
23 ม.ค. 2556 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้โพสต์ข้อความเผยแพร่ข้อมูลงานวิจัยผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว “ทำไมคนติดโควิด พร้อมๆ กับไข้หวัดใหญ่”
ช่วงนี้มีข่าวเรื่องคนติดโควิดพร้อมๆกับไข้หวัดใหญ่ออกมาบ่อยครับ ประเด็นเรื่องไวรัสจะผสมกันเป็นสายพันธุ์ใหม่นั้นตัดไปได้ก่อนเลยเพราะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากไวรัส 2 ชนิดนี้พูดคนละภาษาคุยกันไม่รู้เรื่อง แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ ทำไมถึงมีคนพบเหตุการณ์แบบนี้มากขึ้นช่วงโอมิครอนระบาด อาจจะไม่ใช่เพราะช่วงการระบาดระลอกอื่นๆไม่ได้มีการตรวจไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วยเท่านั้น
การศึกษาจากเยอรมันออกมาเมื่อวานน่าสนใจและคิดว่าน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญครับ ปกติร่างกายของเราเมื่อได้รับเชื้อไวรัสใดๆเข้าไปแล้ว จะมีระบบต่อต้านไวรัสสร้างขึ้นมาในรูปแบบของโปรตีนชื่อว่า Interferon type I หรือ IFN-I สารตัวนี้มีพลังอำนาจสูงมาก เพราะถ้าร่างกายมีมากเพียงพอจะสามารถยับยั้งไวรัสทุกชนิดไม่ให้ไปต่อได้ ปกติจะสร้างขึ้นจากเซลล์ที่โดนติดเชื้อและปลดปล่อยออกไปช่วยเซลล์ข้างเคียงให้ปลอดภัยจากการโดนไวรัสลูกหลานที่กำลังถูกสร้างในเซลล์นั้นไปติดเพิ่มได้อีก…
เชื่อว่าคนที่ติดไวรัสโรคโควิด19 หรือ ไข้หวัดใหญ่ไปแล้ว ร่างกายจะสร้าง IFN-I ออกมาป้องกันการติดไวรัสตัวอื่นทำให้การติดไวรัสในเวลาใกล้กันจะเกิดยากมาก แต่ข้อมูลที่ออกมาจากการศึกษานี้พบว่า โอมิครอนมีคุณสมบัติอะไรบางอย่างที่ 1. ไปยับยั้งการสร้าง IFN-I ในเซลล์ที่ไวรัสชนิดนี้เข้าไปติดเชื้อได้ คือ มี IFN-I สร้างออกมาเตือนเซลล์ข้างเคียงได้น้อยลงถึงกว่า 4 เท่า และ 2. ตัวโอมิครอนเองถูก IFN-I จัดการได้ยากขึ้นมาก ปกติไวรัสWuhanใช้ IFN-I แค่ 50 หน่วยก็จบ พอมาเดลต้าใช้มากขึ้นอีกนิดเป็น 100 หน่วย แต่สำหรับโอมิครอนต้องใช้มากขึ้นไปถึง 500 หน่วยถึงจะจัดการได้
ข้อมูลนี้อธิบายได้ว่าทำไมติดโอมิครอนแล้วติดไข้หวัดใหญ่ง่ายขึ้นเพราะ IFN-I ที่จะป้องกันไข้หวัดใหญ่มีน้อยลง หรือ ทำไมติดไข้หวัดใหญ่แล้วติดโอมิครอนได้ ก็เพราะโอมิครอนสามารถหนี IFN-I จากไข้หวัดใหญ่ได้ดีมากนั่นเอง…เหตุผลนี้ยังสามารถใช้อธิบายว่าเหตุใดโอมิครอนถึงติดและแพร่กระจายในโฮสต์ได้ไวด้วยเช่นกันครับ เพราะ หนีอาวุธสำคัญของธรรมชาติได้ดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชี้โควิด19 แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลคล้ายไข้หวัดใหญ่!
หมอยงชี้โควิด 19 แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามฤดูกาลคล้ายไข้ไหวัดใหญ่ แต่เชื่อความรุนแรงอาจน้อยกว่า วัคซีนจึงจำเป็นเฉพาะในกลุ่มเปราะบางเท่านั้น และควรให้ก่อนการระบาดใหญ่หรือก่อนเปิดเทอม
ตรวจพบ 'ไวรัสแมว' จากไซปรัสครั้งแรกบนเกาะอังกฤษ
แมวหลายพันตัวในไซปรัสเสียชีวิตไปในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เนื่องมาจากไวรัสโคโรนารูปแบบใหม่ที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ขณ
'หมอมนูญ' ชี้ช่วงนี้การติดเชื้อ 'ฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส' ระบาดอาการคล้าย 'โควิด-หวัดใหญ่-RSV'
'หมอมนูญ' เตือนช่วงปลายฝนต้นหนาวมักมีการติดเชื้อฮิวแมนเมตะนิวโมไวรัส หรือ hMPV ควบคู่ไปกับเชื้อไวรัสอาร์เอสวี ชี้อาการโรคจะคล้ายไข้หวัดใหญ่-โควิด19 และ RSV