'กรมอนามัย' ยันแม่ติดโควิดให้นมลูกได้!

กรมอนามัยเผยแม่ติดเชื้อโควิด-19 ยังให้นมลูกได้ตามคำแนะนำ WHO แต่หากติดเชื้อรุนแรงควรงด

03 ส.ค.2565 - นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า วันที่ 1 - 7 ส.ค.ของทุกปีเป็นสัปดาห์นมแม่โลก แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แม่หลังคลอดที่เป็นผู้เข้าข่ายสงสัยหรือได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 ยังคงให้ลูกกินนมแม่ได้ ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ในกรณีที่แม่ติดเชื้อแต่มีอาการไม่มาก สามารถให้นมจากเต้าได้ปกติ แต่ต้องมีการป้องกัน และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ โดยลูกควรอยู่ห่างจากแม่อย่างน้อย 2 เมตร หรือมีม่านกั้น สวมหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาที่อยู่กับลูกล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์เข้มข้น 70%ขึ้นไป ก่อนการสัมผัสตัวลูก และทำความสะอาดฆ่าเชื้อบริเวณพื้นผิวต่าง ๆ ที่คุณแม่สัมผัส รวมทั้งควรล้างทำความสะอาดหน้าอก เมื่อมีการไอหรือจามรดหน้าอก และห้ามใช้มือสัมผัสบริเวณใบหน้า จมูกหรือปาก รวมถึงการหอมแก้มลูกขณะให้นม

“ทั้งนี้ หากแม่ไม่สะดวกที่จะให้นมจากเต้า ยังคงสามารถบีบเก็บน้ำนมได้ ควรให้พ่อหรือผู้ช่วยเป็นผู้ป้อนนมให้ลูกแทน โดยผู้ช่วยจะต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพดี มีทักษะในการป้อนนม และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้ออย่างเคร่งครัด”

นพ.สุวรรณชัยกล่าวอีกว่า ในกรณีที่แม่ติดเชื้อมีอาการรุนแรง แนะนำงดให้นมบุตร และอาจบีบน้ำนมทิ้งไปก่อน เพื่อให้แม่คงสภาพที่สามารถให้นมลูกได้เมื่ออาการดีขึ้น ที่สำคัญ แม่หลังคลอดที่ให้นมลูกควรเข้ารับการฉีดวัคซีน ครบตามเกณฑ์ หรือวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ลดการเจ็บป่วยรุนแรง โดยภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในแม่ยังสามารถส่งผ่านน้ำนมไปยังลูกได้ด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'

หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้