มีหนาว! โควิด-19 ไม่ใช่อยู่แค่ระบบหายใจแต่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้

มีหนาว! หมอธีระยกสารสารการแพทย์ระบุชัดการติดเชื้อโควิด-19 ไม่ได้ต้องอยู่ที่ระบบหายใจถ่ายเดียว สามารถกระจายไปยังอวัยวะและระบบอื่นๆ ในร่างกายได้

28 มิ.ย.2566 - รศ.นพ.ธีระ วรรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า วารสารการแพทย์ The Lancet Microbe เผยแพร่บทความในวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา ทบทวนข้อมูลวิชาการที่ชี้ให้เห็นว่า รายงานจากทั่วโลกพิสูจน์แล้วว่าการติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นไม่ได้จำเพาะอยู่ที่ทางเดินหายใจ แต่สามารถกระจายไปยังอวัยวะหรือระบบอื่นๆ ในร่างกายได้

และที่สำคัญคือ แม้ผ่านช่วงที่ติดเชื้อตอนแรกไปแล้ว ยังอาจมีการตรวจพบคงค้างได้ในระยะยาวนานหลังจากนั้น ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยภาวะคงค้างของไวรัสในร่างกายนั้นคาดว่าน่าจะเป็นหนึ่งในกลไกอธิบายการเกิด Long COVID ในผู้ป่วย

ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลที่แนะนำให้ผู้ที่หายจากการติดเชื้อในช่วงแรกไปแล้ว ควรประเมินสถานะสุขภาพของตนเองด้วยว่าเป็นปกติดีหรือไม่ แตกต่างจากในอดีตก่อนติดเชื้อหรือไม่ และหากมีอาการผิดปกติ ก็ควรไปทำการตรวจรักษา ไม่ว่าจะผู้ใหญ่หรือเด็กก็ตาม

การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

อ้างอิง
Viral persistence in children infected with SARS-CoV-2: current evidence and future research strategies. The Lancet Microbe. 26 June 2023.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ

ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science”  ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน 

‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'

หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform