กสม.โอ่ผลงานแก้ปัญหาเด็กหญิงวัย 7 ขวบ! ได้รับการแจ้งเกิดและสัญชาติ

กสม.ประสานกรมการปกครองแก้ปัญหาให้เด็กหญิงวัย 7 ขวบได้รับการแจ้งเกิดและสัญชาติ ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลเชิงรุกในพื้นที่อุบลราชธานี

23 มิ.ย.2565 - ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กสม. และนายชนินทร์ เกตุปราชญ์ รองเลขาธิการ กสม.แถลงข่าว ว่า กสม. ประสานกรมการปกครองแก้ไขปัญหาเด็กหญิง 7 ขวบไม่ได้รับการแจ้งเกิดและสัญชาติ ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ แก้ไขปัญหาสถานะบุคคลเชิงรุกที่อุบลราชธานี โดยเมื่อเดือน ธ.ค. 2564 กสม.ได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีเด็กหญิงอายุ 7 ขวบ ซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดชุมพร ประสบปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติ เนื่องจากถูกทอดทิ้งตั้งแต่ยังเป็นเด็กทารก ต่อมา มีผู้ประสงค์จะรับเด็กหญิงรายดังกล่าวเป็นบุตรบุญธรรม จึงยื่นคำร้องต่อสำนักงานทะเบียนอำเภอสวี (ผู้ถูกร้องที่ 1) เพื่อแจ้งเกิดและขอสัญชาติไทยให้แก่เด็ก แต่ได้รับแจ้งว่าไม่สามารถรับแจ้งการเกิดและไม่สามารถพิจารณาให้สัญชาติไทยแก่เด็กหญิงรายดังกล่าวได้ ต่อมาเมื่อมีการอุทธรณ์คำสั่งของสำนักงานทะเบียนอำเภอสวี สำนักงานทะเบียนจังหวัดชุมพร (ผู้ถูกร้องที่ 2) ก็ยืนยันคำสั่งตามความเห็นของสำนักงานทะเบียนอำเภอสวี ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า การปฏิเสธไม่รับแจ้งการเกิดและไม่พิจารณาให้สัญชาติไทยแก่เด็กหญิงรายดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงขอให้ตรวจสอบ

กสม. ได้พิจารณาข้อเท็จจริง บทบัญญัติของกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) ข้อ 7 กำหนดให้เด็กจะต้องได้รับการจดทะเบียนทันทีหลังการเกิด และมีสิทธิที่จะมีชื่อนับแต่เกิด นอกจากนี้คณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติได้มีข้อชี้แนะทั่วไปลำดับที่ 7 (General Comment) กล่าวถึงความจำเป็นในการมีทะเบียนเกิดของเด็กทุกคน ทั้งนี้จากการตรวจสอบปรากฏว่า เดิมหน่วยงานผู้ถูกร้องทั้งสองปฏิเสธไม่รับแจ้งเกิดและไม่พิจารณามอบสัญชาติไทยให้แก่เด็กหญิงรายดังกล่าว โดยอ้างว่าเนื่องจากกระบวนการสอบสวนประจักษ์พยานบุคคล พยานเอกสาร และการรวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถยืนยันได้ว่าเด็กหญิงรายดังกล่าวเป็นบุตรผู้ใด สัญชาติใด และเกิดที่ใด เป็นเหตุให้ต้องตกเป็นคนไร้รัฐไร้สัญชาติ จึงเป็นการดำเนินการที่กระทบต่อสิทธิของเด็กหญิงรายดังกล่าว และอาจถือได้ว่ามิได้คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กตามหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

อย่างไรก็ตาม ระหว่างการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว กสม. ได้ประสานไปยังกรมการปกครอง พบว่า กรณีของเด็กหญิงรายนี้ กรมการปกครองเห็นควรให้ได้รับการแจ้งเกิดและได้สัญชาติไทยตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายและตามหลักการผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก โดยกรมการปกครองได้ประสานให้สำนักทะเบียนทั้งสองแห่งดำเนินการรับแจ้งเกิดและพิจารณาให้สัญชาติไทยแก่เด็กหญิงรายดังกล่าว จนทำให้เด็กได้รับสัญชาติไทยและมีบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2565 จึงมีมติเห็นว่าปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมแล้ว เห็นควรยุติเรื่อง

นอกจากการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลรายกรณีตามเรื่องร้องเรียนข้างต้น กสม. ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในเชิงระบบร่วมกับเครือข่าย ทั้งการแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นและกลุ่มผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนที่จังหวัดอุบลราชธานี เพชรบุรี ตราด ระนอง และจะดำเนินการในพื้นที่จังหวัดอื่น ๆ ต่อเนื่อง โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2565 นางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วยนายชนินทร์ เกตุปราชญ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ร่วมกับนายสมยศ พุ่มน้อย รองอธิบดีกรมการปกครอง นายสุริยศักดิ์ เหมือนอ่วม ผู้อำนวยการส่วนการทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง นายฐิติพล ภักดีวานิช คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการแบ่งปัน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมคลินิกสิทธิมนุษยชนกับสถานะบุคคลขึ้นในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้คำปรึกษาแก้ไขปัญหาสำหรับคนไทยที่ตกหล่นทางทะเบียนราษฎร คนไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง และคนไทยที่ถูกจำหน่ายรายการ และจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ทางทะเบียนและทำบัตรประจำตัวบุคคลสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (บุคคลประเภท 0) รวมทั้งสิ้น 236 ราย

“การจัดกิจกรรมดังกล่าวซึ่งมีพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นพื้นที่นำร่อง เป็นการแสดงเจตจำนงในรูปแบบภาคีร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ เพื่อแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลเชิงรุกที่หน่วยงานรัฐจะต้องเข้าไปแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ประสบปัญหาสถานะบุคคลในพื้นที่ห่างไกลต่าง ๆ โดยมิได้เป็นเพียงหน่วยตั้งรับเท่านั้น การทำงานในลักษณะนี้จะช่วยลดภาระและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสิทธิสถานะบุคคลให้แก่คนไร้รัฐไร้สัญชาติซึ่งเข้าไม่ถึงโอกาสได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” รองเลขาธิการ กสม. กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กสม.ชี้ฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อจ.นครปฐม ก่อมลพิษทางกลิ่น จี้อบต. กำกับแก้ไขปัญหา

กสม. ตรวจสอบกรณีฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อจ.นครปฐม ก่อมลพิษทางกลิ่น ส่งผลกระทบต่อสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีของประชาชน แนะ อบต. กำกับแก้ไขปัญหา

กสม. เชื่อมีการใช้ 'สปายแวร์ เพกาซัส' เสนอ ครม. สั่งการตรวจสอบ หาทางป้องกัน

กสม. เชื่อมีการใช้สปายแวร์เพกาซัสละเมิดสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสนอ ครม. สั่งการตรวจสอบ หาทางป้องกันการใช้งานในทางมิชอบ

ผบช.ภ.8 แถลงปิดคดีอุ้มฆ่าฝังอำพรางศพ 'เสี่ยบ่อนไก่ชุมพร' จับได้ทั้งแก๊ง

ผบช.ภ.8 แถลง ปิดคดี “โกหมาด” เสียบ่อนไก่ชุมพร ได้ทั้งแก๊งอุ้มฆ่า แก๊งค้ารถเถื่อนข้ามชาติ เผย “สมชัย” หัวหน้าทีม หลังก่อเหตุโหดอุ้มฆ่าฝังอำพรางศพ ยังขับรถผู้ตายด้วยตนเองไปส่งมอบขายให้กับแก๊งค้ารถเถื่อนข้ามชาติที่กรุงเทพฯ ราคา 4.5 แสน แล้วนั่งเครื่องบินกลับบ้านที่นครศรธรรมราช

ตร.ไซเบอร์ บุกรวบ 'เจ๊จ๋า' เจ้าแม่เงินกู้ดอกโหดร้อยละ 4 ต่อวัน ครอบครองอาวุธปืน

“ลูกหนี้ “ร้องตำรวจไซเบอร์บุกจับ “เจ้จ๋า” เจ้าแม่เงินกู้ดอกโหด ร้อยละ 4 บาทต่อวัน 120 บาทต่อเดือน พร้อมยึดหลักฐานรายชื่อลูกหนี้เพียบ

ฝากขัง 'เจ๊อ้วน' จ้างวานอุ้มฆ่าผัว ฝังอำพรางศพ ยอมรับฟิวส์ขาดโดนขู่ฆ่าก่อน

ความคืบหน้ากรณี ตำรวจจับกุม นางวันเพ็ญ ธัญญาพงศ์พานิช อายุ 62 ปี หรือ “เจ้อ้วน” บ้านเลขที่ 84 หมู่ 5 ตำบลเขาค่าย อ.สวี จ.ชุมพร จ้างวาน นายสมชัย รัตนะ อายุ 62 ปี กับพวกอุ้มฆ่า นายขนบ สมหวัง อายุ 65 ปี

บุกค้นบ้าน 'เจ๊อ้วน' เมียเสี่ยบ่อนไก่ หลังคนร้ายซัดทอดผู้จ้างวานฆ่าฝังดิน

พล.ต.ต.นภันต์วุฒิ์ เลี่ยมสงวน ผบก.กองบังคับการสืบสวน ภ.8 พร้อมตำรวจกองปราบ ได้เดินทางด่วนมากับเฮลิคอปเตอร์ มาลงที่สนามหน้าสถานีตำรวจภูธรนาสัก อ.สวี จ.ชุมพร จากนั้นได้ร่วมกับชุดสืบสวน ภ.จว.ชุมพร และตำรวจกองพิสูจน์หลักฐาน