'อาจารย์หมอมหิดล' ชงเก็บฟาวิพิราเวียร์เข้ากรุหายาตัวใหม่ใช้แทนได้แล้ว

'หมอนิธิพัฒน์' เผยตัวเลขโควิดเริ่มดีขึ้น เชื่อหาลดต่อเนื่องจะเดินหน้าประเทศเต็มที่ได้ ชี้ยุคโอไมครอนฟาวิพิราเวียร์ที่ใช้อยู่ถึงเวลาเก็บเข้ากรุ หายาต้านไวรัสอื่นได้แล้ว

01 ก.ย.2565 - รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า สถิติโควิดวันนี้ ร้อยละการตรวจพบเชื้อในรอบเจ็ดวันที่ผ่านมาลดลงต่อเนื่องเหลือ 5.79% ถึงน้อยกว่า 5% เมื่อไรจะได้อุ่นใจเดินหน้าประเทศกันเต็มสูบ

ความมั่นคงทางยาและเครื่องมือแพทย์ เป็นหลักประกันหนึ่งของประเทศในยุคเปลี่ยนผ่านสำหรับโควิด ลองมาสำรวจดูว่าอาวุธที่เรามีใช้งานอยู่ ทั้งผลิตได้เองในประเทศและที่ต้องนำเข้า ยังมีประสิทธิผลดีเพียงพอหรือไม่ ในการรับมือกับโอไมครอน BA.5 ซึ่งยังเป็นขาใหญ่ครองตลาดอยู่ในขณะนี้

เริ่มจากการป้องกันก่อนติดเชื้อ สำหรับคนที่แนวโน้มภูมิคุ้มกันจะขึ้นไม่ดีหลังฉีดวัคซีน บ้านเราได้จัดเตรียมแอนติบอดี้ออกฤทธิ์นาน ยี่ห้อ Evusheld ไว้ในปริมาณเพียงพอระดับหนึ่ง แม้จะมีข่าวว่ารัฐบาลอังกฤษชะลอการจัดซื้อยานี้ออกไป แต่ประเทศอื่นส่วนใหญ่ยังไว้ใจในอาวุธสำคัญชิ้นนี้ และมีการสั่งซื้อเตรียมพร้อมไว้ใช้งานได้เพียงพอในประเทศ

ในบทความตามลิงค์ https://www.journalofinfection.com/action/showPdf... กล่าวถึงผลการใช้ยานี้ในโลกแห่งความเป็นจริงจากหลายภูมิภาค โดยคณะผู้นิพนธ์ได้ทำการทบทวนวรรณกรรมจาก 5 การศึกษา ส่วนใหญ่ทำในช่วงที่มีการระบาดของโอไมครอนแล้ว ครอบคลุมประชากรราวเกือบหนึ่งหมื่นห้าพันคน เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับยานี้ซึ่งมีอย่างละครึ่งใกล้เคียงกัน พบว่า Evusheld สามารถช่วยลดอัตราตายลงได้ราวครึ่งหนึ่ง แต่อาจมีข้อจำกัดบ้างที่ประชากรที่ทำการศึกษาได้รับวัคซีนโควิดมาแตกต่างกัน และขนาดยาที่ใช้ในแต่ละการศึกษายังมีความแตกต่างกันไปบ้าง สำหรับในบ้านเราเองกำลังติดตามผลการใช้รักษาจริงหน้างาน และถ้าเป็นได้ผมกำลังชักชวนนักวิจัยในประเทศที่สนใจด้านเภสัชวิทยา เพื่อทำการศึกษาถึงขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับคนไทย

ถัดมาเป็นยาที่ใช้เมื่อเราติดเชื้อแล้วไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยเหมือนไข้หวัด ฟ้าทะลายโจรช่วยบรรเทาอาการได้เร็ว และอาจช่วยป้องกันโรคลุกลามได้ ทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทำการสร้างแบบจำลองเพื่อหาขนาดยาที่เหมาะสม พบว่าถ้าจะให้ได้ผลดี วันแรกควรกินยาฟ้าทะลายโจร ในขนาดที่เพิ่มเป็นสองเท่าจากขนาดซึ่งแนะนำกันอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้ได้ปริมาณสารออกฤทธิ์คือ andrographolide (APE) เป็น 360 มิลลิกรัมในวันแรก คือ จากเดิมที่ให้กินวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 3 เม็ดถ้าเป็นยาที่มี APE เม็ดละ 20 มิลลิกรัม หรือ ครั้งละ 5 เม็ดถ้าเป็นชนิดมี 12 มิลลิกรัม ก็ต้องเพิ่มเป็นครั้งละ 6 หรือ 10 เม็ดแล้วแต่ปริมาณ APE ส่วนอีกสี่วันที่เหลือจึงค่อยกินยาต่อในขนาดซึ่งแนะนำในปัจจุบัน แต่ต้องเน้นกันไว้ก่อนว่า ขนาดยาที่สูงขึ้นสองเท่าในวันแรกนี้ ยังไม่มีการศึกษาในการใช้งานจริงว่ามีความปลอดภัย โดยเฉพาะในคนที่มีโรคตับอยู่ก่อน หรือกินยาอื่นที่มีผลต่อตับร่วมด้วย https://www.worldscientific.com/doi/10.1142/S0192415X22500732?url_ver=Z39.88-2003&rfr_id=ori:rid:crossref.org&rfr_dat=cr_pub%20%200pubmed

อีกหัวข้อที่เป็นที่ถกเถียงในแวดวงวิชาการกันมาก คือยาฟาวิพิราเวียร์ จากประสบการณ์ของแพทย์ไทยดูจะได้ประโยชน์ดีในยุคแรกๆ จนมาถึงช่วงกึ่งกลางของระลอกเดลตา ที่ชักพบว่าถึงแม้ให้ยานี้เร็วก็รับมือกับโรคไม่ค่อยอยู่ คณะนักวิจัยจากหลายสถาบันในบ้านเราเอง ได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 93 คน ที่ติดเชื้อมาไม่เกิน 10 วันและยังไม่มีปอดอักเสบ โดย 62 คนได้รับยาอีก 31 คนไม่ได้รับ พบว่าค่ามัธยฐานของการมีอาการของโรคโดยรวมดีขึ้นต่างกันชัดเจน คือ 2 วันในกลุ่มได้รับยาและ 14 วันในกลุ่มได้รับยา โดยกลุ่มที่ได้รับยาเกิดปอดอักเสบภายหลังน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหนึ่งเท่าตัว แต่ปอดอักเสบทั้งสองกลุ่มก็ไม่รุนแรงและหายได้ดี https://www.tandfonline.com/.../22221751.2022.2117092...

ข้อสังเกตคือการศึกษานี้ทำในช่วงก่อนเดลตาระบาดเป็นส่วนใหญ่ โดยประชากรทั้งหมดไม่ได้รับวัคซีนโควิดมาเลย สำหรับเครื่องมือที่ใช้วัดอาการของโรคโดยรวมคือ NEWS นั้น นิยมใช้ในการจำแนกผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงว่าควรให้การรักษาเร่งด่วนหรือไม่ แต่การนำมาใช้ติดตามผู้ป่วยว่าอาการดีขึ้นยังไม่มีการศึกษาแพร่หลายว่าใช้งานได้ดี (NEWS ประกอบด้วยการให้คะแนนโดยดูจาก 6 องค์ประกอบ คือ อุณหภูมิ ชีพจร อัตราการหายใจ ความดันโลหิต ระดับความอิ่มตัวออกซิเจนปลายนิ้ว และระดับการรู้ตัว) นอกจากนี้เมื่อดูผลการกำจัดไวรัสไปจากร่างกายเร็วหรือช้า พบว่าทั้งสองกลุ่มไม่ต่างกัน

อีกการศึกษาหนึ่งจากมาเลเซียเพื่อนบ้านทางใต้ของเรา ที่คล้ายกันและทำในช่วงเวลาเดียวกัน เพียงแต่มีผู้เข้าร่วมถึง 500 คน โดยมีอาการปานกลางและฉีดวัคซีนไม่ถึง 5% จุดสนใจหลักคือการลุกลามของโรคจนเกิดภาวะพร่องออกซิเจนในเลือด (hypoxemia) จุดสนใจรองคือ อัตราการต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ อัตราต้องนอนไอซียู และอัตราการเสียชีวิต พบว่ากลุ่มที่ให้ยาเกิดจุดสนใจทั้งสี่คิดเป็น 18.4%, 2.4%, 5.2%, และ 2.0% ตามลำดับ เทียบกับในกลุ่มที่ไม่ได้ยาฟาวิพิราเวียร์เกิด 14.8%, 2.0%, 4.8%, และ 0% ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ข้อสรุปสำหรับผม ในยุคโอไมครอนที่คนไทยฉีดวัคซีนกันได้มากแล้ว ยาฟาวิพิราเวียร์ที่รับใช้เราในการต่อสู้กับโควิดมายาวนาน ได้เวลาเก็บเข้ากรุแห่งความทรงจำแล้ว มียาต้านไวรัสอื่นที่ได้ผลดีกว่าในราคาที่ไม่แตกต่างกัน #เตรียมพร้อมยุคหลังโควิด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ม.อัสสัมชัญ ผนึก THG จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ หวังช่วยภาครัฐผลิตหมอเข้าสู่ระบบ

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จับมือ THG จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ ภายใต้ชื่อ St. Luke School of Medicine ตั้งเป้าเป็นโรงเรียนแพทย์ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย

คอแจ๊สเตรียมเจอกัน! TIJC 2024 งานแจ๊สเพียวๆ ที่มีอัตลักษณ์แบบ Real Jazz

นับตั้งแต่ปี 2009 ที่งาน เทศกาลดนตรีแจ๊สนานาชาติ เพื่อการเรียนรู้ Thailand International Jazz Conference- TIJC2024 ได้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนวงการดนตรีแจ๊สในประเทศไทย

'นุ NEW COUNTRY' คว้าปริญญา ม.มหิดล ปลื้มได้ดอกไม้จากไอดอล 'ก๊อท จักรพันธ์'

เรียกว่าเป็นบอยแบนด์สุดฮิตฝั่งลูกทุ่งเลยทีเดียว สำหรับวง NEW COUNTRY ที่มีเพลงดังอย่าง STAND BY หล่อ, เฉือนใจ และล่าสุด กับเพลง "รบกวนเอ็นดู" ที่มีสมาชิก 4 หนุ่ม นำโดย นุ, ติณติณ, เอ็มโบ และ กีต้าร์ ล่าสุด 1 ในสมาชิกวง NEW COUNTRY ได้แก่ นุ-พุฒธิวัฒน์ หนุ่มสุพรรณ ก็เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ดุริยางคศาสตร์บัณฑิต เอกขับร้องสากล มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอกย้ำความช้ำ รำลึกถึงความเศร้า เมื่อนึกถึงแฟนเก่ากับ 'เจ็บเก่ง' จาก 'ได เอจ'

แค่ท่อนแรกของ “เจ็บเก่ง” ซิงเกิ้ลใหม่ของ ได เอจ (di age) “ความขื่นขมนี่มันช่างหวาน ความเจ็บช้ำที่ฉันต้องการ ต่อให้ทรมาน ฉันก็ยังจำได้ดี คำว่ารักที่เธอเคยใช้ กลับมาทำร้ายฉันอยู่ทุกที ยังเจ็บเก่งเหมือนเดิม เจ็บแต่เรื่องของเธอ”

'ตู่ นันทิดา' นำทีมศิลปินระดับตำนาน ขับขานบทเพลงยุค 60-90 เพื่อการกุศล

เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย ร่วมกับ มูลนิธิคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พร้อมด้วย บมจ.ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ พันธมิตรจิตอาสา จัดคอนเสิร์ตการกุศล แพทย์จุฬาฯ Charity Happy Melody Concert #6789 ทศวรรษแห่งดนตรี พร้อมขนทัพศิลปินระดับตำนาน