นพ.ธีระย้ำตั้งการ์ดสูงเพราะ WHO เตือนโควิดอยู่ช่วงขาขึ้นอีกระลอก

หมอธีระเผย WHO ออกโรงเตือนแล้วว่าโควิดอยู่ในช่วงขาขึ้น ในขระที่ผลวิจัยของแดนจิงโจ้พบว่าสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนในปัจจุบันดื้อยาและภูมิคุ้มกันมากที่สุด ย้ำให้ตั้งการ์ดสูง

08 ธ.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิดประจำวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 405,877 คน ตายเพิ่ม 810 คน รวมแล้วติดไป 651,304,942 คน เสียชีวิตรวม 6,650,737 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และไต้หวัน เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 91.43 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 79.13

...คำเตือนจากองค์การอนามัยโลก
Dr.Maria Van Kerkhove ซึ่งเป็น COVID-19 Technical Lead ขององค์การอนามัยโลก ได้ออกมาเน้นย้ำเมื่อวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมา ว่าขณะนี้ทั่วโลกเป็นขาขึ้นของการระบาด ทำให้มีคนป่วยเข้าโรงพยาบาลมากขึ้น
แต่ละประเทศจำเป็นต้องหาทางควบคุมการระบาด กระตุ้นเตือนให้ประชาชนป้องกันตัวด้วยวิธีต่างๆ และจัดระบบบริการให้ประชาชนเข้าถึงบริการดูแลรักษาและป้องกันได้อย่างทั่วถึง เพื่อรักษาชีวิต ป้องกันความสูญเสีย และป้องกันปัญหาระยะยาวหลังจากติดเชื้ออย่าง "Long COVID"

...การใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท เลี่ยงการกินดื่มคลุกคลีใกล้ชิดคนอื่น เลี่ยงที่แออัดระบายอากาศไม่ดี หากไม่สบายควรแยกตัวจากผู้อื่นอย่างน้อย 7-10 วันจนกว่าอาการดีขึ้น ไม่มีไข้ และตรวจ ATK ซ้ำแล้วได้ผลลบ
สำคัญที่สุดคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

...อัพเดตสายพันธุ์ย่อยของ Omicron
Akerman A และคณะ จากมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เผยแพร่ผลการศึกษาใน medRxiv เมื่อวานนี้ 7 ธันวาคม 2565

สาระสำคัญคือ การชี้ให้เห็นว่า สายพันธุ์ย่อยของ Omicron ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปัจจุบันนั้น ทั้ง BQ.1.1 ที่ระบาดมากในยุโรปและอเมริกา, XBB.1 ที่ระบาดมากในแถบเอเชีย, และ BR.2.1 ที่ขณะนี้พบมากในออสเตรเลียนั้น ทั้งสามตัวล้วนมีสมรรถนะในการแพร่ระบาดสูงกว่าสายพันธุ์ BA.2.75 และถือเป็น 3 สายพันธุ์ที่ดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากที่สุด นอกจากนี้ยังดื้อต่อยาแอนติบอดี้ที่ใช้ในการรักษาอีกด้วย

...ผลการศึกษาดังกล่าวชี้ให้เห็นความสำคัญของการป้องกันการแพร่ระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้ไทยมีการติดเชื้อจำนวนมาก และมีรายงานทางการที่ระบุว่าสายพันธุ์หลักที่ระบาดปัจจุบันคือ BA.2.75 ดังนั้นในอนาคตอันใกล้ ย่อมมีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดการแพร่ระบาดจากสายพันธุ์ต่างๆ ข้างต้น ซึ่งมาจากการเดินทางและท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่มีจำนวนมาก การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นนั้นมีความจำเป็น เหนืออื่นใด การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง ควรปฏิบัติอย่างเป็นกิจวัตร ป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด

อ้างอิง
Akerman A et al. Emergence and antibody evasion of BQ and BA.2.75 SARS-CoV-2 sublineages in the face of maturing antibody breadth at the population level. medRxiv. 7 December 2022.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เทพมนตรี' เผยเหตุผู้บริหารจุฬาฯ ไม่กล้าถอดวิทยานิพนธ์-ป.เอก ของณัฐพล ใจจริง

นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก กล่าวถึงกรณีสอบสวนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก "การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)" ของนายณัฐพล ใจจริง จุฬาฯ ว่า

'วิรังรอง' อัปเดตข้อมูล ไล่บี้อธิการบดีจุฬาฯ เปิดผลสอบวิทยานิพนธ์ฉาว

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ รุ่น 30 โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่า อัปเดตการยื่นหนังสือร้องเรียนถึง นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ

ทวงผลสอบจุฬาฯ ปม 'ดุษฎีนิพนธ์' บิดเบือนประวัติศาสตร์กระทบสถาบัน

นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ในฐานะนิสิตเก่าจุฬาฯ รุ่นปี 2512 ได้เขียนจดหมายเปิดผนึก เผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว

'วิรังรอง' ตั้งคำถามถึงอธิการบดีจุฬาฯ หลังได้อ่านความเห็นของ 'อ.เจษฎา-ธงทอง'

นางวิรังรอง ทัพพะรังสี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ และนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 30 โพสต์เฟซบุ๊ก โดยเขียนบทความเรื่อง "คำถามเพื่อสัมภาษณ์ท่านอธิการบดีจุฬาฯ กรณีพิพาทจุฬาฯ