ชะลอขุดลอกร่องน้ำทะเลตรัง หวั่นกระทบแหล่งพะยูน ระดมนักวิชาการ-ประมงพื้นบ้านร่วมศึกษา


8 เม.ย.2565 - นายจรัญ ดำเนินผล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 3 กรมเจ้าท่า เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อศึกษาผลกระทบโครงการขุดลอกร่องน้ำทะเลตรัง ว่า ตอนนี้ได้ส่งเรื่องให้กับคณะอนุกรรมการพะยูนจังหวัดตรัง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามแผนอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ เพื่อร่วมรวบรายชื่อคณะกรรมการร่วม แล้วส่งให้กรมเจ้าท่าตามลำดับ ซึ่งจริงๆแล้วมีผลการศึกษาการขุดลอกอยู่แล้ว แต่เมื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการพะยูนจังหวัดตรัง ได้มีข้อสงสัยอีกหลายประเด็น และทางกลุ่มอนุรักษ์เรียกร้องให้ไปศึกษาเพิ่มเติม เช่น เรื่องการเคลื่อนย้ายของตะกอนในหน้ามรสุมว่าไปในทิศทางใด การฟุ้งกระจายของตะกอน หากมีการขยายร่องน้ำจะส่งผลกระทบด้านใดบ้าง การนำหินสายสมอในร่องน้ำออก
.
“ในปี 2565-2566 จะไม่มีการขุดลอกร่องน้ำ เพื่อให้ทุกอย่างตกผลึก มีการศึกษาที่ชัดเจนว่าหากขุดแล้วจะไม่มีผลกระทบ การจะเข้ามาดำเนินการได้นั้นต้องดูว่าจะมีผลกระทบต่อหญ้าทะเลหรือไม่ การกำหนดจุดทิ้งตะกอน ว่าจะทิ้งในทะเล หรือ ทิ้งบนบก ต้องกำหนดจุดที่ชัดเจน ปริมาณต้องชัดเจนเพื่อไม่ให้ตะกอนกระทบต่อหญ้าทะเลและสิ่งแวดล้อม”นายจรัญกล่าว

ทั้งนี้กรมเจ้าท่าได้ดำเนินโครงการขุดลอกร่องน้ำบริเวณปากแม่น้ำตรัง สนับสนุนการเดินเรือและการพัฒนาภาคธุรกิจแถบภาคใต้ แต่นักอนุรักษ์และชาวบ้านเชื่อว่าจะส่งผลกระทบแหล่งอนุรักษ์พะยูนที่สำคัญของเมืองไทย ปัจจุบันมีการสำรวจพบว่า แหล่งหญ้าทะเลบริเวณเกาะลิบงได้ถูกตะกอนดินจากโครงการขุดลอกร่องน้ำกันตังที่เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2562 ทับถมจนเกิดความเสียหายหลายพันไร่ เสี่ยงต่อการคุกคามการดำรงชีวิตของพะยูน อาจส่งผลให้มีการอพยพย้ายถิ่น เนื่องจากพะยูนขาดแหล่งอาหารที่เหมาะสม และยังส่งผลกระทบต่อการทำประมงของชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากสัตว์ทะเลหลายชนิดที่อาศัยแหล่งหญ้าทะเลเป็นพื้นที่อนุบาลได้ลดจำนวนลงอย่างมาก ชาวบ้านไม่สามารถจับสัตว์น้ำมาขายได้ จึงควรมีการศึกษาผลกระทบอย่างละเอียดก่อนดำเนินการ

นายจรัญ กล่าวอีกว่า จริงๆแล้วการขุดลอกร่องน้ำกันตัง มีการขุดมาตลอดตั้งแต่ปี 2509 และมีปัญหาเมื่อราวปลายปี2562 ซึ่งยังฟันธงไม่ได้ว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุของมรสุม คลื่นลมแรง หรืออะไรกันแน่ และไม่มีการขุดมาตั้งแต่ปี2563 แต่ปัจจุบันยังพบว่าหญ้าทะเลยังมีตายเพิ่มเติม ไม่ได้เฉพาะที่เกาะลิบง จากข้อมูลที่มีการสำรวจ พบว่าหญ้าทะเลบริเวณหาดเจ้าไหม อ่าวหยงหลำ อำเภอสิเกา รวมถึงจังหวัดสตูล จังหวัดกระบี่ ก็ตายจำนวนมากเช่นกัน หรือแม้แต่ปะการังในจังหวัดภูเก็ตก็ตายเช่นเดียวกัน จึงต้องศึกษาให้ชัดว่าหญ้าทะเลตายเพราะอะไร เพราะภาวะโลกร้อน หรือการเปลี่ยนแปลงของน้ำทะเล ซึ่งต้องหาคำตอบและตกผลึกให้ได้ ดังนั้น คณะกรรมการร่วมนอกจากจะมีคณะอนุกรรมการพะยูนแล้ว ยังต้องมีนักวิชาการสิ่งแวดล้อมภาคส่วนอื่นมาร่วมด้วย เช่น นักวิชาการสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนักวิชาการจากมูลนิธิอันดามันด้วย

ด้านนายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ผู้ประสานงานมูลนิธิอันดามัน จังหวัดตรัง กล่าวว่า คาดว่าทางฝ่ายวิชาการของมูลนิธิอันดามัน รวมถึงกลุ่มประมงพื้นบ้าน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม จะเข้าเป็นคณะกรรมการร่วมด้วย เราไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการขุดลอก เพราะมองว่าการเดินเรือขนส่งสินค้าในแม่น้ำตรังก็เป็นเรื่องจำเป็น เมื่อแม่น้ำตื้นเขินก็ต้องมีการขุดลอก ตามหลักที่ตกลงกันไว้ว่าจะขุดลอกเฉพาะที่จำเป็น และกรมเจ้าท่าก็ไม่ควรขยายร่องน้ำให้ลึก หรือกว้างเกินที่ได้รับประกันความลึกร่องน้ำไว้ที่ 55 เมตร หากจะขุดลึกกว่านี้ ปากร่องน้ำที่จะขยายให้กว้างต้องทุบหินสายสมอออกบางส่วน ฉะนั้นจะก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะปริมาณหิน ทราย จากการขุดลอกมีจำนวนมหาศาล และชาวประมงพื้นบ้านใช้หินสายสมอเป็นที่หลบพายุ ดังนั้นการทุบหินสายสมอจะกระทบต่อระบบนิเวศ

“ปริมาณการจราจรการขนส่งทางน้ำ มีความถี่ มีการสัญจรตลอด 24 ชั่วโมงหรือเปล่า ซึ่งข้อมูลที่ทราบในปัจจุบันไม่ได้มีความหนาแน่น วันหนึ่งมีแค่ขบวนเดียว บางวันก็ไม่มีเลย ฉะนั้นสามารถบริหารจัดการการเดินเรือได้อยู่ หากการขนส่งทางน้ำต้องรอน้ำขึ้นบ้าง 2-3 ชั่วโมง ก็ไม่ก่อให้เกิดความเสียที่รุนแรง การขุดลอกและการเดินเรือ ไม่มีใครขัดข้อง แต่จำเป็นต้องศึกษาหารือกันอย่างรอบคอบ ทำตามความจำเป็น ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากร เพราะปากแม่น้ำตรังและเกาะลิบง ที่ได้รับผลกระทบจากตะกอนทราย เป็นแหล่งหญ้าทะเลที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดตรัง เป็นแหล่งอาศัยของพะยูนที่มีความหนาแน่นนับร้อยๆตัว และที่สำคัญไม่สามารถหาพื้นที่ไหนทดแทนแหล่งหญ้าทะเลบริเวณนั้นได้อีกแล้ว”นายภาคภูมิ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

10 กองทุนสวัสดิการชุมชนดีเด่นรับรางวัล ‘ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์’ (7) กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลนาหมื่นศรี จ.ตรัง “ห่วงใย ใส่ใจ ไม่ทอดทิ้ง สร้างสังคมพึ่งพิง ด้วยเงินวันละบาท”

กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เป็น 1 ใน 10 กองทุนสวัสดิการชุมชนจากทั่วประเทศที่ได้รับรางวัล “ผู้สรรค์สร้างความมั่นคงของมนุษย์ระดับชาติ”

กสม. ชี้โครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี ละเมิดสิทธิชุมชน กระทบประมงพื้นบ้าน ระบบนิเวศ

กสม. ชี้ โครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี ละเมิดสิทธิชุมชน กระทบวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้านและระบบนิเวศทางทะเล แนะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแก้ไข

“กรมเจ้าท่า ร่วมกับ ปตท.สผ.” จัดฝึกอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล ครั้งที่ 2

เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านปลอดภัย เป็นประธานฯ เปิดการอบรมและประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและการตอบสนองเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล ครั้งที่ ๒ ณ ห้องประชุม ลากูนาคิงเอ โรงแรม ลากูน่า แกรนด์ โฮเทล แอนด์ สปา

คืบหน้า คดี ม.2 ยกพวกมาดักรอคู่อริ ชักมีดกะซวกโหดบาดเจ็บ 2 ราย

คดีเพื่อนนักเรียน ม.2 ยกพวกมาดักรอคู่อริ ก่อนชักมีดกะซวกโหดบาดเจ็บ 2 ราย พบสหวิชาชีพ รับทราบข้อกล่าวหา คุมตัวส่งสถานพินิจฯ

THG สยายปีกรุกภาคใต้ เปิดรพ.ธนบุรี ตรัง ชูรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองโดยไม่ต้องผ่าตัด

ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป สยายปีกรุกภาคใต้ ผนึก โรงพยาบาลตรังรวมแพทย์ (ทีอาร์พีเอช) รีแบรนด์เป็น “โรงพยาบาลธนบุรี ตรัง” ตั้งเป้ายกระดับสู่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิชั้นนำด้านการรักษาโรคร้ายแรงและซับซ้อน