยังคงเป็นโอมิครอนอยู่ และข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกยังไม่พบว่าเชื้อดังกล่าวจะรุนแรงเท่าเดลตา แต่ยังเร็วไปที่จะสรุป ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการปรับมาตรการอะไรเพื่อรองรับเชื้อดังกล่าว หากมีการปรับเปลี่ยนอย่างไรต้องนำเสนอเข้าที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ในวันที่ 8 ก.ค.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เร่งทำงานหนัก 'ชลน่าน' ลงพื้นที่ปัตตานีพาหมอไปหาประชาชนฯ

หมอชลน่านลงปัตตานีเปิดโครงการพาหมอไปหาประชาชนฯ จัดคลินิกคัดกรองความผิดปกติบนใบหน้าและมือเด็ก ช่วยเข้าถึงการผ่าตัดแก้ไขปัญหา

โควิดสงกรานต์พุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 849 ราย

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์) 849 ราย

รัฐบาล ห่วงใยสุขภาพประชาชน แนะหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแดดร้อนจัด

น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในขณะนี้ที่ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ทำให้หลายพื้นที่มีอากาศร้อนอบอ้าว มีค่าดัชนีความร้อนพุ่งสูงขึ้น และอาจมีอุณหภูมิสูงถึง 44.5 องศาเซลเซียส

โควิดยังพุ่ง! ไทยติดเชื้อรอบสัปดาห์ 728 ราย ผู้สูงอายุดับ 2 คน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่