'หมอธีระ' ยกแถลงการณ์ ผอ.อนามัยโลกยุโรปเตือนสติคนไทย บอกฝรั่งเกิด Long COVID มากถึง 36 ล้านคนในรอบ 3 ปี ย้ำวิธีป้องกันลองโควิดที่ดีที่สุดคือต้องไม่ติดเชื้อ
29 มิ.ย.2566 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า แถลงการณ์ขององค์การอนามัยโลกภูมิภาคยุโรป เมื่อ 27 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา ผอ.องค์การอนามัยโลกภูมิภาคยุโรป Dr.Hans Henri P. Kluge ได้แถลงผ่านสื่อมวลชน 3 เรื่อง ได้แก่ โควิด-19, อุณหภูมิที่ร้อน และฝีดาษลิง (mpox)
ในเรื่องความร้อนนั้น ยุโรปเผชิญกับอุณภูมิที่ร้อนขึ้นเร็วกว่าสมัยค.ศ.1980s ถึง 2 เท่า และทาง WHO ได้แจ้งว่าประชาชนในยุโรปจะเผชิญกับฤดูร้อนที่ร้อนขึ้นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เกิดแบบชั่วคราว จึงต้องดูแลสุขภาพให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนสูงอายุ
ทั้งนี้ช่วง มิ.ย.ถึง ส.ค.ปีที่แล้ว มีคนเสียชีวิตจากความร้อนนี้ถึง 20,000 ราย และสัปดาห์ที่ผ่านมา สเปนและโปรตุเกสก็เจออุณภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส และเสี่ยงต่อเรื่องไฟป่าด้วย
ในขณะที่ฝีดาษลิง หรือชื่อทางการคือ mpox นั้น ปัจจุบันยังมีรายงานติดเชื้อเพิ่มในยุโรป โดยมี 22 รายในเดือนพฤษภาคม แม้จำนวนน้อย แต่ทาง WHO ก็ย้ำเตือนให้ระมัดระวังเพราะอาจปะทุขึ้นมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเสี่ยงเช่น กลุ่มชายรักชาย ซึ่งโรคนี้เสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันตัว รวมถึงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ
สิ่งสำคัญในแถลงการณ์คือ การกระตุ้นเตือนเรื่องโรคโควิด-19 ว่าส่งผลให้ชาวยุโรปเกิดปัญหา Long COVID จำนวนมากถึง 36 ล้านคนในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา
เฉลี่ยแล้วประชากรยุโรป ทุกๆ 30 คนจะมีคนเผชิญกับ Long COVID 1 คน ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสมรรถนะในการใช้ชีวิต
ปัจจุบันโควิด-19 ยังระบาดต่อเนื่อง และมีคนยุโรปที่เสียชีวิตอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1,000 คน ผอ.ของ WHO Europe ย้ำด้วยประโยคว่า "Ultimately, the best way to avoid long COVID is to avoid COVID-19 in the first place" ...วิธีการป้องกัน Long COVID ที่ดีที่สุดคือ การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ...
ไทยเราก็เช่นกัน ยังมีการติดเชื้อใหม่แต่ละวันจำนวนมาก ควรป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอระหว่างใช้ชีวิตประจำวัน เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี ไม่แชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่นนอกบ้าน การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
อ้างอิง
Statement – 36 million people across the European Region may have developed long COVID over the first 3 years of the pandemic. WHO Europe. 27 June 2023.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform
'หมอยง' หวนระลึกโควิด19 ปีที่สองของการระบาด!
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้